แปรรูปข้าว
คุณจิรณี พิมผุย หรือ พี่ณี ประธานวิสาหกิจชุมชนข้าวอินทรีย์บ้านวิทย์ ตำบลลมศักดิ์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ นี้เกิดจากการรวมกลุ่มจากการมีนโยบายภาครัฐ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมตัวกันไม่น้อยกว่า 30 คน ในพื้นที่เกือบ 300 ไร่ โดยได้รับความร่วมมือจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในพื้นที่หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 9 ในพื้นที่ เพื่อเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ และจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนภายใต้ชื่อ “วิสาหกิจชุมชนข้าวอินทรีย์บ้านวิทย์” พื้นที่ทั้งหมด 740 ไร่ มีสมาชิกทั้งหมด 60 ราย โดยแบ่งการปลูกข้าวแบบอินทรีย์ จำนวน 9 ราย จำนวน 160 ไร่ และกำลังปรับเปลี่ยนเข้าสู่กระบวนการปลูกข้าวอินทรีย์ จำนวน 41 ราย ในพื้นที่ 580 ไร่ ต่อมาในปี 2564 ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐตามโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด จำนวน 2,880,000 บาท ในช่วงต้นของการลงมือทำ ต้องประสบกับปัญหาจากกลุ่มคณะกรรมการที่ส่วนใหญ่ล้วนแต่ประกอบอาชีพเกษตรปลูกข้าวเป็นหลัก ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงมือทำด้านธุรกิจเกษตร เพราะเนื่องจากนโยบายภาครัฐ จำเป็นต้องมีห้างหุ้นส่วนเข้ามาเก
คุณกอบแก้ว ระวิเรือง ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมอาชีพบ้านเหม้า ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด นำใบข้าว-ข้าวหอมมะลิ มาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า โดยใช้ชื่อแบรนด์ “ไทยสุวรรณ” ปัจจุบัน มีสมาชิก 83 ราย มีพื้นที่เพาะปลูก 1,200 ไร่ ซึ่งล่าสุดได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ในการประกวดผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากข้าวด้วยนวัตกรรม จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นและกระทรวงเกษตรฯ ในงานวันเกษตรภาคอีสาน ปี 2562 ขณะที่ก่อนหน้านี้ เมื่อปี 2559 ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดผลิตภัณฑ์จากข้าวหอมมะลิ (นวัตกรรมใหม่) ในงานเทศกาลข้าวหอมมะลิโลก ครั้งที่ 17 ที่ จังหวัดร้อยเอ็ด ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มมีหลากหลาย อาทิ เครื่องดื่มใบข้าวหอมมะลิ 105 เครื่องดื่มใบข้าวหอมมะลิ 105 ผสมสมุนไพร แบ่งเป็นเครื่องดื่มใบข้าวหอมมะลิ 105 และดอกพะยอมอบแห้ง, เครื่องดื่มใบข้าวหอมมะลิ 105 และดอกดาวเรืองอบแห้ง รวมทั้งเครื่องดื่มใบข้าวหอมมะลิ 105 และมะนาวอบแห้ง ครีมผงข้าวหอมมะลิธรรมชาติ ใช้เป็นครีมชงกับเครื่องดื่มแทนครีมเทียมที่คนรักสุขภาพต้องการหลีกเลี่ยง เครื่องดื่มจมูกข้าวข้าวหอมมะลิ คุณกอบแก้ว เล่าว่า กลุ่มก่อตั้งเมื่อ ปี 2555 แรงบันดา
ฉบับนี้ ผู้เขียนจะพาท่านผู้อ่านมาพบกับเกษตรกรที่มีความสุขที่สุด จนเกิดเป็นแรงบันดาลใจนำมาตั้งเป็นชื่อสวนซะเลย สวนนี้มีชื่อว่า สวนสองแสน ซึ่งไม่ได้หมายความว่าทำแล้วได้เงินมากมายเดือนละเป็นแสน ที่แสนที่ว่านี้ เมื่อแยกออกมาเป็นคำจะได้ 1. “สวน” หมายถึง พื้นที่อยู่อาศัยรวมไปถึงพื้นที่การทำเกษตรต่างๆ 2. “สอง” หมายถึง สองเรา เพราะเจ้าของสวนตั้งใจเริ่มต้นสร้างครอบครัวกับภรรยาสองคน 3. “แสน” คือ แสนสนุกและแสนสบาย ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ทุกคนควรมี แต่ทำไมช่างหายากเหลือเกิน คุณสมพร เรืองเดช เกษตรกรรวยความสุข อยู่บ้านเลขที่ 41 หมู่ที่ 4 ตำบลทัพไทย อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว เล่าว่า เมื่อก่อนทำงานเป็นพนักงานคุมเครื่องจักรอยู่ที่โรงงานชื่อดังแห่งหนึ่ง ซึ่งมองว่าการทำงานโรงงานสามารถเลี้ยงได้แค่ตนเอง ไม่สามารถเลี้ยงคนในครอบครัวได้ และหากมองไปในระยะยาว เมื่ออายุมากขึ้นก็ต้องถูกเลิกจ้างงานเป็นธรรมดา แล้วหลังจากนั้น ก็จะไม่เหลืออะไรเลย จึงเริ่มคิดและตัดสินใจลาออกจากงานก่อนที่ทุกอย่างจะสาย ตอนยังมีกำลังแข็งแรงอยู่จึงออกจากงานกลับบ้านเพื่อมาเป็นเกษตรกร เพราะมีความคิดที่ว่าอย่างน้อยอาชีพเกษตรอาจไม่ได้ทำให้ร่ำรวย
นางจันทิรา ยิมเรวัต วิวัฒน์รัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้รับรายงานจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงสิงคโปร์ ถึงการวิเคราะห์ทิศทางและโอกาสสินค้าขนมขบเคี้ยวของไทยในตลาดสิงคโปร์ โดยพบว่าปัจจุบันการบริโภคขนมขบเคี้ยวที่ผลิตโดยใช้รูปแบบเดิม เช่น การใช้เกลือ น้ำตาล และไขมัน เป็นส่วนผสม เริ่มได้รับความนิยมลดลง เพราะกลุ่มผู้บริโภคได้หันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพเพิ่มมากขึ้น จึงลดการบริโภคสินค้าในกลุ่มนี้ลง แต่หากเป็นขนมขบเคี้ยวที่ดีต่อสุขภาพและได้รับเครื่องหมาย Healthier Choice หรือ Healthier Snack จะเริ่มได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากขึ้น “ได้มีการสำรวจ โดย Euromonitor พบว่า ปริมาณและมูลค่าของสินค้าขนมขบเคี้ยวที่ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่มถั่ว สแน็กหรือแครกเกอร์สแน็ก ที่ทำจากข้าว จะมีโอกาสขยายตัวได้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคในสิงคโปร์ เริ่มหันมาบริโภคสแน็กแทนการรับประทานอาหารมื้อหลัก ทำให้ขนมขบเคี้ยวกลุ่มสุขภาพได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น จึงเป็นโอกาสของผู้ผลิตสินค้าในกลุ่มนี้ของไทย ที่จะวางแผนในการขยายตลาดเข้าสู่ตลาด
บริษัทฟรีไลฟ์ดันแบรนด์ “ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้” ข้าวพื้นเมือง GI จังหวัดสระบุรี รุกตลาดสุขภาพ ชูข้าวเป็นยา น้ำตาลต่ำกินอร่อย ผู้จัดการฝ่ายการตลาดเผยกำลังการผลิตปีละ 500 ตัน ไม่พอความต้องการ ตลาดตะวันออกกลาง แอฟริกา นิยมสูง พร้อมแตกไลน์ผลิตภัณฑ์แปรรูป ข้าวต้ม โจ๊ก แป้งข้าวเจ้า เข้าโมเดิร์นเทรด-ส่งออก โกยรายได้ปีละ 30 ล้านบาท ชี้ปลูกข้าวเจ๊กเชยโอกาสอยู่รอดชาวนา ตั้งเป้าโตปีละ 10% น.ส.วันเพ็ญ อุ่นจันทร์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ฟรีไลฟ์ ดีไซน์ จำกัด ให้สัมภาษณ์ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ตนเคยเป็นมนุษย์เงินเดือน ตำแหน่งผู้จัดการต่างประเทศ ฝ่ายการตลาดบริษัทประเทศไต้หวันแห่งหนึ่ง กระทั่งล้มป่วย จึงกลับบ้านที่จังหวัดสระบุรี หันมาลงทุนทำธุรกิจขายข้าว เนื่องจากมีครอบครัวเป็นเกษตรกร แต่ในอดีตจะปลูกข้าวอายุสั้นทั่วไป ผลผลิตออกมาขายได้ราคาต่ำ ผลที่ตามมาคือทุกคนเป็นหนี้ ทำให้กลับมามองข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิม ที่สูญหายไปจากตลาด 20 ปีแล้ว มองว่าจะเป็นโอกาสของชาวนา เนื่องจากเป็นข้าวที่ปลูกเฉพาะถิ่น และได้รับ GI (Geographic Indication) หรือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จากกรมทรัพย์สินทา
“อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ” เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งเป็นแหล่งปลูก “ข้าวหอมมะลิ 105” ข้าวหอมพันธุ์ดี รสชาติอร่อยที่สุดของโลก ในอดีต ชาวนาทุ่งกุลาร้องไห้ นิยมปลูกข้าวนาหว่าน โดยใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีในแปลงนาเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการบริหารจัดการ ทำให้ความหอมของข้าวหอมมะลิลดลง แถมมีต้นทุนการผลิตสูง เมื่อเจอปัญหาราคาข้าวตกต่ำ ชาวนาประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก มีภาระหนี้สินรุงรัง แทบไม่เหลือเงินทุนสำหรับใช้ลงทุนทำนาในฤดูถัดไป กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนอุ่มแสง เพื่อหลีกหนีวิถีชีวิตแบบเดิมๆ ที่มีแต่หนี้กับหนี้ เมื่อปี 2547 กลุ่มชาวนาในชุมชนบ้านอุ่มแสง ตำบลดู่ อำเภอราษีไศล ภายใต้การนำของ คุณบุญมี สุระโคตร โทร. (063) 750-5553 ได้รวมตัวกันจัดตั้ง “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนอุ่มแสง (กลุ่มเกษตรทิพย์)” เพื่อผลิตข้าวอินทรีย์มาตรฐานสากล โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกคนในชุมชน มุ่งลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตและเพิ่มคุณภาพผลผลิต โดยนำเครื่องจักรกลการเกษตรที่ทันสมัย และเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในกระบวนการแปรรูปผลผลิตเพื่อผลิตมูลค่า ปัจจุบันกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแห่งนี้ เป็นกลุ่มผ
เมื่อวันที่ 24 เมษายน ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดสัมมนาเสนอผลงานวิจัยข้าวภายใต้แผนงานวิจัยมุ่งเป้าตอบสนองความต้องการพัฒนาประเทศ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ โดยมีพลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการสัมมนา ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่า ปัจจุบันไทยสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับคู่แข่งอย่างเวียดนาม เนื่องจากคุณภาพของข้าวของไทยลดลง จนทำให้ประเทศคู่แข่งพัฒนาข้าวให้มีคุณภาพใกล้เคียงเรา ประกอบกับค่าแรงงานของเขาถูกกว่า นอกจากนี้เรายังไม่มีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ “งานวิจัย” คือ ทางออกของข้าวไทยภายใต้ความท้าทาย Thailand 4.0 ที่จะช่วยให้ประเทศไทยพัฒนาอย่างรวดเร็วและยั่งยืน ผ่านการคิดค้นเทคโนโลยีที่จะให้เกษตรกรทำการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพตอบสนองความต้องการของตลาด ตลอดจนการค้นคว้านวัตกรรมใหม่ ๆ ช่วยแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ด้วยเหตุนี้ เครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) ประกอบด้วย วช. สกว. สวก. สวรส. สวทช. สวทน . และ สกอ. จึงร่วมมือกันผลักดันและขับเคลื่อนให้ข้าวไทยสามารถแข่งขันและยั่งยืนได