เสือดำ
วันที่ 9 ก.พ. นายสิขกพงษ์ กระแจะจันทร์ หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอุทยานสมเด็จพระศรีนครินทร์ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี พร้อมด้วย พ.ต.ท.รัชพล กิตติคุณชนก หัวหน้าชุด ปทส. (กาญจนบุรี-สุพรรณบุรี) ร.ต.ท.สุวัฒน์ ห้วยหงษ์ทอง รอง สว.กก.5 บก.ปทส. นายสราวุฒิ กังวีระนนท์ เจ้าหน้าที่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดแล้วจังหวัดกาญจนบุรี (ทสจ.กจ.) นายธนบดี โอภาสชญานนท์ หน.หน่วยปฏิบัติการพิเศษที่1 สปป.1 (ภาคกลาง) สนธิกำลังตรวจสอบร้านอาหารป่า เพื่อป้องกันลักลอบขายสัตว์ป่าที่ จ.กาญจนบุรี นายสิขกพงษ์ เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากทางสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง) ได้ดำเนินการออกประชาสัมพันธ์ว่ากล่าวและตักเตือนร้านค้าและร้านอาหารที่มีลักษณะขึ้นป้ายโฆษณาว่าเป็นการขายอาหารป่าให้กับลูกค้า และการมาที่ร้านอาหารที่อยู่บริเวณนี้ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ สบอ.3 (บ้านโป่ง) ได้รับแจ้ง และสืบทราบมาว่ามีร้านค้าบางร้านมีพฤติกรรมหลอกลวงประชาชนและนักท่องเที่ยวที่เข้ามารับประทานอาหารในร้าน ว่ามีการขายอาหารประเภทสัตว์ป่า แต่ที่จริงแล้วอาหารชนิดดังกล่าวนั้นไม่ใช่สัตว์ป่าตามที่ติดป้ายเอาไว้ เช่นอาหารประเภท เก้ง และกวาง หรือแม้กระ
นายศักดิ์สิทธิ์ ซิ้มเจริญ หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเสือ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า จากการสำรวจปริมาณเสือดาวและเสือดำพื้นที่ป่าในประเทศไทย พบว่า ป่าเกือบทุกพื้นที่จะพบทั้งเสือดำและเสือดาว โดยภาพรวมในประเทศไทยจะมีปริมาณเสือดาวมากกว่าเสือดำ เสือดำมักจะเจอในป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น โดยในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งเป็นพื้นที่ที่ค่อนข้างมีเสือดาวจำนวนมาก ซึ่งนักวิจัยก็ได้ศึกษาพฤติกรรมของทั้งเสือดำและเสือดาวควบคู่ไปกับเสือโคร่ง โดยพบว่า ช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั้น ปริมาณของเสือดำ เสือดาว และเสือโคร่ง เพิ่มมากขึ้นอย่างน่าพอใจ เพราะพื้นที่อยู่อาศัย และเหยื่อของสัตว์ดังกล่าวมีมากเพียงพอ ประกอบกับการดูแลลาดตระเวนพื้นที่ป่าของเจ้าหน้าที่อุทยานมีความเข้มแข็งเข้มข้นมากขึ้น “หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า เสือดาวกับเสือดำเป็นเสือชนิดเดียวกัน โดยที่เสือดาวมีพื้นบนลำตัวเป็นสีเหลืองและมีลายบนลำตัวเป็นสีดำ แต่เสือดำมีพื้นบนลำตัวเป็นสีดำและมีลายสีดำจึงมองเห็นเป็นสีดำทั้งตัว แต่ถ้ามองใกล้จะเห็นลาย แต่เมื่อเสือดำแก่ตัวลงพื้นสีดำจะจางลงจะเห็นลายสีดำช