เวทีประกวดนวัตกรรมนานาชาติ
ทีมนักประดิษฐ์ไทยคว้ารางวัลจากเวที “The 3rd Asia Exhibition of Innovations and Inventions Hong Kong” (AEII) เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566 ณ Hong Kong Convention and Exhibition Centre เขตปกครองพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำทีมนักประดิษฐ์ไทยสร้างความภาคภูมิใจให้กับประเทศไทยอีกครั้ง ในการคว้ารางวัลจากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมในงาน AEII 2023 ในระดับต่างๆ โดยส่วนหนึ่งของผลงานที่ได้รับรางวัล ในระดับเหรียญทอง ได้แก่ -ผลงานเรื่อง “BioCa: สารเสริมธาตุอาหารแคลเชียมชีวภาพสำหรับพืช” โดย ศาสตราจารย์ ดร.สนอง เอกสิทธิ์ และคณะ จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมได้รับรางวัล The 3rd Prize of Inventions Geneva Award on stage จาก สมาพันธรัฐสวิส -ผลงานเรื่อง “OxyRock” โดย นายจีระศักดิ์ จิตรโรจนรักษ์ และคณะ จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -ผลงานเรื่อง “วัสดุทดแทนกระดูกชนิดปรับความสามารถในการย่อยสลายได้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาทางออร์โธปิดิกส์” โดย รองศาสตราจารย์ ดร. อนรรฆ ขันธะชวนะ และคณะ จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเก
วันที่ 26 มิถุนายน 2566 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดพิธีมอบประกาศนียบัตรแสดงความยินดีแก่นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยที่ได้รับรางวัลจากเวทีนานาชาติ เพื่อประกาศเกียรติคุณแก่นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยที่ได้รับรางวัลจากการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปประกวดเวทีนานาชาติ กว่า 261 ผลงานใน 5 เวทีจาก 5 ประเทศ โดยมี ศาสตราจารย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีฯ และปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมไทยก้าวไกลระดับโลก” โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวรายงาน ณ ห้องมัฆวานรังสรรค์ ชั้น 3 สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพมหานคร ศาสตราจารย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. กล่าวว่า กระทรวง อว. ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยขับเคลื่อนประเทศก้าวเดินไปข้างหน้า ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ซึ่งได้กำหนดทิศทางการพัฒนาบนพื้นฐานของหลักการแนวคิดที่สำคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1. ปรัชญาของเศรษฐกิจ
ทีมนักประดิษฐ์นักวิจัยไทยสุดเจ๋ง! คว้ารางวัลและเหรียญรางวัลจากเวที “The 34th International Invention, Innovation & Technology Exhibition” (ITEX 2023) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ สหพันธรัฐมาเลเซีย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำทีมนักประดิษฐ์นักวิจัยไทยจาก 20 หน่วยงาน สร้างความภาคภูมิใจให้กับประเทศไทย ในเวที “The 34th International Invention, Innovation & Technology Exhibition” (ITEX 2023) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 – 13 พฤษภาคม 2566 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ สหพันธรัฐมาเลเซีย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้นายเอนก บำรุงกิจ รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เข้าร่วมพิธีมอบรางวัลและมอบ special prize on stage ให้กับนักประดิษฐ์นักวิจัยที่ได้รับรางวัลจากเวที ITEX 2023 ร่วมด้วยนายธีรวัฒน์ บุญสม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม มอบ special prize on stage ให้กับนักประดิษฐ์นักวิจัยที่ได้รับรางวัลจากเวที WYIE 2023 ซึ่งเป็นเวทีระดับเยาวชน เป็นที่น่ายินดีที่นักประดิษฐ์ไทยสามารถคว้าราง
ทีมนักประดิษฐ์นักวิจัยไทยสร้างความภาคภูมิใจให้กับประเทศไทย คว้ารางวัล Grand Prize จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ ในงาน “Seoul International Invention Fair 2022” (SIIF 2022) ที่จัดขึ้นโดย Korea Invention Promotion Association (KIPA) เมื่อวันที่ 16-19 พฤศจิกายน 2565 ณ Coex Convention & Exhibition Center กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำคณะนักประดิษฐ์ไทยคว้ารางวัลสูงสุดจากเวที SIIF 2022 โดยได้รับ Grand Prize 2 รางวัล จากผลงานเรื่อง “ห้องความดันลบที่สามารถเคลื่อนย้ายได้เพื่อใช้เป็นห้อง ICU ในโรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลสนาม” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐพล ฤกษ์เกษมสันติ์ แห่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นนวัตกรรมที่ร่วมรับมือและบรรเทาสถานการณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข ในการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้สนับสนุนโรงพยาบาลหลักและโรงพยาบาลสนามในหลายพื้นที่ของกรุงเทพและปริมณฑล และผลงานเรื่อง “หลังพร้อม” โดย เด็กชายพิชชากร อรพิมพันธ์ เด็กหญิงพัทธ์ธีรา อรพิมพันธ์ และ เด็
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า ถือเป็นความภาคภูมิใจ ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่สนับสนุนผลงาน “กระเบื้องทางเท้าสำหรับผู้พิการทางสายตาจากขยะกล่องนมและยางพารา” ของ นางสาวพรพิสุทธิ์ ชินอมรพงษ์ นางสาวฤทัยชนก แสงเงินอ่อน และนางสาวรมณ เจียมกิม มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี (จภ.ปท.) โดยมีนายขุนทอง คล้ายทอง และนางสาววรางคณา ธุภักดี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา เข้าร่วมประกวดสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติ ในงาน The Innovation Week in Africa (IWA 2021) ณ ประเทศโมร็อกโก ในรูปแบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 8-12 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา จนสามารถคว้ารางวัลเหรียญทองมาครองได้สำเร็จ จากการนำขยะกล่องนมมาผ่านกระบวนการขึ้นรูปด้วยยางพาราสู่การพัฒนาเป็นกระเบื้องทางเท้าสำหรับผู้พิการทางสายตา นางสาวพรพิสุทธิ์ ชินอมรพงษ์ กล่าวว่า จุดเริ่มต้นมาจากการที่ได้สังเกตเห็นว่าผู้พิการเป็นบุคคลซึ่งมีข้อจํากัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเรี
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) นำคณะนักประดิษฐ์/นักวิจัยไทย จาก 9 หน่วยงาน คว้ารางวัลระดับนานาชาติ จาก งาน “The International Trade Fair-Ideas, Inventions and New Products” (iENA 2019) ที่จัดขึ้น เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม – 3 พฤศจิกายน 2562 ณ เมืองนูเรมเบิร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี รางวัลที่ได้รับประกอบด้วย Gold Medal 4 ผลงาน Silver Medal 13 ผลงาน Bronze Medal 6 ผลงาน รางวัลเหรียญทอง ได้แก่ -ผลงานเรื่อง “อุปกรณ์ถ่างขยายผนังหัวใจห้องบนจากวัสดุฉลาดสำหรับผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว” โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี -ผลงานเรื่อง “การประเมินอายุใช้งานที่เหลือของหม้อแปลงสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า” โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) -ผลงานเรื่อง “ตู้ควบคุมโหลดเบรกสวิตช์ ชนิด FS6 แบบอเนกประสงค์” โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) -ผลงานเรื่อง “เครื่องหมุนรีลสายไฟ (แบบเคลื่อนย้ายอิสระ) พร้อมขาตั้งรีลสายไฟ (แบบไม่ต้องใช้คนควบคุม)” โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) พร้อมนี้ เป็นที่น่ายินดีที่นักประดิษฐ์ไทยสามารถคว้ารางวัลพิเศษของงานคือ รางวัล The Thinker จากผลงาน เรื่อง “