แปลกที่ชื่อ แต่ฉันคือต้นไม้
ชื่อวิทยศาสตร์ Broussonetie kurreii corner.a ชื่อวงศ์ MORACEAE ชื่ออื่นๆ สาแล (ภาคเหนือ) แกแล (ปราจีนบุรี) ชะแก (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี) แทแหล (ชลบุรี) ชง (สุราษฎร์ธานี) คันชง ชงแดง (ปัตตานี) ข่อยย่าน (สงขลา) หนูตัดสินใจไม่ถูกที่จะบอกว่าหนูเป็นสาวภาคเหนือ ภาคกลาง หรือภาคใต้ เพราะญาติพี่น้องของหนูอยู่กันมากในแถบจังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ แล้วถูกรวบรวมเป็นแหล่งรับซื้อ นำไปขายได้ราคาดีที่เชียงใหม่ ใครๆ ก็ชอบหนู จึงคิดว่าหนูเป็นสาวจาวเหนือ แต่ไม่รู้ว่าจะเป็นสาวเหนือตอนล่างหรือสาวภาคกลางตอนบนดี ส่วนทางใต้ที่สุราษฎร์ธานี สงขลา ปัตตานี ก็มีคนรู้จักรักชอบหนูนะจ๊ะ ที่หนูเอ่ยว่าจะเป็นสาวเหนือก็เพราะหนูถูกนำไปขายในตลาดเชียงใหม่มาก แต่จริงๆ แล้วหนูอยากขึ้นไปมีชื่อที่ “ดอยแม่สลอง” จังหวัดเชียงราย ให้มันเหนือสุดไปเลย เผื่อจะได้ไป “แลหมอกให้สะใจ” อ้อ..! แล้วจะ “ชวนใคร” ไปแลดีน๊า? จะได้ไปเที่ยวไร่ชา สุสานนายพล พระบรมธาตุเจดีย์ศรีนครินทราสถิตมหาสันติคีรี ถนนซากุระ ไปยืนชมพระอาทิตย์ตกจากดอย แต่ที่แน่ที่สุดหนูจะต้องไปให้ถึง “พระตำหนักดอยตุง และสวนแม่ฟ้าหลวง” ซึ่งถือว่าหนูมาถึงดอยแม่สลองแล้ว และถ้าหน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ageratum conyzoides L. ชื่อสามัญ Goat weed / Tropic ageratum ชื่ออังกฤษ Billygoat-weed, Chick weed. ชื่อวงศ์ ASTERACEAE / COMPOSITAE ชื่ออื่นๆ หญ้าสาบแฮ้ง (เชียงใหม่) หญ้าสาบแร้ง (ราชบุรี) เทียมแม่ฮาง (เลย) ตับเสือเล็ก (สิงห์บุรี) หญ้าสาบแล้ง เซ้งอั่งโซว (จีนแต้จิ๋ว) เซิ่งหงจี้ (จีนกลาง) ข้ากลุ้มใจกับชื่อของข้ามาก ฟังดูแล้วไม่มีอะไรดีเลย แปลกที่ชื่อ แล้วยังทำน้ำเสียง “น่ารังเกียจ” อีกต่างหาก ที่สำคัญกว่านั้นคนไม่รู้จักจริง ยังเขียนชื่อของข้าผิดอีก โดยใช้ตัวสะกด “บ.ใบไม้หางยาว” เขียนเป็น “สาปแร้งสาปกา” กลายเป็นคนละเรื่องความหมาย เป็นเรื่องของอาถรรพ์ พ่อมด หมอผี สาปส่งวิญญาณไปซะนี่ จริงๆ เขียนผิดก็ดีเหมือนกัน จะได้เอ่ยเป็นคำพ้องเสียง ที่ไม่เกี่ยวกับ “กลิ่นสาบ” จะไปสาปส่ง สาปสางที่ไหนก็เชิญ…! อย่าเพิ่งตกใจนะ อย่าหาว่าข้า “เก็บกด” มาจากไหนจึงก้าวร้าว ท้าตีท้าต่อย ความจริงแล้วข้าก็ชอบอยู่ ทั้งแร้งทั้งกา เพราะมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมานานโบราณกาล โดยเฉพาะสุภาษิตประจำตัวกา ที่สอนกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ ย่า “จงเอาเยี่ยงกา แต่อย่าเอาอย่างกา” คงขัดใจกับเด็กสมัยนี้ ที่ไม่อยากตื่นเช้
ชื่อวิทยาศาสตร์ Olax psittacorum (willd) Vahl ชื่อวงศ์ OLACACEAE ชื่อสามัญ Parrot Olax ชื่ออื่นๆ กระเดาะ (สงขลา) กระทอก (ประจวบคีรีขันธ์) กระทอกม้า (ราชบุรี) กะทกรก กระดอถอก (ภาคกลาง นครราชสีมา) กระเดาะฮาญิง (มลายู นราธิวาส) เจาะเทาะ (พัทลุง สงขลา) คือขนตาช้าง (ศรีสะเกษ) กะหลันถอก (กาญจนบุรี) ควยเซียก (นครราชสีมา) ควยถอก (ชุมพร) นางจุม นางชุม (ภาคเหนือ) ลูกไข่แลน (ภาคใต้ บางแห่ง) ส้อท้อ (ทุ่งสง) เครืออีทก (ศรีสะเกษ อุดรธานี อุบลราชธานี) กระดอ (ส่วยท่าตูม สุรินทร์) อีทก อังนก ผักเยี่ยวงัว สอกทอก จี่โก่ย (มัญจาคีรี) ผักรูด (สุราษฎร์ธานี) ผมรู้สึกเขินๆ ที่จะบอกว่า ชื่อท้องถิ่นแต่ละภาคที่เขาเรียกผมนั้น จวนเจียนจะแสดงอวัยวะร่างกายของสิ่งมีชีวิตชัดเจนมากๆ เพราะบางชื่อก็ออกเสียงตรงๆ โดยไม่ต้องแปลความ เดิมทีเดียว ชื่อ “น้ำใจใคร่” นี้เป็นชื่อทางราชการ ที่อ้างอิงจากข้อมูลชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย โดย อาจารย์เต็ม สมิตินันท์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557 ใครๆ เขาก็ว่าน่าจะเป็นชื่อผู้หญิงวัย “สาวใหญ่” แต่พอเอ่ยชื่อพื้นบ้านที่ชาวบ้านเรียกขานกันประจำท้องถิ่น ก็ชัดเจนว่าเป็น “ชายฉกรรจ์” ผมเองจึงต้องยอ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Oxystelma esculentum (L.) Br. ชื่อสามัญ Rosy milkweed ชื่อวงศ์ APCYNACEAE ชื่ออื่นๆ ตะมูกปลาไหล (นครราชสีมา) ผักไหม (เชียงใหม่) สะอึก (ภาคกลาง) เครือไส้ปลาไหล (มหาสารคาม) กระเดียวเผือ (สกลนคร) กระพังโหม (ราชบัณฑิต) ต้นเดือนเมษายน 2565 นี้ ฉันมีข่าวดังผ่านสื่อคลิปวิดีโอ ไลน์ fb และทีวี กรณีสรรพคุณสมุนไพร “จมูกปลาหลด” ใช้รักษาโรคมะเร็งได้ เป็นว่าฉันดังโดยไม่ทันตั้งตัว แต่เพียงวันเดียวก็มีการออกข่าวจากศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสถาบันโรคมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ประเด็นดังกล่าวเป็นข้อมูลเท็จ คือไม่สามารถรักษาโรคมะเร็งได้ ฉันจึงค้นหาตัวเองว่าฉันคือใครกันแน่ เพราะนักวิชาการหลายท่านเขียนเรื่องราวของฉัน ระบุข้อมูลทางพฤกษศาสตร์ ทั้งชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อวงศ์ แตกต่างกันมาก แต่ชื่อท้องถิ่นก็พ้องกันหลายชื่อจนรู้สึกสับสน ก็ค้นประวัติตัวเองจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต 2554 หา “ต้นจมูกปลาหลด” พบคำตอบว่า ให้ดู “กระพังโหม” และระบุว่าเป็นไม้เถาในวงศ์ ASCLEPIADACEAE พอหารายละเอียดก็สอดคล้องกับต้นตดหมูตดหมา และเป็นวงศ์ย่อยจากวงศ์ APCYNACEAE อีกที ส่วนชื่อ
ถ้ากาจะ “ลอง” ก็คือ “ปีบ” แต่ถ้าเป็น “ปีบทอง” กาก็จะ “ลองซักคำ” ชื่อวิทยาศาสตร์ Radermachera ignea ชื่อสามัญ Tree Jasmine ชื่อวงศ์ Bignanoceae ชื่ออื่นๆ ปีบทอง สะเภา สำเภาหลาม กากี จางจืด ต้นอ้อยช้าง แคะเป๊ะ คะเจ้าเป็นสาวเหนือสุดแดนสยาม เมืองอารยธรรมล้านนา ดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ ดีใจที่เขาจัดให้คะเจ้าเป็นต้นไม้พระราชทาน ปลูกเป็นมงคลประจำจังหวัดเชียงราย ชื่อของคะเจ้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่อง กาจะลอง หรือ ไม่ลองซักคำ จึงทำให้ชื่อเรียกสับสน ระหว่าง “ต้นปีบ” กับต้น “กาซะลองคำ” คะเจ้าจึงขอชี้แจงว่า จริงๆ แล้ว ชื่อคะเจ้าที่เรียก กาซะลองคำ คืออีกชื่อ เรียกว่า “ปีบทอง” แต่ถ้าเป็น “ต้นปีบ” เฉยๆ คือ “กาซะลอง” เฉยๆ ไม่มี “คำ” นะ สรุปจำง่ายๆ ชื่อปีบคือกาซะลอง ส่วนปีบทองคือกาซะลองคำ จ๊ะ ความจริงถ้าเขาไม่เรียกให้สับสน คะเจ้าอยากให้เขาเรียกชื่ออื่นที่ง่ายๆ เช่น สะเภา ก็ดูแปลกดี แต่ไม่เอาชื่อ กากี หรือ จางจืด นะจ๊ะ เพราะความหมายน่ากลัว แต่ถ้าเรียก อ้อยช้าง ยิ่งน่ากลัวใหญ่เลย เอาเป็นว่าจะเรียกอะไรก็ช่าง แต่อยากอธิบายว่า ที่ต้องเรียกกาซะลองคำ ว่า ปีบทอง ก็เพราะมีดอกสีเหลืองทอง หรือสีส้มแสด น้อยใจอย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Oxyceros horridus (Lour.) ชื่อสามัญ Siamese randia ชื่อวงศ์ RUBIACEAE ชื่ออื่นๆ ตังขุย ตังผี ตังหยู คัดเค้าหมู คัดเค้าหนู มะกั่งผี หูชะลวง ลิเถื่อน หนามลิดเค้า “เค้า” เป็นเพื่อนกับ “ดาว” ดาวที่เค้ากล่าวถึง คือ “ดอกไข่ดาว” ขอนินทาเพื่อนสักนิดนะคะ เพราะบุคลิกภาพทางกายภาพเหมือนกัน คือได้รับคำชื่นชมว่า ดอกสวย น่ารัก แต่ทรงพุ่ม ทรงต้น น่ากลัวมาก จากหนามแหลม “เค้า” จึงรีบมาเสนอตัวว่า ความสวยที่น่ากลัว ก็มีต้น “คัดเค้า” นี่แหละ ชื่อดังเหมือนกัน แต่ความจริง “เค้า” จะเป็นที่รู้จักในวงการวรรณกรรมบทเพลงมากกว่า เพราะมีตั้งหลายเพลงที่กล่าวถึงหลายท่วงทำนอง เช่น “แม่ดอกโสนบานเช้า แม่ดอกคัดเค้าบานเย็น” แล้วก็ถูกนำไปแปลงอีกมาก แต่ประเภทที่ตำหนิ “เค้า” แรงๆ ก็มีเหมือนกัน เช่น ในบทเพลง “แสบหัวใจ” ไปเปรียบกับหญิงสาวว่า “โอ้แม่ดอกคัดเค้า น้องจะเอาคนไหนบอกมา แหม! หาว่าเค้าหลายใจไปด้ายยย นอกจากนั้น ยังให้สมญาว่าเป็น “ต้นไม้จับโจร และต้นไม้กันผี” อีกด้วย ความน่าแปลกใจเรื่องชื่อของ “คัดเค้า” ก็คือ มีชื่อไพเราะน่ารักดีๆ อยู่แล้ว ทำไมยังมีชื่อที่แปลกมากๆ อีก เช่น ตังผี มะกังผี หูชะลวง ไม่รู้ว่ามี