แกงคั่ว
แกงบอน แกงโบราณที่คนเมืองยุคปัจจุบันน้อยคนนักที่จะรู้จักและเคยลิ้มลอง เว้นแต่คนยุคใหม่ที่ยังคงอยู่อาศัยในพื้นที่ชนบทที่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมในพื้นที่ชุ่มน้ำหรืออยู่ริม หนอง คลอง บึง ที่มีต้นบอนขึ้นอยู่เป็นกอๆ ซึ่งคนไทยในพื้นที่ชนบทรู้จักนำต้นบอนมาทำอาหารกินกันมานานแล้ว ด้วยการนำมาทำแกง ซึ่งมีทั้งที่เป็นแกงส้ม แกงคั่ว ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับผู้แกงที่จะลงมือทำว่าจะทำแกงอะไรดี แต่แกงและกินแล้วเป็นต้องถามถึงในเวลาต่อมา ไปเที่ยวอุทัยธานีครั้งนี้และพักที่ “บ้านไร่วรัญญ์รัช” อำเภอห้วยทัพทัน เป็นบูติกรีสอร์ตที่เน้นความเป็นพื้นบ้านชนบท ทำแกงคั่วบอนเป็นอาหารมื้อเย็น เลยนำมาฝากให้กับแฟนนานุแฟนครัวชาวบ้าน เผื่อว่าอยากจะลองทำกินกัน บอน ชื่อ วิทยาศาสตร์ Colocasia (Elephant ear) จากเว็บไซต์ Medthai กล่าวถึงคุณลักษณะและสรรพคุณของบอนไว้อย่างน่าสนใจ ลักษณะทั่วไปเป็นพืชอวบน้ำล้มลุกอยู่รวมกันเป็นกอ ขนาดกลาง ลำต้นมีไหลออกเป็นกระจุกด้านล่าง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 2.5-3 เซนติเมตร ใบเดี่ยวขนาดกว้างประมาณ 15-35 เซนติเมตร ยาว 20-50 เซนติเมตร แผ่ไปรอบๆ กอ ก้านใบยาว 30-90 เซนติเมตร มีเนื้อเยื่อ ก้านใบด้านบนเป
กับข้าวไทยโบราณอย่างหนึ่ง ที่สับสนกันอยู่โดยเฉพาะในข่ายสื่อสังคม ใคร่นำมาแจกแจงให้หายข้องใจ เพราะเป็นส่วนประกอบสำคัญในการจัดสำรับกับข้าว ซึ่งนับวันจะรู้ทำกันน้อยลงทุกที สำรับไทยนั้น ตั้งอยู่รอบกับข้าวจานหลัก แต่โบราณกาลเป็นพริกกับเกลือ วิวัฒนาเรื่อยมาจนเป็นน้ำพริก เติมน้ำหรือกะทิเข้าไปกลายเป็นแกง แต่ไม่ถูกครอบงำโดยอิทธิพลครัวเปอร์เซียจากตะวันออกกลาง หรืออินเดีย ซึ่งเข้ามาสมัยกรุงศรีอยุธยา ยังคงตำรายึดมั่นยั่งยืนมาจนวันนี้ แกงคั่ว แกงพื้นบ้านไทยรสเผ็ดร้อน ถือเป็นหนึ่งในบรรดาจานหลัก อยู่ในประเภทแกงเผ็ดเข้ากะทิทั้งหลาย น้ำพริกแกงคั่วดั้งเดิม ใช้ของไทยล้วนๆ ไม่กี่อย่าง พริกแห้ง หอมแดง กระเทียม ข่า ตะไคร้ เกลือ แล้วก็ กะปิ ต่อมาก็เพิ่มรากผักชี ใบมะกรูด ผิวมะกรูด อย่างอื่น เช่น ลูกผักชี ยี่หร่า ลูกกระวาน ฯลฯ นั้นเป็นของต่างประเทศที่รับเอาเข้ามาทีหลัง จึงเรียกว่า “เครื่องเทศ” ไม่ใส่ในแกงคั่ว ส่วนที่เรียกว่า แกงคั่ว มาจากการนำเครื่องแกงที่ตำละเอียดแล้ว มาคั่วความร้อนในน้ำมันหรือหัวกะทิ ก่อนจะเติมเนื้อ ผัก และหางกะทิ ซึ่งทางอินเดียเขาก็ทำแบบเดียวกัน ไม่ว่าจะคั่วด้วย ฆี (เนยละลาย) หรือน้ำมันพืช
คุณจุฑามาศ อิ๊ดเหล็ง ได้เปิดสูตรและอธิบายขั้นตอนการแกงคั่วหอยเกลียว อาหารขึ้นชื่อของตำบลหนองคันทรง ไว้ดังนี้ สูตรแกงคั่วหอยเกลียว…หอยเกลียว 3 กิโลกรัม น้ำกะทิ หัวและหาง 1 กิโลกรัม น้ำพริก 3 ขีด น้ำตาลทราย 3 ขีด เกลือเม็ด 1 ขีด ใบมะกรูด 5-6 ใบ น้ำปลาอย่างดี 2-3 ช้อนโต๊ะ ขั้นตอนการแกง การเตรียม หอยเกลียว หอยเกลียวที่จับมาได้สดๆ เป็นๆ ต้องรีบนำมาทำทันที โดยการใช้ค้อนทุบตรงปากหอยที่เป็นคมปากออก และทุบท่อนท้ายออกให้เหลือ 2 ข้อ หรือตัวยาวประมาณ 3 นิ้ว เพื่อให้ดูดง่าย และนำไปล้างน้ำให้สะอาด 4-5 ครั้ง จนกระทั่งน้ำใสหมดเศษดิน โคลน ใส่ตะกร้าพักให้สะเด็ดน้ำ 2. การเตรียมน้ำกะทิและน้ำพริกแกง น้ำกะทิคั้นเองจะสดและหอม แยกหัวกะทิและหางกะทิ ส่วนน้ำพริกแกงใช้พริกแห้ง เพราะไม่เผ็ดมาก การแกง ตั้งกระทะบนเตาให้ร้อน นำหัวกะทิเทใส่ แล้วรอให้เดือดเคี่ยวให้แตกมัน นำน้ำพริกแกงที่เตรียมไว้ใส่ลงไปผัดเคี่ยวให้หอม ใส่ตัวหอยลงไปผัดคั่ว กระทั่งน้ำพริกเข้าไปในตัวหอยทั่วแล้ว ใส่น้ำตาล เกลือ น้ำปลา ใบมะกรูดฉีกเป็นชิ้นๆ โรยลงไป และใส่หางกะทิที่เตรียมไว้ผัดคนให้ทั่ว รอน้ำแกงเดือดให้ทั่ว ชิมให้มีรสหวานๆ เค็มๆ สุกได้