แปลงปลูกผัก
หากพูดถึงการปลูกผักสลัด จัดอยู่ในพืชที่เหมาะสำหรับการสร้างรายได้หลักและรายได้เสริมมากๆ เพราะตลาดมีความต้องการสูง แต่ต้องแรกมากับความพิถีพิถันในการปลูก เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกการดูแล และขั้นตอนการเพาะต้นกล้า สำหรับขั้นตอนการเพาะต้นกล้าถือเป็นด่านแรกที่มีความสำคัญมากๆ สำหรับการปลูกผักสลัดให้ประสบความสำเร็จ เพราะถ้าหากเรามีต้นกล้าที่ดี แข็งแรง ทนทานต่อโรค ซึ่งนอกจากเมล็ดพันธุ์ที่ดีแล้ว การเก็บไว้ในโรงเรือนที่สะอาดก็ถือเป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับสำคัญเช่นกัน เทคโนโลยีชาวบ้านจึงถือโอกาสนำเอาวิธีการทำโต๊ะสำหรับวางต้นกล้าที่ทำจากอิฐบล็อกง่ายๆ ทนทาน และมีต้นทุนที่ไม่สูงมาก ได้เทคนิคมาจากเพจ : สวนผักหลังบ้าน มาฝากทุกคน วิธีทำ 1. เริ่มจากการนำผ้ายางมาปูพื้นที่สำหรับทำโต๊ะ เพื่อกันวัชพืชก่อนการวางโครงสร้าง และให้ง่าย สะดวกต่อการทำงานในระยะยาว 2. จากนั้นทำขาสำหรับไว้รับน้ำหนักโต๊ะของต้นกล้า โดยใช้อิฐบล็อกก่อประสานกันเป็นรูปตัวทีแบบหงาย คือการใช้อิฐบล็อก 2 ก้อนในการประสานทำเป็นเสา ดังภาพด้านล่าง 3. หลังจากก่อเสาจากอิฐบล็อกวางในลักษณะตัวทีแบบหงายแล้ว นำมาวางทำเป็นฐานในระยะห่างระหว่างขาประมาณ 1 เมตร ความ
การปลูกผักสามารถปลูกได้หลากหลายรูปแบบทั้งการปลูกลงดิน ปลูกใส่ภาชนะ หรือยกแปลงปลูกในกระบะก็สามารถทำได้ตามความสะดวกของแต่ละพื้นที่ซึ่งมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน สำหรับท่านใดที่สนใจการปลูกผักยกแปลง การทำแปลงปลูกให้แข็งแรง ทนทานถือเป็นปัจจัยสำคัญเพราะถ้าหากแปลงปลูกหรือกระบะปลูกผักไม่ดีนั้น จะส่งผลเสียในหลายด้าน ทั้งในด้านของต้นทุน หากใช้วัสดุที่ไม่ทนทาน ต้องเปลี่ยนบ่อย ซ่อมบ่อย ถือเป็นการเพิ่มต้นทุน รวมถึงทำให้ผลผลิตเสียหาย เนื่องจากแปลงหรือวัสดุที่เลือกใช้ระบายน้ำได้ไม่ดีเท่าที่ควร นับเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับพืชโดยตรง แล้วกระบะปลูกที่คงทนทำครั้งเดียวสามารถใช้ได้นานเป็น 10-20 ปี มีเทคนิควิธีการทำอย่างไร วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านมีคำตอบ โดยวิธีการทำแปลงผักต่อไปนี้ เป็นเทคนิคของพี่แอน เจ้าของฟาร์มเกษตรสุข ณ. ทุ่งเขาเขียว ที่ได้เผยแพร่เป็นไอเดียเอาไว้ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ เสาปูนอัดแรงหน้า 2 ใช้ขนาดความยาว 1.20 เมตร และ 1 เมตร (แนะนำว่าถ้าพื้นที่ใดหายากให้ใช้วัสดุอื่นๆ ที่สามารถหาได้ง่ายในพื้นที่แทน) ข้อดีของเสาปูนคือไม่เป็นสนิม ไม่ผุพัง อยู่ได้นาน 10-20 ปี กระเบื้องลอนมือ 2 ใช้ได้คงทนเช่นกันสามารถ
หนุ่มวัย 34 ปี ในพื้นที่ หมู่ที่ 17 ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา หันหลังให้กับการทำงานประจำ ปลูกขึ้นฉ่ายไฮโดรโปนิก ซึ่งเป็นผักที่ค่อนข้างหายากในพื้นที่พะเยา ขายสร้างรายได้ วันละกว่า 1,000 บาท โดยผักที่ปลูกนั้นจากนี้จะทดลองใช้สารชีวภาพ ขณะเป็นที่ต้องการของตลาด สามารถส่งจำหน่ายได้ทุกวัน ลองไปดูข้อมูลทางวิชาการกันก่อน ขึ้นฉ่าย เป็นพืชที่เดิมทีพบอยู่ที่ตามริมน้ำในประเทศสวีเดน แอลจีเรีย และอียิปต์ และพบบ้างในบางพื้นที่แถบเอเชีย ซึ่งได้มีการนำผักชนิดนี้มาปลูกเมื่อประมาณ ค.ศ. 1542 ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการทำยาฟอกโลหิตของชาวจีน และเริ่มนำมาใช้เป็นอาหารเมื่อราวปลายศตวรรษที่ 16 โดยใช้พันธุ์ hellow leaf stock ต่อมามีพันธุ์อื่นๆ มาแทน จึงเลิกนิยมไป ในสมัยที่ใช้รับประทานกันแรกๆ นิยมส่วนที่มีสีเขียว ต่อมากลับนิยมส่วนที่เป็นสีขาว พันธุ์ที่ดีจะมีการแตกแขนงมาก ขึ้นฉ่ายเป็นผักที่มีวิตามิน เอ สูง ก้านใบของต้นจะอวบน้ำ มีรากตื้น ระบบรากเป็นฝอย รากฝอยนี้มีความยาวไม่เกิน 2 นิ้ว ลำต้นโตเต็มที่สูงสุดถึง 2 ฟุต แต่โดยเฉลี่ยจะสูงประมาณ 15 นิ้ว มักนิยมปลูกให้ชิดๆ กัน เพื่อให้ลำต้นสูง และเพื่อเป็นการบั
จากที่พระอธิการสุพจน์ มหาลาโภ เจ้าอาวาสวัดสารวัน ตำบลไทรทอง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี ได้ทำหนังสือขอความช่วยเหลือจากราชเลขานุการในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ให้จัดตั้งฟาร์มตัวอย่างฯ ณ หมู่ที่ 2 บ้านสารวัน ตำบลไทรทอง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยธรรมชาติและผู้เดือดร้อนจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งแต่เดิมเจ้าอาวาสวัดสารวัน ได้อนุญาตให้เกษตรกรในหมู่บ้านสารวันประมาณ 30-40 คน ใช้พื้นที่สวนมะพร้าวของวัดสารวัน ประมาณ 40 ไร่ ปลูกพืชแบบหมุนเวียน เช่น ปลูกแตงโมหลังเก็บเกี่ยวข้าวเพื่อสร้างรายได้ เมื่อถึงช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตปรากฏว่าผลผลิตดี ทำให้เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยคนละ 3,000-4,000 บาท ต่อเดือน นับเป็นรายได้เสริมที่ดีมาก ทั้งนี้ วัดสารวัน เดิมชื่อ วันลูตง สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีพระราชประสงค์สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2445 (ร.ศ.121) ปัจจุบันใช้ประกอบศาสนกิจในว