เห่าช้าง
“ตัวเงินตัวทอง” หรือ “เหี้ย” ที่บ้านเราเรียกกัน จริงแล้วเป็นสัตว์เลื้อยคลานพื้นเมืองของเอเชียใต้และอาเซียน โดยเฉพาะบังกลาเทศ ศรีลังกา อินเดียจนถึงคาบสมุทรอินโดจีน และอินโดนีเซีย สำหรับในประเทศไทยส่วนใหญ่พบตัวเงินตัวทองอยู่ 6 สายพันธุ์ โดยแต่ละชนิดที่พบแม้ไม่มีพิษโดยตรง แต่ในน้ำลายมีการสะสมของแบคทีเรีย ดังนั้นหากโดนกัดอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อบริเวณแผลได้ เห่าช้าง สิ่งที่น่าสนใจ : ตัวสีดำเข้ม มีขนาดเล็กกว่าพวกเหี้ย หรือตะกวด มีลายเลือน ๆ ขวางลำตัว ปากแหลมและเกล็ดบนสั้น เกล็ดบนคอใหญ่เป็นแหลม ๆ คล้ายหนามทุเรียน ถิ่นอาศัย : พบในภาคใต้ของประเทศไทยและพม่า หมู่เกาะสุมาตรา บอร์เนียว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อาหาร : เห่าช้างกินไก่ นก ปลา กบ เขียด กินได้ทั้งของสด และของเน่า พฤติกรรม : ชอบอยู่ในป่าทึบและเดินหากินบนพื้นดิน แต่ก็ขึ้นต้นไม้เก่ง เป็นสัตว์ว่องไวปราดเรียวและซุกซ่อนตัวเก่ง ดุกว่าเหี้ย ถ้าเข้าใกล้จะพองคอขู่ฟ่อ ๆ วัยเจริญพันธุ์ : เห่าช้างเริ่มผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม โดยวางไข่ตามหลุมที่ขุดเป็นโพรง เมื่อออกไข่แล้วจะไม่ฟักไข่ ลูกฟักออกจากไข่เองตามธรรมชาติ และเมื่อลูกออกจากไ
เมื่อช่วงค่ำวันที่ 10 เมษายน ที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาพระแทว หมู่ 7 ตำบล เทพกระษัตรี อำเภอ ถลาง เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ชีพกู้ภัยเทศบาลตำบลศรีสุนทร นำตัวเห่าช้างขนาดใหญ่ นำหนักประมาณ 4 กิโลกรัม มอบให้นายปิยวัฒน์ สุคนธ์ หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาพระแทว เพื่อนำปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ โดยเจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจสอบในเบื้องต้น ก่อนทำการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติทันทีเนื่องจากเห่าช้างตัวดังกล่าวไม่มีอาการบาดเจ็บ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เห่าช้างตัวดังกล่าว เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ชีพ-กู้ภัยเทศบาลตำบลศรีสุนทรจับได้ภายในโรงแรมแห่งหนึ่ง หลังจากเมื่อเวลาประมาณ 17.30 น.ได้รับแจ้งจากพนักงานโรงแรมแห่งหนึ่ง ในพื้นที่ อ.ถลาง ว่าพบเห่าช้างพยายามปีนกำแพงอยู่ และขอให้ไปตรวจสอบ ซึ่งเมื่อไปถึงเจ้าหน้าที่คิดว่าเป็นตัว แลน หรือตะกวด จึงเข้าไปใช้บ่วงคล้องในระยะใกล้ แต่พบว่ามีความดุกว่าปกติ และเมื่อสังเกตุอย่างละเอียดก็พบว่า ที่บริเวณคอด้านหลังคล้ายเกล็ดเล็กๆ และลำคอแผ่ออกกว้างพร้อมส่งเสียงขู่สู้และพยายามพุ่งเข้ากัด เมื่อไม่ยอมให้จับตัวง่าย เจ้าหน้าที่ต้องใช้ไม้ยาวพร้อมบ่วงเข้าล้อมจับกว่า 20 นาที จึงสามารถคล้องตัวได้ ก่อนประสานมายัง