แบนสารเคมี
เมื่อวันที่ 19 พ.ย. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ คำสั่งกรมวิชาการเกษตร ที่ 1511/2562 เมื่อวันที่ 18 พ.ย.ที่ผ่านมา เรื่อง การดำเนินการกับวัตถุอันตราย ชนิดที่ 4 ที่กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 ซึ่งอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ออกคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 วัตถุอันตรายตามคำสั่งนี้ หมายความว่า วัตถุอันตรายไกลโฟเซต ไกลโฟเซต -เซสควิโซเดียม ไกลโฟเซต – โซเดียม ไกลโฟเซต – ไดแอมโมเนียม ไกลโฟเซต – ไตรมีเซียมไกลโฟเซต -โพแทสเซียม ไกลโฟเซต – โมโนเอทิลแอมโมเนียม ไกลโฟเซต – โมโนแอมโมเนียม ไกลโฟเซต-ไอโซโพรพิลแอมโมเนียมคลอร์ไพริฟอส คลอร์ไพริฟอส – เมทิล พาราควอต พาราควอตไดคลอไรด์และพาราควอตไดคลอไรด์ [บิส (เมทิลซัลเฟต)] ที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ออกตามความในมาตรา 18 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ข้อ 2 ให้วัตถุอันตราย ตามข้อ 1 ที่อยู่ใน
นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ สำรวจสหกรณ์การเกษตรว่าต้องการให้มีการช่วยเหลืออย่างไรหลังมีการแบน 3 สารเคมี เพื่อจะได้นำมาเป็นชุดช่วยเหลือเกษตรกรสำหรับการผลิตสินค้าเกษตร ซึ่งเบื้องต้น กรมส่งเสริมสหกรณ์ รายงานว่า เตรียมผลักดันให้สหกรณ์จัดหาเครื่องจักรกลทางการเกษตรเพื่อให้บริการสมาชิกในราคาถูก ซึ่งจะทำรายละเอียดเพื่อเสนอรัฐมนตรีช่วยว่าการเกษตรและสหกรณ์ พิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรี “ขณะนี้กรมส่งเสริมสหกรณ์อยู่ระหว่างพิจารณารายละเอียด เดี๋ยวดิฉันจะเร่งดู แล้วเสนอรัฐมนตรีช่วยว่าการเกษตรและสหกรณ์ทันที ว่าจะใช้งบจากไหน เท่าไร โดยยอมรับว่าการเลิกใช้ 3 สาร เกษตรกรอาจมองว่าเป็นเรื่องยาก แต่สามารถทำได้และจะต้องเริ่มทำเพื่อความปลอดภัยของเกษตรกรและผู้บริโภคและลดการป่วยของคนไทย” นางสาวมนัญญา กล่าว นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า ก่อนหน้าที่จะมีการลงมติแบน 3 สารเคมี 1 เดือน ได้ให้ทีมเจ้าหน้าที่ กสส. ลงสอบถามสหกรณ์ถึงความต้องการของสมาชิกสหกรณ์ หากมีการแบน 3 สาร ซึ่งต้องเตรียมล่วงหน้า ไม่ว่าผลการพิจารณาของคณะกรรมการวัตถุอันตราย