แตนเบียน
ปัญหา หนอนหัวดำ แมลงดำหนาม ด้วงแรด ด้วงงวง ล้วนแล้วแต่เป็นแมลงศัตรูมะพร้าวที่เกษตรกรชาวสวนมะพร้าวไม่ต้องการให้เกิดขึ้นทั้งในสวนของตนเองและสวนของเพื่อนบ้าน เพราะเมื่อพบแล้ว ปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูพืชเหล่านี้จะแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว หากไม่มีการควบคุมหรือกำจัดที่ดีพอ คุณวิชาญ บำรุงยา เกษตรกรชาวสวนมะพร้าวในพื้นที่ตำบลโป่ง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ผู้ที่เคยได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่น ประจำปี 2558 ในสาขาอาชีพทำสวน และเราให้คำจำกัดความเขาว่า “ปราชญ์ชาวบ้าน” ในมุมของเกษตรกรทำสวนมะพร้าว มุมมองของ คุณวิชาญ คือ การแก้ปัญหาแมลงศัตรูพืชทุกอย่างด้วยการงดใช้สารเคมี หรือใช้สารเคมีให้น้อยที่สุดในกรณีที่จำเป็น เพื่อไม่ให้เกิดการตกค้างไปถึงผู้บริโภค แม้สารเคมีบางชนิดที่ได้รับการประเมินปริมาณในการใช้แล้วว่า ไม่ตกค้างจนก่อให้เกิดโทษต่อผู้บริโภคก็ตาม “หนอนหัวดำ และแมลงดำหนาม เป็นแมลงศัตรูพืชที่ในอดีตไม่เคยมี เกษตรกรของไทยไม่เคยประสบ กระทั่งปีที่เกิดการระบาดในภาคใต้ และไม่นานก็แพร่ระบาดมาถึงภูมิภาคอื่นๆ การแก้ปัญหาที่ภาครัฐแนะนำขณะนั้นคือ การใช้สารเคมีกำจัด เพราะต้องการให้การแพร่ระบาดหมดไปโดยเร็ว อีกทั้งเ
ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) ตำบลบางสระเก้า หมู่ที่ 1 ตำบลบางสระเก้า อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี มีสมาชิกเริ่มแรก 37 คน นับเป็นศูนย์ฯ ที่ประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาแมลงที่เข้าทำลายต้นมะพร้าว จนได้รับความเสียหาย ต้นโทรม ใบเหลือง ใบแห้ง ให้ผลผลิตลดลง ได้ใช้วิธีการจัดการแบบผสมผสาน ผลจากการดำเนินงานของศูนย์ ทำให้ต้นมะพร้าวของเกษตรกรไม่พบการระบาดของหนอนหัวดำและแมลงดำหนามต้นมะพร้าวในปัจจุบัน ทั้งในพื้นที่และตำบลใกล้เคียง ยังผลให้สวนมะพะร้าวของเกษตรกรมีสภาพดีขึ้นใบเขียวต้นไม่โทรมและให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ในการดำเนินงานนั้นทางศูนย์ฯ ได้ร่วมกับสมาชิกของชุมชนคอยดูแลสวนมะพร้าวของเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง มีการระดมกำลังในชุมชนช่วยกันตัดแต่งทางมะพร้าวที่ถูกหนอนทำลายหรือมีแนวโน้มที่หนอนจะเข้ามาอยู่อาศัยและทำลายไปเผาทำลายเพื่อตัดวงจรหนอน มีการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ให้เกษตรกรได้รู้จักกับศัตรูมะพร้าวและวิธีการป้องกันกำจัดที่ถูกต้อง พร้อมจัดกิจกรรมฐานเรียนรู้ในการกำจัดแมลงศัตรูพืชในรูปแบบต่างๆ อย่างเข้าใจโดยง่ายในชุมชน โดยมีการรณรงค์การเลี้ยงและปล่อยแตนเบียนบราคอน ในแปลง
นครราชสีมา – ว่าที่พันตรีณรงค์ชัย ค่ายใส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช (ศทอ.) เผยว่า ศูนย์มีบทบาทหน้าที่ในการศึกษาทดสอบ ประยุกต์และพัฒนาการใช้เทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืช แบบผสมผสานให้เหมาะสมกับพื้นที่ ขณะนี้ศูนย์สามารถผลิตขยายศัตรูธรรมชาติได้ทั้งตัวห้ำ เช่น มวนพิฆาต แมลงหางหนีบ แมลงช้างปีกใส มีส่วนผสมสมุนไพรควบคุมศัตรูพืช เช่น สะเดา ตะไคร้หอม หางไหล หนองตายหายาก ที่ผ่านมาประสบปัญหาด้านงบประมาณในการผลิตแตนเบียนที่มีน้อยและมีห้องผลิตที่จำกัด จึงมีแนวคิดว่าจะทำอย่างไรให้เกษตรกรสามารถผลิตแตนเบียนเอง เพื่อควบคุมศัตรูพืชในพื้นที่โดยไม่ต้องลงทุนสูง แทนการรอแตนเบียนที่ผลิตจากศูนย์ส่งเสริมฯ พยายามทดลองและหาวิธีการที่ง่ายให้เกษตรกรทำได้เองในพื้นที่ เกิดความรู้ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมระหว่างเจ้าหน้าที่กับเกษตรกรในพื้นที่ด้วย จึงนำเทคนิคที่ได้นี้ไปใช้จริงในพื้นที่ที่ประสบปัญหา ปัจจุบัน หนอนหัวดำมะพร้าวระบาดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างหลายจังหวัด หากไม่รีบดำเนินการป้องกันกำจัดต้นมะพร้าวจะเกิดความเสียหายกระจายวงกว้างออกไปมาก หากปลูกใหม่ต้องใช้เวลา 3-4 ปีจึงจะเ
ปัญหาหนอนหัวดำ แมลงดำหนาม ด้วงแรด ด้วงงวง ล้วนแล้วแต่เป็นแมลงศัตรูมะพร้าวที่เกษตรกรชาวสวนมะพร้าวไม่ต้องการให้เกิดขึ้นทั้งในสวนของตนเองและสวนของเพื่อนบ้าน เพราะเมื่อพบแล้ว ปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูพืชเหล่านี้จะแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว หากไม่มีการควบคุมหรือกำจัดที่ดีพอ คุณวิชาญ บำรุงยา เกษตรกรชาวสวนมะพร้าวในพื้นที่ ตำบลโป่ง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ผู้ที่เคยได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นประจำปี 2558 ในสาขาอาชีพทำสวน และเราให้คำจำกัดความเขาว่า “ปราชญ์ชาวบ้าน” ในมุมของเกษตรกรทำสวนมะพร้าว มุมมองของคุณวิชาญ คือ การแก้ปัญหาแมลงศัตรูพืชทุกอย่างด้วยการงดใช้สารเคมี หรือใช้สารเคมีให้น้อยที่สุดในกรณีที่จำเป็น เพื่อไม่ให้เกิดการตกค้างไปถึงผู้บริโภค แม้สารเคมีบางชนิดที่ได้รับการประเมินปริมาณในการใช้แล้วว่า ไม่ตกค้างจนก่อให้เกิดโทษต่อผู้บริโภคก็ตาม “หนอนหัวดำและแมลงดำหนาม เป็นแมลงศัตรูพืชที่ในอดีตไม่เคยมี เกษตรกรของไทยไม่เคยประสบ กระทั่งปีที่เกิดการระบาดในภาคใต้ และไม่นานก็แพร่ระบาดมาถึงภูมิภาค อื่นๆ การแก้ปัญหาที่ภาครัฐแนะนำขณะนั้น คือ การใช้สารเคมีกำจัด เพราะต้องการให้การแพร่ระบาดหมดไปโดยเร็ว อีกทั้งเป
ครม.อนุมัติการปรับแผนโครงการป้องกันและกำจัดศัตรูมะพร้าวหรือหนอนหัวดำ ชี้ ใช้งบเดิมคือ 287 ล้านบาท เมื่อเวลา 14.40 น. วันที่ 13 มิถุนายน ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม. อนุมัติการปรับแผนโครงการป้องกันและกำจัดศัตรูมะพร้าวหรือหนอนหัวดำด้วยวิธีผสมผสานที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอมา จากเดิมกระทรวงเกษตรฯ ได้รับการอนุมัติจาก ครม.ให้ดำเนิน 3 วิธี คือการผลิตแตนเบียนออกมาเป็นวิธีทางธรรมชาติ ใช้สารเคมีฉีดพ่นทางเบา และการฉีดการเคมีเข้าที่ลำต้นของต้นมะพร้าว แต่อากาศที่ร้อนและมีฝนตกทำให้หนอนหัวดำมีการแพร่ระบาดมากขึ้นจาก 7 หมื่นกว่าไร่เพิ่มเป็น 2 แสนกว่าไร่ ดังนั้นจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการกำจัดบางส่วนเพื่อให้สอดรับการกระจายหนอนหัวดำที่มีมากขึ้น พล.ท. สรรเสริญ กล่าวต่อว่า ให้หน่วยงานส่วนกลางเป็นคนผลิตพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์เช่นเดิม แต่แตนเบียนที่พร้อมปล่อยสู่ธรรมชาติให้ผลิตในศูนย์ชุมชนที่กระจายในพื้นที่ต่างๆ ที่มีการแพร่ระบาด จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขนลง และจะนำส่วนต่างที่ได้มาเพิ่มในการใช้สารเคมีฉีดพ่นที่ใบและลำต้น ซึ
ชาวสวนมะพร้าวแถบธนบุรี เลยไปถึงกระทุ่มแบน อัมพวา แม่กลอง สมุทรสงคราม ต่างมีศัตรูร่วมกันมายาวนานนับเป็นศตวรรษก็ว่าได้ คือเจ้ากระรอกหางฟู ที่คนเมืองชมว่าน่ารักๆ นั่นแหละครับ รศ. สมใจ นิ่มเล็ก สถาปนิกผู้มีอดีตเป็นเด็กบ้านสวนฝั่งธนฯ เคยเขียนเล่าไว้ในวารสารเมืองโบราณว่า กระรอกสวนนั้น “…อาหารที่มันชอบคือ มะพร้าวห้าว เท่านั้น กินทั้งเช้าและเย็น มื้อเช้าจะเริ่มกัดเปลือกตั้งแต่เช้ามืด ประมาณ 5 นาฬิกา พอสว่างกะลาก็จะทะลุ พอที่จะสอดหัวและตัวเข้าไปแทะเนื้อมะพร้าวได้ เวลา 7-8 นาฬิกา ก็จะอิ่ม จากนั้นจะนอนผึ่งแดดตามทางมะพร้าว ธรรมชาติของกระรอกไม่กินอาหารซ้ำ…ตอนบ่ายแก่ๆ ก็จะออกมากัดและแทะมะพร้าวกินอีกลูกหนึ่งสำหรับมื้อเย็น จะอิ่มก็ประมาณ 18-19 นาฬิกา ดังนั้น ใน 1 วัน กระรอก 1 ตัวจะกินมะพร้าว 2 ลูก เป็นประจำ…” แต่ปัจจุบัน กระรอก ไม่ใช่ศัตรูตัวร้าย หมายเลข 1 อีกต่อไป ชาวสวนต้องรับมือกับมฤตยูรายใหม่ นั่นก็คือ “หนอนหัวดำ” (coconut black-headed caterpillar) ตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่ง ที่ติดมาในรูปของดักแด้จากการนำเข้ามะพร้าวและปาล์มพันธุ์ประดับจากอินเดียและอินโดนีเซีย เนื่องจากการน
เพลี้ยแป้งสีชมพู เป็นแมลงศัตรูตัวฉกาจของมันสำปะหลัง ในปัจจุบันเรามีศูนย์เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์แตนเบียน ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เพื่อนำแตนเบียนไปกำจัดเพลี้ยแป้งสีชมพู ศูนย์เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์แตนเบียน จะเลี้ยงและขยายพันธุ์แตนเบียนโดยใช้ผลฟักทอง นำยอดมันสำปะหลังที่มีเพลี้ยแป้งสีชมพูมาวาง นำฟักทองวางซ้อนยอดมันสำปะหลัง ประมาณ 3-7 วัน เพลี้ยแป้งสีชมพูจะย้ายไปอยู่บนผลฟักทอง นำฟักทองที่มีเพลี้ยแป้งสีชมพูใส่ในกรงที่มีตาข่ายเนื้อละเอียด รอให้แตนเบียนวางไข่และเจริญเติบโตในตัวเพลี้ยแป้ง ใช้เวลาประมาณ 15-21 วัน เมื่อครบกำหนด แตนเบียนจะเจาะผนังลำตัวเพลี้ยแป้งออกมาภายใน แล้วใช้เครื่องดูดจับแตนเบียน บรรจุใส่ภาชนะ นำไปแจกจ่ายให้กับเกษตรกร วิธีนี้จะสามารถขยายพันธุ์แตนเบียนได้ประมาณ 30 เท่า การเก็บแตนเบียน ทาน้ำผึ้งไว้ภายในขวด สำหรับเป็นอาหารตุนไว้ให้กับแตนเบียน จากนั้นใช้อุปกรณ์ดูดแตนเบียนใส่ขวด จำนวน 100 คู่ เลือกดูดตัวผู้ 100 ตัว ตัวเมีย 100 ตัว แม้ว่าตัวผู้จะสามารถผสมพันธุ์ตัวเมียได้อัตรา 1:3 ก็ตาม เกษตรกรสามารถติดต่อขอรับแตนเบียนได้ฟรี ที่สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง โทรศัพท์ 088-3418327 , 081-92503