เลี้ยงโคขุน
“โคขุน” นับเป็นสินค้าเกษตรทางเลือกที่มีศักยภาพการผลิตในพื้นที่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี สร้างรายได้ดีให้เกษตรกร ปัจจุบันเกษตรกรนิยมเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมจากการทำการเกษตรเป็นหลัก พื้นที่การเลี้ยงครอบคลุมทั้ง 19 อำเภอ พบการเลี้ยงมากที่สุดในอำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอคีรีรัฐนิคม และอำเภอไชยา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 สุราษฎร์ธานี (สศท.8) ติดตามสถานการณ์การผลิตโคขุนในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า ปัจจุบัน เกษตรกรมีการเลี้ยงแบบรวมกลุ่ม และเลี้ยงแบบรายเดียว ซึ่งหนึ่งในตัวอย่างเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงโคขุน คือ คุณปรีชา เรืองแสง เศรษฐกิจการเกษตรอาสา (ศกอ.) จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเป็นสมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคขุนอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี คุณปรีชา เล่าว่า เริ่มจากการเป็นเกษตรกรทำสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน แต่ปัจจุบันราคายางพาราและปาล์มน้ำมันไม่แน่นอน ปุ๋ยราคาสูง ประกอบกับอยากมีรายได้เสริมที่สามารถสร้างอาชีพ หลังจากนั้นได้มีโอกาสศึกษาดูงานเกี่ยวกับการเลี้ยงโคขุนที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำพงแสน และศึกษาจากเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มที่เลี้ยงจนประสบความสำเร็จ จึงได้
“โคขุน” เป็นสินค้าเกษตรทางเลือกที่มีศักยภาพการผลิตในพื้นที่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี สร้างรายได้ดีให้เกษตรกร ปัจจุบันเกษตรกรนิยมเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมจากการทำการเกษตรเป็นหลัก มีเกษตรกรผู้เลี้ยงที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุราษฎร์ธานี รวม 200 ราย จำนวนโคขุนรวมทั้งจังหวัด 866 ตัว จากการลงพื้นที่ของ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 สุราษฎร์ธานี (สศท.8) พบว่า ปัจจุบัน เกษตรกรมีการเลี้ยงแบบรวมกลุ่ม และเลี้ยงแบบรายเดียว ซึ่งหนึ่งในตัวอย่างเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงโคขุน คือ คุณปรีชา เรืองแสง เศรษฐกิจการเกษตรอาสา (ศกอ.) จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเป็นสมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคขุนอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำหรับการเลี้ยงโคขุน คุณปรีชาจะซื้อโคที่มีอายุประมาณ 2 ปี มาขุนต่ออีกประมาณ 5-6 เดือน โดยในระยะเวลา 1 ปี สามารถเลี้ยงได้ 2 รุ่น ซึ่งจะต้องให้ฟางกินก่อนในช่วงแรกประมาณ 1 อาทิตย์ เพื่อให้โคปรับตัว จากนั้นในช่วงเช้าจึงให้อาหารข้นผสมกากปาล์มน้ำมันหรือกากถั่วเหลือง วันละ 1 ครั้ง ช่วงเย็นให้กินฟางแห้งสลับกับหญ้าหรือทางปาล์มน้ำมันสับซึ่งหาได้จากในสวนของตนเองและสามารถลดต้น
โคขุน หมายถึงการเลี้ยงวัวเพื่อให้มีการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ในเวลารวดเร็ว เนื่องจากเลี่ยงปัญหาการลงทุน ฉะนั้น ตัวแปรสำคัญคือคุณภาพอาหาร เพราะถ้าได้อาหารที่มีคุณภาพอย่างดี จะทำให้วัวเจริญเติบโตเร็ว มีน้ำหนัก สามารถขายได้ในราคาสูง คุณวิชิต อำพลรุ่งโรจน์ เกษตรกรชาวตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ยึดอาชีพเลี้ยงโคขุนมาได้หลายปีแล้ว นอกจากคุณวิชิตยังมีตำแหน่งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลรวมไทยพัฒนาด้วย บทบาทและหน้าที่ในตำแหน่งการงานขณะนี้จะต้องดูแลทุกข์ สุข ปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านผ่านประชาคม และชาวบ้านที่อยู่ในหมู่บ้านรวมไทยพัฒนาส่วนมากมีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวกันคือ การทำไร่ข้าวโพด ด้วยความพร้อมทั้งเรื่องดิน ฟ้า อากาศ และน้ำของพื้นที่ในหมู่บ้านแห่งนี้ ทำให้สามารถปลูกพืชผักชนิดต่างๆ อย่าง พริก ผักเมืองหนาว หรือแม้แต่ดอกกุหลาบ ได้อย่างมีคุณภาพ แล้วในบางคราวหากว่างเว้นจากงานประจำ ทางหน่วยงานก็มักจะหาอาชีพเสริมอีกหลายอย่างให้แก่ชาวบ้านทำเพื่อสร้างรายได้หลังเสร็จสิ้นอาชีพหลัก คุณวิชิต เลี้ยงโคขุนเป็นธุรกิจส่วนตัว ทำมาได้หลายปีแล้ว โคที่นำมาเลี้ยงเพื่อขายเป็นพันธุ์พื้นเมือง
ขยันทำกินไม่มีจน!! เป็นเรื่องจริงที่ทุกคนทำได้ในเส้นทางอาชีพการเกษตร ซึ่งหนึ่งในองค์กรต้นแบบที่มีผลงานดีเด่นให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน ได้แก่ สหกรณ์นิคมพิชัยพัฒนา จำกัด อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ สมาชิกส่วนใหญ่ทำนาเป็นอาชีพหลัก และแบ่งเวลาว่างเลี้ยงโคขุนเป็นรายได้เสริม ทำให้มีรายได้ยั่งยืนตลอดทั้งปี สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนเข้ากระเป๋าไม่ต่ำกว่าเดือนละ 20,000 บาท เนื่องจาก “สหกรณ์นิคมพิชัยพัฒนา จํากัด” มีผลงานที่โดดเด่นและเป็นสหกรณ์นิคมต้นแบบที่ปฏิบัติงานด้านการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงยกย่องประกาศเกียรติคุณ “สหกรณ์นิคมพิชัยพัฒนา จํากัด” ในฐานะสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ ประเภทสหกรณ์นิคม ประจำปี 2563 เปิดดำเนินงานมาครบ 37 ปี สหกรณ์นิคมพิชัยพัฒนา จำกัด ถูกจัดตั้งเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2526 สมาชิกแรกตั้ง 777 คน ปัจจุบันมีจำนวนสมาชิก 1,489 คน บริหารงานภายใต้การนำของ คุณเสนอ บุญบุตร ประธานกรรมการ มีอาคารสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 84 หมู่ที่ 7 ตำบลท่ามะเฟือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ 53120 โทรศัพท์ (086) 604-1753 ความคิดริเริ่ม สหกรณ์นิคมพิชัยพัฒนา จำกัด