เสาวรส
เสาวรส ผลไม้มากประโยชน์ สามารถทานผลสดได้ ผลเป็นทรงกลม ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกมีหลายสีแล้วแต่พันธุ์ ทั้งสีม่วง เหลือง ส้ม ชั้นในสุดของเปลือกเป็นเยื่อสีขาวที่เรียกรก เนื้อรสเปรี้ยวจัด บางพันธุ์มีรสอมหวาน แหล่งปลูกเสาวรสที่สำคัญคือภาคเหนือ และพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งด้วยคุณประโยชน์และรสชาติที่ถูกใจคนไทย เสาวรสจึงถือเป็นอีกหนึ่งพืชทางเลือกสร้างรายได้เสริมที่น่าสนใจ เมื่อความต้องการของตลาดมีอย่างต่อเนื่อง ทำให้เสาวรสเป็นอีกหนึ่งผลไม้ที่เมื่อออกตามฤดูกาลแล้ว สามารถทำรายได้ให้กับเกษตรกรในหลายพื้นที่ได้เป็นอย่างดี ซึ่งการจะปลูกให้ได้คุณภาพและรสชาติดีนั้น มีปัจจัยอะไรบ้าง วันนี้มีเทคนิคดีๆ มาเล่าสู่กันฟัง เสาวรสสามารถปลูกได้ทั่วไป แต่ควรเป็นที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีน้ำฝนสม่ำเสมอ หรือมีการชลประทาน สภาพดินสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ท่วมขัง ดินมีความเป็นกรดเล็กน้อย (pH) ประมาณ 6 การวางแผนปลูก…มีความจำเป็น เพราะเสาวรสเป็นไม้เลื้อยอายุหลายปี สามารถอยู่ได้ 3-5 ปี ควรวางแนวปลูกในแนวเหนือใต้ เพื่อให้เสาวรสได้รับแสงเต็มที่ เสาวรสต้องการแสงแดดวันละ 6-8 ชั่วโมง วิธีการเตรียมดิน ควรทำไว้ก่อนล่วงหน
เสาวรสพันธุ์พื้นเมือง มีผลค่อนข้างใหญ่ หลากสี ทั้งสีเหลือง สีม่วง สีแดง สีส้มเหลือง เสาวรสที่มีผลสดจะมีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน มีกลิ่นหอม เนื้อแน่น เนื้อเยอะ น้ำเยอะ ถ้าปล่อยให้เหี่ยวจะมีรสชาติหวานขึ้น ส่วนมากนิยมกินกับพริกเกลือ จะมีรสแซ่บยิ่งขึ้น หรือนำไปทำน้ำเสาวรสก็รสชาติดี ชื่นใจ เทคโนโลยชาวบ้านฉบับนี้ ขอนำเสนอเรื่องราวของ คุณชนากานต์ โสภาศรี วัย 28 ปี เกษตรกรผู้ปลูกเสาวรสในพื้นที่หมู่ที่ 5 ตำบลกกสะทอน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ที่ต่อยอดและพัฒนาเสาวรสในที่ดินของ คุณรุ่งโรจน์ โสภาศรี จนเป็นที่รู้จักเป็นอย่างที่ดีในวงการของผู้ปลูกเสาวรสด้วยกันเอง จุดเริ่มต้นของการเข้าสู่ธุรกิจนี้ได้อย่างไร ? หากเล่าถึงจุดเริ่มต้น คุณชนากานต์ เล่าให้เราฟังว่า คุณพ่อรุ่งโรจน์ โสภาศรี ประกอบอาชีพเกษตรอยู่แล้ว เมื่อปี 2550 ศึกษาดูงานที่สวนเสาวรสที่หมู่บ้านหนึ่งในอำเภอด่านซ้าย จึงเกิดความสนใจ ได้เริ่มนำต้นกล้าเสาวรสมาปลูกนับแต่นั้นมา ในปีต่อไปก็ได้ใช้เมล็ดพันธุ์จากสวนตัวเองมาตลอด หลังจากคุณชนากานต์เรียนจบ ในปี พ.ศ. 2563 มาก็ได้กลับมาทำงานใกล้บ้าน จึงมีเวลาได้ศึกษาหาความรู้ในการทำสวนเสาวรสจากพ่อ ในช่วงปี พ.ศ 2
เสาวรส เป็นผลไม้เขตร้อน ที่สามารถรับประทานผลสดได้ โดยเฉพาะบางพันธุ์ที่ผลมีรสชาติค่อนข้างหวาน ในทางการแพทย์ ส่วนของเสาวรสที่นำมาใช้ได้นอกจากผลแล้ว ยังมี ใบ ดอก เปลือก ลำต้น โดยมีสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิด เช่น ฟลาโวนอยด์ สำหรับการนำไปใช้นั้น ในส่วนของใบจะมีสารกลุ่มอัลคาลอยด์ รวมถึงฮาร์แมนด้วย ซึ่งใช้สำหรับลดความดันโลหิต เป็นยาระงับประสาทและยาต้านเกร็ง ขณะที่ดอกมีฤทธิ์ยาระงับประสาทอย่างอ่อนและช่วยให้นอนหลับ ซึ่งคนโบราณนิยมใช้การแก้ปวด บำรุงปอด ใบสด ใช้พอกแก้หิด ดอก ใช้ขับเสมหะ แก้ไอ นอกจากนี้ ยังพบว่า เสาวรส มีวิตามินเอสูง ซึ่งช่วยในการบำรุงสายตา บำรุงผิวพรรณ ลดริ้วรอยเหี่ยวย่น รักษาสภาพเยื่อบุผิว และเพิ่มสมดุลให้ร่างกาย แก้อาการนอนไม่หลับช่วยลดไขมันในเส้นเลือดและแก้โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ รวมถึงพบว่า มีแคโรทีนอยด์และวิตามินซีสูงกว่ามะนาว ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค และยังพบโปรตีนอัลบูมิน โฮโมโลกัสในเมล็ด มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ นอกจากนี้ ยังมีรายงานอีกว่า สารสกัดจากเสาวรสมีฤทธิ์ในการต้านมะเร็งได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมายังมีรายงานเกี่ยวกับเสาวรสในเรื่องผลของการ
อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีจุดที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ได้เปรียบ มีทัศนียภาพที่สวยงาม มีภูมิอากาศที่หนาวเย็นจนได้สมญานามว่าเป็น “ดินแดนแห่งสวิตเซอร์แลนด์เมืองไทย” เขาค้อเป็นแหล่งผลิตภาคการเกษตรที่สำคัญของจังหวัดเพชรบูรณ์ นักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมแหล่งผลิตและเลือกซื้อสินค้าทางการเกษตรนานาชนิดได้ตลอดทั้งปี เกษตรกรในพื้นที่อำเภอเขาค้อทำการเกษตร โดยอาศัยน้ำฝนและแหล่งน้ำจากธรรมชาติ ในช่วงฤดูฝน เริ่มประมาณเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม จะปลูกข้าวไร่ โดยเฉพาะข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัว และปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในช่วงปลายเดือนตุลาคม-เมษายน นอกจากนั้น ปลูกพืชผักนานาชนิด รวมทั้งชาโยเต้หรือมะระหวาน โดยมีผลผลิตเข้าสู่ตลาดตลอดทั้งปี เสาวรสมีผลผลิตเข้าสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-กุมภาพันธ์ ส่วนสตรอเบอร์รี่ผลผลิตเข้าตลาดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ของทุกปี การส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ผ่านมาเป็นการส่งเสริมตามแนวนโยบายของรัฐบาล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรูปแบบการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและขาดการบูรณาการ แต่ปัจจุบันเน้นการส่งเสริมแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เรียนรู
คุณปรีชา ใจบาล เกษตรกรอยู่บ้านเลขที่ 106 หมู่ที่ 3 บ้านบัว ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เคยทำองุ่นไร้เมล็ดมาก่อน แต่เนื่องจากการทำสวนองุ่นต้องใช้สารเคมี ซึ่งตนเองอยากจะผลิตพืชที่ปลอดภัยจากสารเคมี เพื่อสุขภาพของตนเองและผู้บริโภค ก็เลยหยุดปลูก แล้วหันมาปลูกเสาวรสหรือกะทกรกแทน พันธุ์ที่ปลูกคือ ไทนุง ซึ่งเป็นพันธุ์มาจากไต้หวัน เป็นพันธุ์เดียวกับที่โครงการหลวงส่งเสริมให้สมาชิกของโครงการปลูก ด้วยรสชาติของไทนุงมีรสเปรี้ยวอมหวานและมีกลิ่นหอม การปลูกจะเริ่มประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม คือปลูกในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งสามารถควบคุมน้ำและไม่มีปัญหาเรื่องโรคแมลง หลังปลูกประมาณ 4 เดือน เสาวรสจะเริ่มออกดอกติดผล อีก 2 เดือน ผลจะสุกแก่สามารถที่จะเก็บเกี่ยวได้ คุณปรีชา ใจบาล ผลิตเสาวรสแบบการตลาดนำการผลิต คือทำสัญญาล่วงหน้ากับบริษัทที่ส่งออกไปประเทศยุโรป โดยทางบริษัทจะนำ น้ำ ดิน และสุดท้ายคือ ผลผลิต ไปตรวจสอบในห้องทดลอง เพื่อความมั่นใจในคุณภาพของผลผลิต ร่วมทั้งมีคิวอาร์โค้ดที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ หากผลผลิตมีปัญหาด้านคุณภาพ เพราะจริงๆแล้วยังมีสมาชิกรายอื่นๆ ร่วมเป็นวิสาหกิจชุมชนผลิตเสาวรสปลอดภั
เกษตรกรในพื้นที่ โนนดินแดง นิยมปลูกเสาวรสกันมากที่สุด รองจากทำนาและไร่ข้าวโพด ช่วงที่ผลผลิตออกมาพร้อมกัน มักเจอปัญหาราคาตกต่ำ ไม่คุ้มค่ากับการเก็บมาขาย เกษตรกรจึงปล่อยผลผลิตให้เน่าเสีย เมื่อขายได้ราคาไม่ค่อยดีก็ไม่ค่อยสนใจบำรุงรักษา วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการโนนดินแดง จึงเข้ามาให้ช่วยเหลือส่งเสริมให้กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรรวมตัวกันผลิต “น้ำเสารสเข้มข้น” หากใครไปโนนดินแดง จะพบน้ำเสาวรสวางจำหน่าย แวะชิมแล้วรับรองไม่ผิดหวัง เทคนิคการผลิต (สควอช) ส่วนผสม 1. น้ำเสาวรสคั้นสด 1 กิโลกรัม 2. น้ำตาลทราย 1.7-2 กิโลกรัม 3. กรดมะนาว 5-7 กรัม 4. เกลือ 5. น้ำ 1.4-4.5 กิโลกรัม 6. สีเหลืองผสมอาหาร 1-2 หยด 7. ผงเพคติน 20 กรัม 8. โซเดียมเมตาไลซัลไฟต์ 1.4 กรัม วิธีทำ 1. นำน้ำเสาวรสคั้นที่เตรียมไว้ไปผสมกับเพคติน เติมในน้ำเชื่อมที่เตรียมไว้ ใช้พายไม้กวนให้เข้ากัน อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส เติมสีอาหารคนให้เข้ากัน 2. ต้มที่อุณหภูมิ 80-90 องศาเซลเซียส เวลา 1-2 นาที ใช้พายกวนแรงๆ ตลอดเวลา 3. นำขวดแก้ว ขนาด 500 ซีซี หรือ 250 ซีซี ล้างให้สะอาด แล้วอบไอน้ำ 10-15 นาที ปิดฝา 2-3 นาที 4. บรรจุน้ำเสาวรสใส่ขวด ให้เหลือที
เมื่อไม่นานมานี้มีโอกาสลงไปที่ “ไร่ชุนโด” บ้านศรีวิไล ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ สวนเกษตรอินทรีย์และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมแห่งหนึ่งของ อำเภอเชียงคำ เพื่อชมและชิมรสชาติของ “เสาวรสยักษ์” หรือ “สุคนธรส” ซึ่งถือว่าเป็นพืชที่หาดูยาก ปลูกยาก หากินยาก สารพัดคุณประโยชน์ทางยา ภายในไร่ชุนโด ถูกจัดเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านเกษตรอินทรีย์อย่างเป็นสัดส่วน มีการปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ และที่พิเศษสุดคือ การปลูกต้นสุคนธรส ซึ่งชื่อเรียกแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาคกลางเรียก สุคนธรส ภาคกลางบางส่วนและภาคตะวันตกเรียก แตงกะลา มะแตงสา หรือแตงสา ภาคใต้เรียก มะละกอย่าน ส่วนภาคเหนือเรียก มักซูรด หรือกะทกรกยักษ์ ซึ่งได้รับการดูแลเป็นอย่างดี เนื่องจากความที่เป็นพืชหายาก กลิ่นหอม รสชาติหวานนำเปรี้ยว ปลูกยาก และมีราคาแพง คุณประเสริฐ หาญพิศุทธิ์ อายุ 42 ปี เจ้าของไร่ชุนโด เผยว่า ตนเองได้นำเมล็ดพันธุ์ต้นสุคนธรส มาจากผู้เฒ่าในหมู่บ้านซึ่งเหลือแต่เมล็ดพันธุ์ ส่วนต้นที่เคยปลูกก็ไม่มีแล้ว ด้วยความที่ตนเองรักในการปลูกต้นไม้และชอบปลูกพืชหายาก จึงได้ทดลองปลูก เนื่องจากต้นสุคนธ
เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ที่ จ.ตรัง นายเฉลิม ศรีสุข อายุ 65 ปี และ นางถนอมจิต ศรีสุข อายุ 61 ปี สองสามีภรรยา อยู่บ้านเลขที่ 256 หมู่ที่ 3 ต.บ้านโพธิ์ อ.เมือง จ.ตรัง ซึ่งมีอาชีพทำสวนยางพารา ประสบปัญหาได้รับความเดือดร้อนอย่างมากหลังจากที่ราคายางพาราตกต่ำอย่างต่อเนื่อง จึงตัดสินใจโค่นต้นยางพาราอายุ 15 ปี ในพื้นที่กว่า 2 ไร่ ซึ่งเป็นยางเปิดกรีดมาประมาณ 8 ปี นำไม้ยางพาราส่วนหนึ่งไปขายหารายได้มาจุนเจือครอบครัว โดยเหลือตอไม้ยางพาราความสูงประมาณ 1.5 – 2 เมตร เพื่อทำเป็นค้างไว้ปลูกต้นเสาวรสที่กำลังได้รับความนิยมในขณะนี้ และเชื่อว่าผลผลิตจากเสาวรสจะสามารถสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวได้ นายเฉลิม กล่าวว่า ยางพาราช่วงนี้ไม่มีราคา จึงลองเปลี่ยนไปปลูกอย่างอื่นบ้าง ตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งมียางพาราอยู่บนเนื้อที่ประมาณเกือบ 2 ไร่ จึงตัดสินใจโค่นต้นยางเพื่อทำเสา ค้างต้นเสาวรส ซึ่งตอนนี้กำลังเป็นที่นิยมของตลาด อีกทั้งยางพาราไม่มีราคา จึงเปลี่ยนมาปลูกเสาวรสแทน ซึ่งได้ปลูกไว้ข้างบ้านส่วนหนึ่งเมื่อตอนลมพัดทำให้ค้างเสาวรสล้มลงเกือบทั้งหมด จะยกขึ้นก็ไม่ได้แล้วเพราะต่ำ ตนเองได้หันมาใช้พื้นที่ว่างปลูกต้นเสาวรสมาปร
เป็นตำรวจอีกคนที่น่ายกย่อง เพราะนอกจาก ร.ต.อ. จำรูญ ทองขำดี วัย 58 ปี หรือที่เรียกกันว่า “ผู้กองแกรก” จะยึดอาชีพผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ ในตำแหน่งรองสารวัตรสืบสวนตำรวจภูธรจังหวัดตรัง แล้ว ยังใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด้วยการเป็นเกษตรกร ปลูกเสาวรสและพืชผักผลไม้นานาชนิดแบบเกษตรอินทรีย์ ชื่อ “ไร่ลุงแกรก” อยู่ที่ตำบลนาพละ หมู่ที่ 3 อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ในเนื้อที่ 3 ไร่ ซึ่งในอนาคตหากมีความพร้อมมากกว่านี้เจ้าตัวตั้งใจว่าจะเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ให้ผู้คนได้มาศึกษาเรียนรู้วิถีเกษตรอินทรีย์แบบพอเพียงตามศาสตร์ของพระราชา และเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามากินและเก็บเสาวรสสดๆ ด้วยตัวเอง มีรายได้ เดือนละ 20,000-25,000 บาท ยามนี้ผลไม้หลักที่ทำเงินให้กับ “ไร่ลุงแกรก” คือ เสาวรส ทั้งพันธุ์สีม่วงและพันธุ์สีเหลือง ในเนื้อที่ 2 ไร่ครึ่ง ส่วนที่เหลืออีกครึ่งไร่และที่ว่างๆ ผู้กองแกรกยึดหลักปลูกทุกอย่างที่กิน และกินทุกอย่างที่ปลูก รวมแล้วมีพืชผักผลไม้อีกกว่า 30 ชนิด ซึ่งนอกจากจะกินในครัวเรือนแล้ว ยังขายทำเงินได้อีกด้วย อาทิ ไผ่กิมซุง มะม่วงหิมพานต์ ผักหวาน มะนาว มะพร้าว มะละกอ มันม่วงญี่ปุ่น ฯลฯ และยังเลี้ยงปล