เอ็นไอเอ
กรุงเทพฯ 14 มกราคม 2568 – กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มหาวิทยาลัยมหิดล และพันธมิตรองค์กรชั้นนำ ได้แก่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท ล็อตเต ไฟน์ เคมิคอล จำกัด บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ดีลอยท์ ประเทศไทย และเครือข่ายบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมอาหารอีกมากมาย เสริมโอกาสการลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารและฟู้ดเทคสตาร์ตอัพไทยผ่าน โครงการ SPACE-F ปี 5 พร้อมชี้ตลอดระยะเวลา 5 ปี ช่วยปั้นสตาร์ตอัพได้กว่า 80 ราย จาก 18 ประเทศ และสร้างมูลค่าด้านการลงทุนได้กว่า 2,000 ล้านบาท โดยปีนี้มีสตาร์ตอัพที่มีศักยภาพเข้าร่วมโครงการ SPACE-F ทั้งในส่วนโครงการบ่มเพาะ (Incubator Program) และโครงการเร่งการเติบโตทางธุรกิจ (Accelerator Program) เพิ่มอีก 18 ราย ซึ่งมุ่งเป้าด้านความยั่งยืนและอาหารแห่งอนาคต ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดเผยว่า NIA ภายใต้บทบาทผู้กำหนดทิศทางนวัตกรรมมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ชาตินวัตกรรม ด้วยแนว
ยุคนี้เป็นยุคแห่งการใส่ใจดูแลสุขภาพ เพราะไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็จะเห็นผู้คนให้ความสำคัญกับการออกกำลังกาย การบริโภคสินค้าและบริการที่ดีต่อสุขภาพ รวมถึงเทรนด์การรับประทานอาหารโดยเฉพาะไลฟ์สไตล์ไร้เนื้อสัตว์อย่างวีแกน (Vegan) ที่เป็นการบริโภคสินค้าที่ไม่มีส่วนผสมของวัตถุดิบที่มาจากสัตว์ และไม่ใช้สัตว์ในกรรมวิธีการผลิต ซึ่งกำลังเป็นกระแสของผู้บริโภคในหลายประเทศ ที่มีความตระหนักรู้มากขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบทั้งด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และศีลธรรม เมื่อธุรกิจชูแนวคิดดูแลโลกผ่านมื้ออาหาร สุขภาพดีและตอบโจทย์ด้านความยั่งยืนตามแนวทาง SDG การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรรมมาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อาหารอนาคต ซึ่งเป็นหนึ่งในสินค้ามูลค่าสูงที่กลุ่มคนรักสุขภาพนิยมรับประทานในปัจจุบัน โดยแบ่งเป็นกลุ่มมังสวิรัติที่งดเว้นเนื้อสัตว์เพียงอย่างเดียว แต่ยังคงรับประทานไข่ ชีส เนย นม ได้ ต่างจากกลุ่มวีแกนที่นอกจากจะเน้นรับประทานเฉพาะผักผลไม้และไม่บริโภคเนื้อสัตว์แล้ว ยังงดการเบียดเบียนสิ่งมีชีวิตทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยงดการบริโภคนม เนย ชีส ไข่ รวมถึงน้ำผึ้ง ยีสต์ และเจลาติน ดังนั้น การมีผลิตภัณฑ์อาหารจากพืชที่หลากหลาย เช่น ถั่ว
กรุงเทพฯ 19 ธันวาคม 2567 – กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดพื้นที่ให้ 10 สตาร์ทอัพ ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการเร่งสร้างสตาร์ทอัพด้านการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึก ร่วมนำเสนอผลงานการใช้เทคโนโลยีเชิงลึกในรูปแบบที่หลากหลายและมีความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมเกษตรไทย ในกิจกรรม AGROWTH Demo Day เพื่อผลักดันให้เกิดการนำเทคโนโลยีเชิงลึกเข้ามาสร้างสรรค์แนวทางใหม่ๆ ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรของประเทศและภูมิภาคอาเซียน เพื่อสร้างความสามารถทางการแข่งขันของประเทศในตลาดโลก และส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อนนวัตกรรมที่พลิกโฉมภาคการเกษตรของประเทศไทยสู่อนาคตได้อย่างยั่งยืน ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า การทำเกษตรกรรมเป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจไทยและมีความเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของคนไทยมายาวนาน ดังนั้น การเร่งสร้างสตาร์ทอัพที่เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีเชิงลึกในภาคการเกษตร จึงเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรสูงสุด โครงการ AGR
เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ผนึกกำลัง 11 เครือข่ายพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อสนับสนุนการสร้างแพลตฟอร์มเชื่อมโยงเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากสตาร์ทอัพไทยสู่กลุ่มเกษตรกร ภายใต้โครงการ AgTech Connext ที่พร้อมเป็นพลังขับเคลื่อนและสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยการพลิกโฉมภาคเกษตรอย่างยั่งยืน โดยได้จัดให้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากสตาร์ทอัพด้านการเกษตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในภาคการเกษตร นำไปสู่การสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไทย เพื่อสานต่อที่ได้ทำงานมาแล้วให้เกิดความต่อเนื่องและสร้างเครือข่ายใหม่เพิ่มเติม รวมทั้งกิจกรรมนำเสนอผลการใช้งานของ 10 สตาร์ทอัพสายเกษตรและเกษตรกรที่จับคู่ทดสอบการใช้งานจริง ในโครงการ AgTech Connext 2024 ซึ่งเปรียบเหมือนเป็นพื้นที่ทดสอบและต้นแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาด้านการเกษตรของประเทศไทย ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดเผยว่า NIA เป็นหนึ่งในห
ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อํานวยการสํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (คนกลาง) พร้อมด้วย ดร. กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อํานวยการด้านระบบนวัตกรรม สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (คนที่ 3 จากซ้าย) ร่วมแถลงข่าวเปิดหลักสูตรผู้บริหารเมืองนวัตกรรม (Chief City Innovation Officer: CCIO) รุ่นที่ 5 เพื่อพัฒนาศักยภาพและสร้างเครือข่ายการพัฒนาเมืองร่วมกันแบบครบทุกมิติ ในกลุ่มผู้บริหารระดับสูง ให้สามารถบริหารจัดการเมืองให้กลายเป็น “เมืองแห่งนวัตกรรม” ที่สมบูรณ์ โดยมีผู้บริหารระดับสูง ซึ่งเป็นศิษย์เก่ารุ่นที่ 1-4 มาร่วมเสวนาหัวข้อ “นักบริหารเมืองด้วยนวัตกรรม” ได้แก่ ผศ.ดร. สักรินทร์ แซ่ภู่ (คนที่ 2 จากซ้าย) อาจารย์คณะสถาปัตยกรรม การออกแบบและศิลปะ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง นายตฤณ ทวิธารานนท์ (คนที่ 3 จากขวา) ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ดร.จักรกฤษณ์ เหลืองเจริญรัตน์ (คนที่ 1 จากซ้าย) กรรมการบริหาร บริษัท เก็นสเล่อร์ (ประเทศไทย) จำกัด นายเอกชัย ตั้งรัตนาวลี (คนที่ 2 จากขวา) ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซีพี ออริจิน จำกัด ณ สุรวงศ์ บอลรูม 1 โ
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เปิดตัวผู้ชนะเลิศแคมเปญ “นิลมังกร The Reality” สุดยอดรายการค้นหาสตาร์ทอัพ – ผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมจากทั่วประเทศ ซึ่งเป็นเสมือน “ยูนิคอร์น” ในแบบฉบับคนไทย รวมถึงเป็นตัวแทนของธุรกิจท้องถิ่นที่เติบโตขึ้นจนกลายเป็นฮีโร่และเป็นที่รู้จักระดับประเทศ โดยผู้ชนะในปีนี้ ได้แก่ อภินันท์ มหาศักดิ์สวัสดิ์ จากทีมไฮด์แอนซีค (Hide and seek) บริษัท เวลตี้ ม็อกกี้ อินโนเวชั่น จำกัด ผู้พัฒนานวัตกรรมทรายแมวธรรมชาติจากมันสำปะหลัง สุดยอดสินค้าที่ช่วยเพิ่มมูลค่าและระบายผลผลิตให้กับเกษตรกรไทย พร้อมคว้าเงินรางวัล 2,000,000 บาท เมื่อเร็วๆ นี้