แป้งโอคาร่า
กากถั่วเหลืองเป็นของเหลือทิ้งจากการผลิตเต้าหู้ น้ำเต้าหู้ หรือนมถั่วเหลือง ปกติหากเป็นร้านหรือโรงงานขนาดเล็กจะนำไปทิ้งปะปนกับขยะเศษอาหารทั่วไป หากเป็นแหล่งผลิตใหญ่ เช่น โรงงานมักถูกขายเป็นอาหารสัตว์และปุ๋ยในราคาถูก ทั้งที่ยังมีคุณค่าทางโภชนาการโดยเฉพาะค่าโปรตีน ดร.อัญชลี อุฒาสุวรรณกุล หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า ได้ดำเนินงานวิจัย “โครงการ การลดขยะกากถั่วเหลืองจากชุมชนและอุตสาหกรรมโดยนำไปแปรรูปเป็นแป้งโอคาร่าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบอาหารมูลค่าสูง” ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยของ วช. ในปีงบประมาณ 2564 โดยนำกากถั่วเหลืองมาพัฒนาเป็นแป้ง หรือชื่อในทางวิชาการว่า “แป้งโอคาร่า” กากถั่วเหลืองหรือผลพลอยได้จากกระบวนการแปรรูปนมถั่วเหลืองและเต้าหู้ ถูกเก็บรักษาอย่างดี นำมาอบลมร้อน บดและร่อน ผลิตเป็นแป้งโอคาร่า และนำแป้งโอคาร่าที่ได้มาผลิตผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ ซึ่งจากการวิจัยพบว่า กากถั่วเหลืองหรือ “โอคาร่า” อุดมไปด้วยใยอาหาร โปรตีน ไขมัน (40%, 30% และ 20% น้ำหนักแห้งตามลำดับ) แร่ธาตุและสารพฤกษเคมี นอกจากนี้ แป้งโอคาร่ายังมีราคาสูงนิยมบริโภคในกลุ่มผู้รักษาสุขภาพ แป้งโอคาร่าอุดมไปด้วยใยอาหาร โปรตีน ไขมัน แร่ธ
วันที่ 23 มกราคม 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ กลุ่มบริษัท ดาวประเทศไทย ลงพื้นที่ติดตามผลสำเร็จจากงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ผลการดำเนินงานโครงการ เรื่อง “การลดขยะกากถั่วเหลืองจากชุมชนและอุตสาหกรรมโดยนำไปแปรรูปเป็นแป้งโอคาร่าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบอาหารมูลค่าสูง” ซึ่ง วช. ให้การสนับสนุนทุนวิจัยแก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ ร้านเบเกอรี่สคูล มูลนิธิคุณพ่อเรย์ จังหวัดชลบุรี โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ นางสาวศิรินทร์พร เดียวตระกูล ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบวิจัย และ นางสาวกรรณิกา ดุรงคเดช ผู้อำนวยการภารกิจการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.สนิท อักษรแก้ว ประธานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดร.ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ รองศาสตราจารย์ ดร.ยุวพิน ด่านดุสิตาพันธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิจาก วช. ลงพื้นที่จังหวัดชลบุรีเพื่อติดตามผลสำเร็จจากงานวิจัยการถ่ายทอดงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ : ควบคู่การพัฒนาสังคมกรณีผลิตแป้งโอคาร่า