เอเลี่ยนสปีชีส์
ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ข่าวสารของปลาหมอคางดำเป็นกระแสข่าวอย่างไม่ขาดช่วงกันเลยทีเดียว ในหลายพื้นที่กำลังประสบปัญหาการรุกรานของสัตว์น้ำต่างถิ่นชนิดนี้ หรือที่มักเรียกกันว่าเอเลี่ยนสปีชีส์ ซึ่งกำลังสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนโดยเฉพาะเกษตกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เทคโนโลยีชาวบ้านออนไลน์มีโอกาสสัมภาษณ์ ผศ.ดุสิต เอื้ออำนวย หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์และประมง คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดการคุณภาพน้ำ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการเลี้ยงกุ้งในระบบ co-culture มาตอบข้อสงสัยรวมไปถึงการรับมืออย่างไรได้บ้าง กับการระบาดของปลาหมอคางคำในขณะนี้ ทำความรู้จัก “ปลาหมอคางดำ” เอเลี่ยนสปีชีส์…ที่มีความอดทน ปลาหมอคางดำ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Sarotherodon melanotheron (Blackchin tilapia) เป็นปลาน้ำกร่อยที่พบในเขตปากแม่น้ำและทะเลสาบชายฝั่งของแอฟริกาตะวันตก ลักษณะทั่วไป เป็นปลาในกลุ่มปลานิล มีลักษณะเด่นคือ มีกระดูกสันหลัง 26-29 ซี่ ซี่กรองเหงือกล่าง 12-19 อัน ก้านครีบหลัง 14-16 อัน สีลำตัวเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพแวดล้อม
ในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา เกิดปัญหาปลาหมอสีคางดำระบาดใน จังหวัดสมุทรสงคราม และ จังหวัดเพชรบุรี สร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในพื้้นที่ ตำบลยี่สาร และ ตำบลแพรกหนามแดง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ขณะที่ นางสาวนภสร สุขพันธุ์ นักวิชาการประมงชำนาญการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเพชรบุรี ระบุว่า ปลาหมอสีคางดำเป็นสายพันธุ์เดียวกับปลาหมอสี มีรูปร่างคล้ายปลาหมอทะเล และปลานิล แต่เป็นปลาหมอสีชนิดไม่มีราคา เป็นปลากินเนื้อ ปากกว้าง ดังนั้นเมื่อแพร่ระบาดก็จะกินสัตว์น้ำต่างๆ ชนิดอื่นที่ตัวเล็กๆ จนหมด จะคล้าย “เอเลี่ยนสปีชีส์” ที่มาทำลายสัตว์น้ำประจำถิ่นจนหมด ทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน นายสมศักดิ์ ริ้วทอง เกษตรกร ตำบลแพรกหนามแดง เผยว่า เลี้ยงกุ้งมานานกว่า 30 ปี ขนาดบ่อ 80 ไร่ ก็ได้ดีมาตลอด เพิ่งมาได้รับความเสียหายในช่วง 2 ปีนี้ ปล่อยกุ้งเป็นล้านตัว บางครั้งก็หมดไม่เหลือ ทำให้เป็นหนี้จำนวนมาก จึงอยากให้ภาครัฐลงมาแก้ไขโดยเร็ว นายปัญญา โตกทอง เกษตรกร ตำบลแพรกหนามแดง บอกว่า มีบริษัทแห่งหนึ่งนำปลาหมอสีเข้ามาจากต่างประเทศ เมื่อปลายปี 2553 ซึ่งเกษตรกรเชื่อว่าเหตุการณ์สัมพันธ์กันท