เลี้ยงปลาในบ่อดิน
ประเทศไทยในยุคโลกรวน เสี่ยงเจอภาวะอาการแปรปรวนได้ตลอดเวลา หากในช่วงเช้าฟ้าครึ้มผิดปกติ เมฆหนา ไม่มีแดด แม้จะเป็นช่วงเวลา 06.00-09.00 น. ซึ่งตามปกติต้องมีแสงแดดที่เป็นตัวกลางสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์แสง จะพบว่า ปลาว่ายน้ำรวมตัวเป็นฝูง ลอยหัวเหนือผิวน้ำ ซึ่งเป็นลักษณะอาการปลาขาดอากาศ ส่งผลให้สุขภาพปลาอ่อนแอ กินอาหารน้อยลง การเจริญเติบโตช้า หากปริมาณออกซิเจนในน้ำต่ำเกินค่ามาตรฐาน ปลาที่เลี้ยงในบ่อ อาจลอยตายได้ หากเกิดกรณีดังกล่าว สำนักงานประมงจังหวัดอุบลราชธานี ให้คำแนะนำว่า เกษตรกรควรเพิ่มออกซิเจนในน้ำ เช่น ใช้เครื่องตีน้ำหรือเครื่องมือที่ทำให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำ ให้ออกซิเจนในชั้นบรรยากาศละลายผสมกับน้ำ เพื่อให้ออกซิเจนละลายในน้ำเพียงพอต่อการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโตของปลา ทั้งนี้ อุณหภูมิของสภาพแวดล้อมมีผลต่ออุณหภูมิภายในร่างกายของปลา เนื่องจากปลาเป็นสัตว์เลือดเย็น การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันโรคจะเป็นปกติเมื่ออุณหภูมิน้ำอยู่ในช่วงเดียวกับอุณหภูมิทางสรีระ (physiological range) ปลาจะมีอัตราการเผาผลาญของร่างกาย (metabolic rates) เพิ่มขึ้นถ้าน้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น ปลาส่วนใหญ่ถ้าอุณหภูมิข
การเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืดเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่เลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว เป็นที่นิยมบริโภคและเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภูมิภาค อีกทั้งยังเป็นสัตว์น้ำที่นิยมนำมาประกอบอาหารและส่งเป็นสินค้าออกไปสู่ต่างประเทศ ในลักษณะของปลาแล่เนื้อสร้างรายได้เข้าประเทศปีละหลายพันล้านบาท ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ปัจจุบันมีเกษตรกรหันมาสนใจเพาะเลี้ยงจำหน่ายในเชิงธุรกิจในรูปแบบของบ่อดินขนาดใหญ่ และในกระชังตามริมฝั่งแม่น้ำ ลำคลอง ที่มีน้ำไหลผ่านตลอดเวลา การเลี้ยงปลาในบ่อดิน เป็นการเลี้ยงวิธีเลียนแบบธรรมชาติ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงจะนิยมและให้ความสนใจ เนื่องจากปลาสามารถหาอาหารกินเองตามธรรมชาติในบ่อเลี้ยง จะมีทั้งวัชพืช ธาตุอาหารต่างๆ มากมายที่เกิดขึ้นอยู่ภายในบ่อ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นปัจจัยต่อการเติบโตของปลาในบ่อได้เป็นอย่างดี โดยที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งอาหารเหมือนกับการเพาะเลี้ยงปลาชนิดอื่นๆ ที่ใช้ต้นทุนในการเลี้ยงแต่ละครั้งที่สูง คุณเม่งฉ่อง นิลพัฒน์ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาเบญจพรรณอยู่ที่บ้านเลขที่ 4/3 หมู่ที่ 5 ตำบลลาดสวาย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เป็นหนึ่งตัวอย
คุณไว สายกระสุน อยู่บ้านเลขที่ 28 หมู่ที่ 3 ตำบลเทนมีย์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เกษตรกรที่เลี้ยงปลานิลมามากกว่า 20 ปี เล่าว่า ในช่วงแรกที่เลี้ยงปลานิลในบ่อดินพอขนาดใหญ่เริ่มจำหน่ายได้ แม่ค้าที่มารับซื้อถึงบ่อเลี้ยงไม่กล้าจับเพื่อไปจำหน่าย เพราะกลัวเหม็นกลิ่นโคลน หากรับซื้อไปไม่น่าจะมีคนซื้อ “ที่เราต้องเลี้ยงในบ่อดิน เพราะเราไม่มีแหล่งน้ำที่จะเลี้ยงในกระชัง เพราะว่าเรื่องน้ำเรามีอย่างจำกัด ช่วงแรกนี่แม่ค้ามารับซื้อไม่อยากได้ ทั้งๆ ที่เขายังไม่ได้ลองกินเนื้อปลาเลย ผมก็เอ้า! ไม่ซื้อก็ไม่เป็นไรก็เอาไปจำหน่ายเอง ในตอนนี้คนในสุรินทร์ก็กินปลาในบ่อดินกันหมด เพราะมันไม่ได้มีกลิ่นอย่างที่เข้าใจ” คุณไว กล่าวอธิบาย บ่อที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงปลานิล ขนาดประมาณ 1-2 ไร่ ความลึกประมาณ 1.20-2 เมตร เตรียมบ่อโดยโรยปูนขาว และที่สำคัญต้องกำจัดปลาที่เหลือออกให้หมด มิเช่นนั้นจะมากินลูกปลาเล็กจนหมดบ่อ จากนั้นปล่อยลูกปลานิลไซซ์ใบมะขาม ประมาณ 3,200 ตัว ในระยะนี้ให้กินอาหารลูกอ๊อดที่มีโปรตีน 32 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 1 เดือน จึงเปลี่ยนเป็นอาหารที่มีโปรตีน 30 เปอร์เซ็นต์ ให้กิน 2 เวลา คือ เช้าและเย็น จ