แก้ปัญหาดินเค็ม
โรงเรียนวัดเกาะแก้ว หมู่ที่ 1 บ้านเกาะแก้ว ตำบลบางตะบูนนอก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ตั้งอยู่บนพื้นดินที่ยื่นออกไปในท้องน้ำ จึงเรียกว่าเกาะแก้ว จึงประสบปัญหาดินเค็มแม้กระทั่งน้ำโดยรอบก็เป็นน้ำเค็ม นับเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเพาะปลูกพืช ครูและนักเรียนมีความพยายามใช้พื้นที่ของโรงเรียนเพียงน้อยนิด ให้เกิดประโยชน์โดยการสร้างแปลงผักสวนครัว และตั้งใจทำแปลงไม้พื้นถิ่น เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเอาไว้ อาจารย์พจน์ และ อาจารย์อำภรรณ ใจแสน ครูที่ปรึกษาด้านเกษตร พยายามช่วยกันแก้ปัญหาเรื่องดินเค็ม รวมถึงน้ำเค็มที่มีอยู่รอบโรงเรียน ซึ่งวิธีแก้ปัญหาอย่างง่ายที่สามารถทำได้คือ การเลือกพืชที่เหมาะกับดินเค็มมาปลูก ส่วนใหญ่เป็นพืชสวนครัว เช่น ตะไคร้ กะเพรา โหระพา พริก และพืชกินใบ เช่น ผักบุ้ง กวางตุ้ง และผักกาดขาว ไม้ยืนต้นอื่นๆ ไม่สามารถปลูกได้ เพราะเมื่อรากของไม้ยืนต้นหรือไม้ผลเริ่มลงรากลึกก็พบกับน้ำเค็ม ทำให้หยุดการเจริญเติบโต ครูและนักเรียนลองผิดลองถูกมาตลอด เคยลองปลูกแตงกวา บวบงู ตอนแรกก็งามดี พอเริ่มติดลูกก็จะแกร็น ส่วนมะม่วงเจริญเติบโตดีได้สักระยะ ใบก็เริ่มเหี่ยว
ทุกวันนี้เมืองไทยกำลังเผชิญปัญหาดินเสื่อมโทรม จากปัญหาดินเค็ม เนื่องจากดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ทั้งนี้ สามารถแบ่งประเภทดินเค็มได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ตามลักษณะของพื้นที่ที่พบ คือ 1. ดินเค็มชายทะเล 2. ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดินเค็มชายทะเล เกิดจากตะกอนที่แม่น้ำพัดพามาตกทับถมในทะเลบริเวณปากแม่น้ำ ลำคลองแถบชายฝั่งทะเล เมื่อมาตกทับถมกันนานเข้าก็จะกินบริเวณกว้างขวางจนเกิดเป็นหาดเลน และเมื่อมีตะกอนดินทับถมมากขึ้นก็จะค่อยๆ พัฒนาเป็นแผ่นดิน มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม เนื้อดิน เป็นดินเหนียวซึ่งมีลักษณะเป็นเลน มีสีเทา หรือสีน้ำเงินปนเทา การระบายน้ำเลว ดินเค็มชายทะเล ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกพืชทั่วๆ ไปได้ เพราะดินมีความเค็มสูงมาก มีพืชธรรมชาติบางชนิดเท่านั้นที่มีคุณสมบัติพิเศษ สามารถขึ้นได้ดีในดินพวกนี้ ได้แก่ แสม โกงกาง ลำพู ตะบูน ประสัก รวมเรียกว่า ป่าชายเลน ปรือ ป่าโกงกาง ดินเค็มชายทะเลนี้พบอยู่ตามชายฝั่งทะเลของภาคใต้ และภาคตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 3.7 ล้านไร่ อย่างไรก็ตาม ดินเค็มชายทะเล สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ ดินเค็มโซเดียม และดินเค็มกรด ซึ่งจะกลายเป็นดินเปรี้ยวจัด หากดินนี
ทุกวันนี้เมืองไทยกำลังเผชิญปัญหาดินเสื่อมโทรม จากปัญหาดินเค็ม เนื่องจาก ดินมีความอุดมสมบูรณ์ทั้งนี้ สามารถแบ่งประเภทดินเค็มได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ตามลักษณะของพื้นที่ที่พบ คือ 1. ดินเค็มชายทะเล 2. ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดินเค็มชายทะเล เกิดจากตะกอนที่แม่น้ำพัดพามาตกทับถมในทะเลบริเวณปากแม่น้ำ ลำคลองแถบชายฝั่งทะเล เมื่อมาตกทับถมกันนานเข้าก็จะกินบริเวณกว้างขวางจนเกิดเป็นหาดเลน และเมื่อมีตะกอนดินทับถมมากขึ้นก็จะค่อยๆ พัฒนาเป็นแผ่นดิน มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม เนื้อดิน เป็นดินเหนียว ซึ่งมีลักษณะเป็นเลน มีสีเทา หรือสีน้ำเงินปนเทา การระบายน้ำเลว ดินเค็มชายทะเล ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกพืชทั่วๆ ไปได้ เพราะดินมีความเค็มสูงมาก มีพืชธรรมชาติบางชนิดเท่านั้นที่มีคุณสมบัติพิเศษ สามารถขึ้นได้ดีในดินพวกนี้ ได้แก่ แสม โกงกาง ลำพู ตะบูน ประสัก รวมเรียกว่า ป่าชายเลน หรือป่าโกงกาง ดินเค็มชายทะเลนี้พบอยู่ตามชายฝั่งทะเลของภาคใต้ และภาคตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 3.7 ล้านไร่ อย่างไรก็ตาม ดินเค็มชายทะเล สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ ดินเค็มโซเดียม และดินเค็มกรด ซึ่งจะกลายเป็นดินเปรี้ยวจัด หากดินนี้