แปรรูปสับปะรด
ในช่วงที่สถานการณ์โลกไม่แน่นอน ทั้งสงครามและโรคระบาด ทุกอาชีพที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด ในครั้งนี้ขอพูดถึงอาชีพเกษตร ที่ได้รับผลกระทบทั้งในด้านปัจจัยค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าอาหารสัตว์ ที่ต่างพร้อมใจกันขึ้นราคา สวนทางกับรายได้ที่ต่ำลง เพราะราคาพืชผลทางการเกษตรที่ตกต่ำ มองไม่เห็นทุน ไม่เห็นกำไร ทางออกเบื้องต้นที่พอจะทำให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้ ก็คงจะหนีไปพ้นการทำเกษตรสมัยใหม่ หันมาปลูกพืชผสมผสานให้มากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยง รวมถึงการลด ละ เลิก การใช้สารเคมี แล้วมาพึ่งธรรมชาติให้มากขึ้น และที่ขาดไม่ได้เลยคือปรับปรุงต่อยอดการตลาด เพิ่มช่องทางการขายสินค้าจากที่เคยขายผ่านพ่อค้าคนกลางเพียงอย่างเดียว ก็อาจจะต้องปรับมาขายในช่องทางออนไลน์และขายหน้าร้านเองมากขึ้น หรือการแปรรูปก็นับเป็นทางออกที่ช่วยให้เกษตรกรหลายรายเอาตัวรอดและได้ดิบได้ดีกับวิธีการนี้ กลายเป็นเกษตรกรที่ไม่มีหนี้ เป็นเกษตรกรที่มีความสุข เพราะไม่ต้องกังวลกับปัญหาสินค้าล้นตลาดหรือสินค้าราคาตกต่ำอีกต่อไป คุณจณิกาญจน์ รัชภูมิพิพัฒน์ หรือ พี่อ้อ เจ้าของไร่บ้านอ้อ ตั้งอยู่เลขที่ 39/2 หมู่ที่ 2 ซอยเขาระฆัง ตำบลตาสิทธิ์ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง อด
ดร.เดือนรุ่ง เบญจมาศ ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จันทบุรี ให้ข้อมูลว่า คอมบูชา (KOMBUCHA) คือ น้ำหมักจากชาดำหรือชาเขียว กับหัวเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งมีแบคทีเรียชนิดดีและยีสต์ดี มีมาตั้งแต่ราวๆ 2,000 ปี ในกลุ่มผู้รักสุขภาพ ในประเทศจีนและแพร่มาญี่ปุ่น บางคนจึงออกเสียง “คอมบูชะ” ตามภาษาญี่ปุ่น และยังเป็นที่นิยม แถบรัสเซีย ยุโรป อเมริกา มีประโยชน์ ช่วยปรับสมดุลลำไส้ เสริมภูมิคุ้มกัน มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยลดน้ำหนัก ดีต่อสุขภาพ ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ และอาจช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ แต่ทางการตลาดฟังดูชื่อยังไม่คุ้นหูและยังไม่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายมากนัก เปิดตัว ชาหมัก คอมบูชะ แบรนด์ “อนันตดา” ดร.เดือนรุ่ง เล่าถึงที่มาของคอมบูชะ แบรนด์ “อนันตดา” ที่จังหวัดตราดว่า เริ่มจากสำนักงานเกษตรจังหวัดตราด โดย คุณชยุทกฤดิ นนทแก้ว เกษตรจังหวัดตราดและนายกสมาคมคนเลี้ยงผึ้งภาคตะวันออก (Eastern Beekeepers Ass0ciation) ต้องการให้มีงานวิจัยส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ดีๆ มีคุณค่าของจังหวัดตราด เช่น สับปะรดตราดสีทองที่ได้รับการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศา
ฉบับก่อนหน้านี้ ผมได้เขียนถึงแนวทางพัฒนาสับปะรดของภาคตะวันออก ที่มีข้อสรุปว่าให้เกษตรกร/กลุ่มวิสาหกิจชุมชนไปพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสับปะรดขึ้นมา เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม หวังเป็นทางแก้ปัญหาผลผลิตที่ออกมามากและ/หรือเป็นอีกทางเลือกของอาชีพแบบคู่ขนานกันไป ต่อมาได้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการที่ให้แนวคิดและลงมือฝึกปฏิบัติจริง เพื่อเพิ่มทักษะ/ประสบการณ์โดยตรงกับกูรูผู้แปรรูปสับปะรดมือระดับประเทศ คุณป้าละออ สุวรรณสว่าง ประธานกลุ่มผลไม้แปรรูปบ้านหนองละลอก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง ซึ่งได้ถ่ายทอดวิธีการและเทคนิคการทำสับปะรดกวนกะทิ อีกสินค้า signature ของระยอง ให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรมอย่างละเอียด โดยใช้สถานที่ เครื่องมืออุปกรณ์ และวัตถุดิบของกลุ่มดำเนินการ งานนี้มีสูตรและเคล็ดลับการผลิตมาฝากทุกท่าน เอาไปต่อยอดสร้างอาชีพกันได้แน่นอนครับ ขอเริ่มที่ความเป็นมาของงานนี้ว่า เป็นโครงการ : การสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์จากสับปะรดเพื่อเศรษฐกิจชุมชน จัดโดยสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง กิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ จัดขึ้น 3
คุณภานุวัฒน์ แสงรัตน์ หรือ พี่โหน่ง เจ้าของสวนวรัญญา ที่อยู่ 218 บ้านหม้อ หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านหม้อ อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย เกษตรกรผู้ปลูกและแปรรูปสับปะรดปัตตาเวียออกมาหลากหลายผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ ลดปัญหาราคาสินค้าตกต่ำ และเพื่อแก้ปัญหาสินค้าตกไซซ์ขายไม่ได้ราคานำมาแปรรูปสร้างมูลค่า พี่โหน่งเล่าถึงความเป็นมาของการปลูกและแปรรูปสับปะรดว่า ก่อนที่จะมาเป็นเกษตรกร ตนเองทำงานเป็นพนักงานประจำมาก่อน แล้วได้ลาออกจากงานหันมาเริ่มต้นเป็นเกษตรกรปลูกสับปะรดในปี 58 เนื่องจากในขณะนั้นผู้คนส่วนใหญ่หันไปให้ความสนใจกับการปลูกพืชกระแสมาแรงอย่างยางพารากันเป็นจำนวนมาก ทำให้พื้นที่ปลูกสับปะรดในอำเภอลดน้อยลง จึงคิดว่าสับปะรดน่าจะเป็นพืชทางเลือกที่ดีให้ตนเองในขณะนั้น ด้วยความโดดเด่นของสับปะรดบ้านหม้อ จะมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวหาที่อื่นเทียบได้ยาก เนื่องจากมีความหวานฉ่ำพิเศษ เปลือกบาง ตาตื้น หวาน หอม ซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษของสับปะรดปัตตาเวีย ที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดหนองคาย จึงอยากคงคุณภาพตรงนี้ไว้ รวมไปถึงการมองอนาคตการตลาดข้างหน้าว่าอาจจะหยิบยกนำเอาจุดเด่นตรงนี้มาต่อยอดสร้างสร
“สับปะรด” เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดราชบุรี มีพื้นที่ปลูกสับปะรดกระจายอยู่ในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ บ้านคา สวนผึ้ง จอมบึง และปากท่อ ปัจจุบันแหล่งปลูกสับปะรด เนื้อที่ 1,014 ไร่ ในพื้นที่หมู่บ้านหนองจอก ตำบลหนองพันจันทร์ อำเภอบ้านคา ถูกคัดเลือกเป็นแปลงใหญ่ต้นแบบสับปะรดปัตตาเวียบ้านคา ที่มีลักษณะพิเศษคือ รสชาติหวานฉ่ำ ไม่กัดลิ้น มีกลิ่นหอม เนื้อสีเหลืองสวย ละเอียด หนา นิ่ม มีตาค่อนข้างตื้น ปอกง่าย รับประทานได้ทั้งแกน สับปะรด เป็นสินค้าขายดีที่นิยมบริโภคกันทั่วไป สับปะรดปัตตาเวียบ้านคา ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา และได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP เกษตรกรจึงสามารถกำหนดราคาผลสดได้เอง ทั้งนี้ สับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียส่วนใหญ่ เน้นขายผลสด และส่งเข้าโรงงานอุตสาหกรรมสับปะรด เพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สับปะรดกระป๋อง สับปะรดแช่แข็ง น้ำผลไม้ และผลไม้แปรรูปป้อนตลาดส่งออก แต่บ่อยครั้งที่มีปัญหาสินค้าล้นตลาดในฤดูผลิต ขายสินค้าในราคาถูก ทำให้เกษตรกรขาดทุนกันทั่วหน้า นอกจากนี้ การเพาะปลูก-เก็บเกี่ยวสับปะรดที่ไม่ถูกวิธี รวมทั้งผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งที่ต่อเน
เดี๋ยวนี้ สับปะรดที่ขึ้นชื่อของจังหวัดเชียงราย กลายเป็นสับปะรดภูแลไปเสียแล้ว ไม่ว่าจะไปในฤดูไหน ก็หาซื้อสับปะรดภูแลรับประทานได้ง่าย มีวางขายให้เห็นตลอดสองข้างทางในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย หรือแม้แต่ตลาดในพื้นที่อื่น ก็ยังหาซื้อได้ง่ายและพบได้ง่ายกว่าสับปะรดนางแล ซึ่งเป็นสับปะรดพันธุ์ดั้งเดิมของตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย แท้ๆ ที่ตำบลนางแล ถิ่นกำเนิดเดิมของสับปะรดนางแล ถูกเปลี่ยนพื้นที่ปลูกไปปลูกสับปะรดภูแลกันเกือบหมด เหลือเกษตรกรไม่กี่รายที่ยังคงปลูกสับปะรดนางแลไว้ คุณดวงดาว แสนโกษา เกษตรกรปลูกสับปะรดนางแล บ้านแม่ปูคา ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เป็นหนึ่งในเกษตรกรอีกหลายราย ที่ยังคงปลูกสับปะรดพันธุ์นางแลไว้ เพื่อเก็บรักษาสายพันธุ์ แม้ว่าสับปะรดพันธุ์นางแลไม่ได้รับความนิยมแล้วก็ตาม คุณดวงดาว เล่าว่า ก่อนหน้าที่สับปะรดภูแลจะเข้ามายึดพื้นที่ปลูกและตลาดค้าสับปะรดของจังหวัดเชียงรายไปเกือบหมด สับปะรดนางแล เป็นที่เลื่องชื่อของจังหวัดเชียงรายมาก หากจะรับประทานสับปะรดนางแล ต้องมาที่จังหวัดเชียงรายเท่านั้น แต่ปัจจุบัน แม้จะมาถึงจังหวัดเชียงราย ก็ใช่ว่าจะได้รับประทานสับปะรด
แนะเอาอย่าง! ใยสับปะรดชุมชน แปรรูปตามเทรนด์นอก สามารถทำเงินสูงอีกเท่าตัว นางสาวบรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมอยู่ระหว่างการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการในระดับชุมชนพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพและมีมาตรฐาน ตามนโยบายของ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ได้กำหนดนโยบายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในชุมชนและการสร้างงานสร้างรายได้แก่ประชาชนในพื้นที่ โดยกลุ่มผู้ผลิตเสื้อผ้าจากใยสับปะรด ถือเป็นอีกหนึ่งต้นแบบของสินค้าท้องถิ่นที่มีการดัดแปลงจนสามารถผลักดันให้กลายเป็นสินค้าส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศ สร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผู้ผลิต และสร้างรายได้แก่ชาวสวนผู้ปลูกสับปะรด เนื่องจากผลิตภัณฑ์จากเส้นใยสับปะรดมีความหลากหลาย เช่น ผ้ารองจาน พรม กระเป๋า รองเท้า เสื้อผ้า เป็นต้น ซึ่งคุณสมบัติที่โดดเด่นของใยสับปะรด คือความเหนียว ทนทาน สามารถนำมาผลิตเป็นสินค้าคุณภาพดี อีกทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นางสาวบรรจงจิตต์ กล่าวอีกว่า สินค้าที่ผลิตจากเส้นใยสับปะรด จะช่วยลดมลพิษของเสียจากวัตถุดิบเหลือทิ้งทางการเกษตร ซึ่งเป็นเทรนด์ที่ทั่วโลกกำลังตื่นตัวแล