แปลงใหญ่
เกษตรกรเครือข่าย ศพก. และแปลงใหญ่ได้เฮ กรมส่งเสริมการเกษตร คัดเลือกเรียบร้อย คณะกรรมการเครือข่าย ศพก. และแปลงใหญ่ ระดับประเทศ สมัยที่ 4 ศพก. สายชล จันทร์วิไร นั่งเป็นประธาน ส่วนประธานแปลงใหญ่ สมเกียรติ ทองพันธ์ ลั่นผนึกกำลังพัฒนาภาคเกษตรตามพันธกิจทั้งพึ่งพาตนเอง ศูนย์กลางบูรณาการ คิดค้นนวัตกรรม และสร้างทายาทเกษตรกร นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการเกษตร ได้คัดเลือกคณะกรรมการเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และคณะกรรมการเครือข่ายแปลงใหญ่ ระดับประเทศ สมัยที่ 4 โดยคณะกรรมการเครือข่าย ศพก. ประกอบด้วย นายสายชล จันทร์วิไร ประธานกรรมการฯ นายปัญญา แก้วทอง รองประธานฯ นายสุมาตร อินทรมณี รองประธานฯ นายประทิน อ่อนน้อย รองประธานฯ นายอธิภัทร ศรีวิเศษ รองประธานฯ นายสมชาติ วรรณคำ รองประธานฯ นายประมาณ สว่างญาติ เหรัญญิก นายเชิดชัย จิณะแสน เลขานุการฯ และนายสุชาติ เสน่หา ผู้ช่วยเลขานุการฯ ส่วนคณะกรรมการเครือข่ายแปลงใหญ่ ระดับประเทศ ประกอบด้วย นายสมเกียรติ ทองพันธ์ ประธานกรรมการฯ นายวุฒิไกร ไทยประยูร รองประธานฯ นายเกียรติศักดิ์ ก
กรมส่งเสริมการเกษตรเผยผลสำเร็จยกระดับแปลงใหญ่ ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด จังหวัดจันทบุรี เดินหน้าร่วมโครงการ 28 แปลงรับวงเงินอุดหนุนกว่า 67 ล้านบาท นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตร ได้รับมอบหมายจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการจัดทำโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่ และเชื่อมโยงตลาด ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2563 ภายใต้แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 เพื่อให้เกษตรกรมีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีความหลากหลาย มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาศักยภาพความเข้มแข็งในการบริหารจัดการแปลงใหญ่ โดยใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมสมัยใหม่ต่อยอด ด้านคุณภาพมาตรฐาน แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม และเชื่อมโยงการตลาด การลดต้นทุนการผลิต รายได้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน ดำเนินการในพื้นที่ 77 จังหวัดทั่วประเทศ ครอบคลุมกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่จำนวน 5,250 แปลง ด้านนายปิยะ สมัครพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จังหวัดระยอง กล่าวว่า จังหวัดจันทบุรี ถือว่าเป็นจังห
กรมส่งเสริมการเกษตร จัดงานรวมพลเกษตรกรแปลงใหญ่ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และเครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่ (young smart farmer) กว่า 2,000 คน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรสมาชิกแปลงใหญ่ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และเกษตรกรรุ่นใหม่ (young smart farmer) และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้เรียนรู้การทำงานในรอบปีที่ผ่านมาและสรุปบทเรียนร่วมกัน นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงาน ว่า ทั้ง 3 เครือข่ายประกอบด้วย เกษตรแปลงใหญ่ ศพก.และเกษตรกรรุ่นใหม่ จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เนื่องจากเกษตรกรทั้ง 3 เครือข่ายนี้ ได้ผ่านการอบรมรับองค์ความรู้จากกรมส่งเสริมการเกษตรมาเป็นอย่างดี สามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายภายนอกเพื่อยกระดับอาชีพและรายได้อย่างมั่นคง รวมถึงจะเป็นกลไกในการขับเคลื่อนนโยบายด้านอื่นๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่อไปในอนาคตอีกด้วย ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีเป้าหมายที่จะขยายเครือข่ายทั้ง 3 ส่วนให้เพิ่มมากขึ้นพร้อมกับ
อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา เป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ตอนกลางของจังหวัดยะลา ชื่อของอำเภอ เป็นภาษามลายูปัตตานี มีความหมายว่า ที่นาที่มองเห็นต้นมะปราง ผนวกกับคำขวัญของอำเภอบันนังสตา ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “ถิ่นนามะปราง” นั่นอาจจะหมายถึง ในอดีตมีต้นมะปรางอยู่กลางท้องนามาก เป็นที่เข้าใจของคนในท้องถิ่นว่ามีต้นมะปรางและมีท้องนา อันเป็นอาชีพของเกษตรกรที่นี่ อย่างที่ทราบกันดีว่าพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีชาวไทยมุสลิมอาศัยอยู่จำนวนมาก การบริโภคแพะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชาวไทยมุสลิม เพราะใช้ประกอบในพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆ ทำให้อัตราการบริโภคแพะ การซื้อขายแพะในจังหวัดและพื้นที่ใกล้เคียงมีสูง ก่อนหน้านี้ชาวบ้านป่าหวัง หมู่ที่ 1 ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา ประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ ทำไร่อ้อย ไร่ข้าวโพด สวนยางพารา เป็นพืชไร่มากกว่าพืชสวนและท้องนา รวมถึงการเลี้ยงสัตว์ที่ผ่านมาก็มีเพียงรายเล็กๆ เท่านั้น เมื่อปี 2559 ที่ผ่านมา ชาวบ้านป่าหวัง หมู่ที่ 1 ประสบปัญหาทำการเกษตรแล้วขาดทุน จึงเริ่มมองหาอาชีพอื่น เพื่อเสริมรายได้อีกทาง เล็งเห็นว่าตลาดแพะมีความต้องการสูง จึงขอคำปรึกษาไปยังสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดยะลา และได้รั
กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเวทีเสวนาร่วมกรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมหม่อนไหม กรมการข้าว มุ่งเดินหน้าคุยเกษตรแปลงใหญ่ ในงาน Meet the Press “รวมพลังแปลงใหญ่ สร้างเครือข่ายเข้มแข็ง” เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2562 พร้อมปรับกลยุทธ์รับแผนยุทธศาสตร์ มั่นใจสำเร็จ ตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ พร้อมเปิดตัวระบบฐานข้อมูลแปลงใหญ่ http://co-farm.doae.go.th ร่วมพูดคุยถึงผลสำเร็จและถอดบทเรียนการทำงานร่วมกัน มุ่งเป้าการพัฒนาปรับกลยุทธ์มุ่งผลลัพธ์เดียวกัน สำหรับการขับเคลื่อนเกษตรแปลงใหญ่ เป็นหนึ่งในแนวทางสำคัญที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งเป้าหมายที่จะเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นแนวทางหนึ่งในการปฏิรูปภาคการเกษตร“เกษตรแปลงใหญ่” จึง ตอบโจทย์ ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในระยะยาว เพราะส่งเสริมให้เกิดการรวมกันของพื้นที่เกษตรกรรายย่อย และมาบริหารจัดการการผลิตร่วมกัน มีแผนการผลิต แผนการแปรรูป ใช้วิธีการและเทคโนโลยีการผลิตที่เหมือนกัน ตลอดห่วงโซ่อุปทาน จะส่งผลให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การเปลี่ยนแปลงที่เห็นผลได้ชัดคือ ทุกแปลงมีต้นทุนการผลิตที่ลดลงมีสัดส่วนของผลผลิตที่เพิ่มขึ้นสามารถสร้างรายได้ให้กับเศรษฐกิจฐานรากอย่างชัดเจน
“เกาะหมาก” 1 ใน 24 เกาะ ของอำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด ทุกวันนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือโลว์คาร์บอนเดสติเนชั่น ซึ่งยังคงรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิม ชาวประมง ชาวสวน ไว้ได้ดี โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกมะพร้าว บางต้นมีอายุเกือบ 100 ปี เพราะปลูกและดูแลต่อๆ กันมาถึงปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 4 ทุกวันนี้แปลงสวนมะพร้าวของชาวเกาะหมากที่ยังให้ผลผลิต มีประมาณ 2,500 ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 9,500 ไร่ เป็นมะพร้าวอินทรีย์ที่ปลอดการใช้สารเคมี ทำให้ บริษัท อะกริคัลเจอร์แมนเนจเม้นท์ จำกัด โรงงานผลิตน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ภายใต้แบรนด์ “ไทยเพียว” ที่ส่งจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ และอนุญาตให้ใช้แบรนด์ดั้งเดิม “ko mak shop” ของชาวเกาะหมากที่เจ้าของแปลงมะพร้าวเคยผลิตจำหน่ายอยู่ก่อนขายได้แต่เพียงผู้เดียว ที่เกาะหมาก เพื่อให้เห็นคุณค่าของมะพร้าวออร์แกนิกของเกาะหมากที่ใช้ทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นที่มีคุณภาพ และเป็นสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศ “ไทยเพียว” ทำสัญญาซื้อ-ขาย สร้างผลิตภัณฑ์อินทรีย์ 100% คุณพัฒนา พุทธรักษา ผู้จัดการฟาร์มมะพร้าวแปลงใหญ่ เกาะหมาก บริษัท อะกริคัลเจอร์แม
“เงาะโรงเรียนนาสาร” หนึ่งในผลไม้โปรดของหลายๆ คน เงาะโรงเรียนนาสาร มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและครองใจผู้บริโภคมานานกว่า 50 ปี เพราะมีเอกลักษณ์โดดเด่นไม่เหมือนใคร คือ ขนาดผลใหญ่ สีแดงเข้ม ปลายขนสีเขียว เนื้อล่อน กรอบ หวาน หอม แถมมีรสชาติอร่อยที่สุด จุดเริ่มต้นของความอร่อย เงาะโรงเรียนนาสาร มีต้นกำเนิดมาจาก เงาะพันธุ์เจ๊ะมง ซึ่งเป็นเงาะพันธุ์พื้นเมืองของปีนัง ที่ นายเคหว่อง ชาวปีนังได้นำ “เงาะพันธุ์เจ๊ะมง” ติดตัวเข้ามารับประทานที่เหมืองแร่ดีบุก อำเภอบ้านนาสาร หลังรับประทานได้ทิ้งเมล็ดไว้ ด้วยเหตุของดินที่ดีและมีความชุ่มชื้นอุณหภูมิพอเหมาะ ทำให้เมล็ดเงาะที่ถูกทิ้งไว้งอกขึ้นมา จำนวน 3 ต้น ประมาณ พ.ศ. 2500-2501 หลังเลิกกิจการเหมืองแร่ ทางราชการได้ซื้อบ้านพักพร้อมที่ดินของนายเคหว่อง เพื่อนำมาสร้างโรงเรียน “นาสาร” หลังจากต้นเงาะทั้ง 3 ต้น เจริญเติบโตงอกงาม ติดดอกออกผล ปรากฏว่า มีเงาะอยู่ต้นหนึ่งที่มีรสชาติหวานกรอบ เนื้อล่อน อร่อย แตกต่างจากพันธุ์เดิม (เงาะพันธุ์เจ๊ะมง ผลใหญ่ สีแดง ลักษณะทรงรี เปลือกหนา รสไม่หวาน) ครูแย้ม พวงทิพย์ ซึ่งเป็นครูใหญ่โรงเรียนนาสาร จึงนำพันธุ์เงาะดังกล่าวไปให้กับชาวบ้
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายที่จะปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตร ด้านสินค้าพืช ปศุสัตว์และสินค้าประมง โดยให้ความสำคัญในเรื่องการลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน โดยการรวมแปลงเป็นแปลงใหญ่ที่สามารถวัดผลสัมฤทธิ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมาย 5 ด้าน การลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต มีคุณภาพได้มาตรฐาน ตรงตามความต้องการของตลาด มีการรวมกันเป็นกลุ่ม มีการเชื่อมโยงกับตลาดเพื่อบริหารจัดการให้เกิดสมดุลระหว่างอุปทานและอุปสงค์ของสินค้า แก้ปัญหาเรื่องสินค้าล้นตลาด และราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ คุณชาตรี บุญนาค ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง เปิดเผยว่า ได้รับนโยบายจากอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร คุณสมชาย ชาญณรงค์กุล ได้มอบให้สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง ดำเนินการขับเคลื่อนในเรื่องของงานนโยบายทั้งหมดโดยเฉพาะในเรื่องของแปลงใหญ่ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ส่วนในเรื่องของแปลงใหญ่นั้น จะเกี่ยวข้องกับ ศพก. โดยเกษตรกรข้างเคียงจะได้เข้ามาเรียนรู้ แล้วนำไปปฏิบัติใช้ในพื้นที่เพาะปลูกของตนเองต่อไป โดยศูนย์จะมีการ