แซลมอน
ได้คุยกับ “ไอรีน” เพื่อนฝรั่งชาวนอร์เวย์ในยุโรปเหนือ เธอเพิ่งจะ 40 ปีเศษ แต่หน้าตาแก่เกินอายุไปมากและรูปร่างก็พอกด้วยไขมันจนเกินจะควบคุมไม่ให้เผละแล้ว ระหว่างมื้อกลางวันด้วยอาหารไทย ที่เรา “จัดเต็ม” หลังจากช่วยกันฟาดอาหารรสจัดมากมายหายไปกว่าครึ่งโต๊ะ เธอกวาดตามองอาหารทั้งหมดแล้วเปรยขึ้นมาว่า “ฉันรู้แล้วว่า ทำไมอาหารเอเชียจึงไม่ทำให้อ้วน” เธอบอกว่าเท่าที่สังเกตเห็นจากการเดินทางเที่ยวท่องไปในเอเชียหลายประเทศ ทั้งจีน เวียดนาม มาเลเซีย ไทย เกาหลี หรือญี่ปุ่น ไม่ค่อยเห็นคนส่วนใหญ่มีปัญหาในเรื่องของน้ำหนักเกินมากมายเหมือนที่ได้เห็นในบ้านเมืองเธอและแถบทวีปอเมริกา ยกเว้นเด็กหรือวัยรุ่นสมัยใหม่ที่นิยมอาหารฟาสต์ฟู้ด เธอยังบอกอีกว่า มีข้อมูลทางการแพทย์ที่อ้างอิงได้ระบุด้วยว่าการเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจและมะเร็งของคนแถบเอเชียก็น้อยกว่าชาวยุโรป-อเมริกัน คงเป็นเพราะอาหารพื้นถิ่นตะวันออกมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรอย่างดีนั่นเอง พอเธอเปิดประเด็นเรื่องนี้ขึ้นมา เราก็เลยได้โอกาสปุจฉาวิสัชนาแลกเปลี่ยนความรู้ด้านอาหารการกินกันยาวเลยทีเดียว ไอรีน บอกว่า เท่าที่เธอสังเกตอาหารไทยพื้นถิ่นหลายมื้อที่เรากินด้วยกัน เธอพบ
หลังจาก “มติชนออนไลน์” ได้นำเสนอข้อมูลจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เกี่ยวกับทางเลือกการรับประทานปลาที่มีโอเมก้า 3 สูง นอกเหนือจาก “ปลาแซลมอน” ที่มีราคาแพง ยังมีปลาน้ำจืดไทย อย่าง “ปลาสวาย” โดยได้มีการเปิดเมนูปลาสวาย และความนิยมเพิ่มขึ้นนั้น ล่าสุดเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พญ.นภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า นอกจากปลาสวาย มีกรดไขมันโอเมก้า 3 ในการบำรุงสมอง บำรุงเส้นประสาทและสายตา ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด และช่วยให้สมองทารกพัฒนาอย่างสมบูรณ์แล้ว ยังพบว่า โอเมก้า 3 ยังพบได้ในปลาน้ำจืดชนิดอื่นๆ ก็มีเช่นกัน อย่าง ปลาดุก ปลาช่อน ปลานิล ปลากราย สิ่งสำคัญ คือ แม้จะพบมาก แต่อย่าลืมว่าปลาเหล่านี้ก็มีไขมันอื่นๆด้วย ดังนั้น หากเรารับประทานมากจนเกินไปก็จะส่งผลต่อปริมาณไขมันอิ่มตัวเข้ามาด้วย ไม่ใช่แค่โอเมก้า 3 เท่านั้น ดังนั้น การรับประทานก็ต้องพอดี และต้องกินอย่างหลากหลาย ด้าน รศ.ครรชิต จุดประสงค์ จากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ทำวิจัยเรื่อง “ปริมาณไขมันทั้งหมด กรดโอเมก้า 6 และกรดโอเมก้า 3 ใน