เลี้ยงปลาในนา
ข้อดีของการเลี้ยงปลาในนาทางอ้อมพบว่า ปลาจะช่วยกำจัดวัชพืชและแมลง ช่วยให้อินทรียสารต่างๆ สลายตัวได้ง่าย สร้างระบบนิเวศช่วยให้ดินมีความสมบูรณ์ เป็นการเพิ่มปุ๋ยในดิน จึงส่งผลในทางตรงทำให้ข้าวมีคุณภาพเพิ่มขึ้น ช่วยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอีกด้วย นับเป็นการช่วยทุ่นแรงและลดต้นทุนได้อย่างดี ไม่ใช่ทุกพื้นที่ที่ทำนาจะสามารถเลี้ยงปลาได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องความสมบูรณ์ของน้ำ และพื้นที่ที่เหมาะสมควรมีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ มีระบบชลประทาน และควรมีน้ำตลอดปี ไม่ต่ำกว่า 3-6 เดือน สำหรับในพื้นที่ตำบลไร่ขี อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ ไม่ได้มีแหล่งน้ำที่สมบูรณ์ และการทำนาต้องอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว แต่เหตุใดชาวบ้านกลับประสบความสำเร็จจากการเลี้ยงปลาในนาได้อย่างไม่ยาก? แล้วในบางคราวยังมีจำนวนปลามากพอสำหรับการแปรรูปสร้างรายได้เสริมอีกด้วย คุณบวร สาริเพ็ง อยู่บ้านเลขที่ 61 หมู่ที่ 6 บ้านฟ้าห่วน ตำบลไร่ขี อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นคนแรกในชุมชนที่ริเริ่มเลี้ยงปลาในนา เพราะเห็นว่าการปลูกข้าวเพียงอย่างเดียวไม่อาจช่วยเรื่องค่าครองชีพของครอบครัวได้พอ เลยหันมาหาการเลี้ยงปลาในนาข้าวเพื่อสร้างรายได้อ
การเลือกประกอบอาชีพเกษตรกรรมของชาวบ้านที่แม่ฮ่องสอน ไม่ว่าจะปลูกพืชไม้ผลนานาชนิดล้วนแต่ต้องถูกกำหนดให้เป็นไปตามลักษณะภูมิประเทศที่บ้านเรือนตั้งอยู่บนภูเขาน้อย-ใหญ่ มีพืชหลักที่ปลูกกันเป็นประจำ ได้แก่ ข้าว กระเทียม ขิง กาแฟ ถั่วเหลือง กะหล่ำปลี ถั่วลิสง ตลอดจนผักสวนครัวบางชนิด ส่วนประมงไม่สามารถทำได้เต็มที่ นอกจากจับสัตว์น้ำจากแหล่งธรรมชาติมาบริโภค หรือหาซื้อตามตลาดที่นำมาจากพื้นที่นอกจังหวัด ฉะนั้น รายได้ของชาวบ้านที่เกิดขึ้นจึงต้องรอเก็บผลผลิตในแต่ละช่วงฤดูเท่านั้น ถ้าปีไหนฟ้าฝนดี อากาศดี ราคาก็ดี แต่หากปีไหนเกิดปัญหาสภาพอากาศแปรปรวน ผลผลิตเสียหาย ขายได้ราคาต่ำ รายได้ก็ไม่แน่นอน นั่นย่อมส่งผลต่อความเป็นอยู่ของชาวบ้านตามมา แต่สิ่งเหล่านั้นคงไม่เป็นปัญหาต่อ คุณเขื่อง วิลัย อยู่บ้านเลขที่ 17/1 หมู่ที่ 4 บ้านป่าฝาง ตำบลเมืองปอน อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพราะเป็นชาวบ้านที่มีแนวคิดการทำเกษตรกรรมต่างจากคนอื่น ด้วยการนำวิธีทำสวนเกษตรผสมผสานตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 มาประยุกต์ใช้กับพื้นที่ทำเกษตรของตัวเอง เน้นปลูกพืชอายุสั้นเป็นหลัก แล้วยังทำนาพร้อมเลี้ยงปลาในนาข้าว รว