แพะเนื้อ
คุณรัชนีกร เงินแย้ม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 ขอนแก่น (สศท.4) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงสินค้าเกษตรทางเลือกที่มีอนาคต (Future Crop) ที่น่าสนใจ 4 สินค้า ได้แก่ จิ้งหรีด แพะเนื้อ โคขุน และหญ้าเนเปียร์ ซึ่งสามารถสร้างรายได้สูงกว่าการผลิตข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง ในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3, N) ของ 4 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง คือ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ตามแนวทางบริหารจัดการพื้นที่ตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) สศท.4 ได้ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนสินค้าเกษตร Future Crop ทั้ง 4 ชนิด พบว่า สามารถเลี้ยงหรือปลูกเสริมทดแทนข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง ในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3, N) ของพื้นที่เป้าหมายทั้ง 4 จังหวัด ได้เป็นอย่างดี โดยหากจำแนกเป็นรายชนิด พบว่า จิ้งหรีด ต้นทุนการเลี้ยงเฉลี่ย 276 บาทต่อตารางเมตร ในระยะเวลา 1 ปี เลี้ยงได้ 6-7 รุ่น ให้ผลผลิตประมาณ 7 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ราคาขายเฉลี่ย 104.06 บาทต่อกิโลกรัม ผลตอบแทนเฉลี่ย 701 บาทต่อตารางเมตร ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย (กำไร) 426 บาทต่อตารางเมตร หรือ 63 บาทต่อกิโลกรั
การเลี้ยงแพะเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่น่าสนใจ เพราะเป็นสัตว์ที่ให้ลูกเร็ว โตเร็ว ลงทุนน้อย กินง่าย ขายได้เร็ว อีกทั้งไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มาก สามารถใช้เลี้ยงทดแทนโค-กระบือ รวมถึงตลาดยังมีความต้องการสม่ำเสมอ ขณะเดียวกัน คุณค่าในตัวแพะตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้ทุกส่วน ทั้งเนื้อ นม หนัง และขน แล้วยังรวมถึงมูลอีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้อดีตหนุ่มผู้รับเหมาทำระบบไฟฟ้าชาวสวนผึ้ง อย่าง คุณสมพล สาอ่อน หรือ คุณแดง หันมายึดอาชีพเลี้ยงแพะเนื้อขาย พร้อมนำมูลแพะมาเลี้ยงไส้เดือนผลิตปุ๋ยขาย รวมทั้งยังต่อยอดใช้ปุ๋ยไส้เดือนมูลแพะปลูกต้นอ่อนผักบุ้งจีนและผลิตน้ำหมักจุลินทรีย์ สร้างรายได้แถมยังช่วยปลดหนี้ได้อีกด้วย คุณแดงเรียนจบระดับ ปวส. ด้านไฟฟ้าจากราชบุรี หลังจบการศึกษาได้มารับเหมาทำระบบไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันไม่ได้ทำแล้วเพราะต้องกลับมาสวนผึ้งบ้านเกิดเพื่อมาดูแลคุณพ่อ แล้วมองหาอาชีพใหม่ด้วยการเลือกเลี้ยงแพะเนื้อ เนื่องจากมีข้อจำกัดทางพื้นที่ คุณแดง ไม่เคยมีความรู้หรือมีพื้นฐานเรื่องการเลี้ยงแพะมาก่อน เขาได้รับการแนะนำจากเพื่อนบ้าน พร้อมไปกับการศึกษาหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต โดยซื้อพันธุ์แพะพื้นบ้านมาจากชาวบ้า
นายชีวิต เม่งเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ชัยนาท (สศท.7) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า จังหวัดชัยนาท มีนโยบายส่งเสริมการสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับเกษตรกร โดยลดพื้นที่ปลูกข้าวมาปลูกพืชชนิดอื่นหรือปรับเปลี่ยนอาชีพที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า ซึ่งการเลี้ยงแพะเนื้อ เป็นสินค้าทางเลือกที่น่าสนใจ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ส่งเสริมให้เกษตรกรพัฒนาอาชีพการเลี้ยงแพะให้ยั่งยืน มีผลผลิตที่มีคุณภาพเพียงพอต่อการบริโภคซึ่งเป็นทางเลือกที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอีกอาชีพหนึ่ง เนื่องจากการเลี้ยงแพะเนื้อใช้พื้นที่เลี้ยงต่อตัวน้อยและที่สำคัญเลี้ยงง่าย กินอาหารพวกพืชได้หลายชนิด ส่งเสริมการเพิ่มรายได้โดยใช้หลัก “การตลาดนำการผลิต” ที่ทำแล้วได้ผลจริง หากมองถึงสถานการณ์การผลิตแพะเนื้อในจังหวัดชัยนาท (ข้อมูล ณ ธันวาคม 2563) พบว่า มีเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ 778 ราย จำนวน 30,883 ตัว มีการเลี้ยงกระจายในทุกอำเภอ ซึ่งอำเภอที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญได้แก่ สรรคบุรี และสรรพยา นิยมเลี้ยงสายพันธุ์ลูกผสมบอร์ เนื่องจากเลี้ยงง่าย โตเร็ว อัตราการให้ลูกแฝดสูง เป็นที่นิยมของตลาด ซึ่งใ
การเลี้ยงแพะนับเป็นอาชีพที่ชาวบ้านทุกพื้นที่ให้ความสนใจกันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ อาจเป็นผลมาจากวิธี และการดูแลที่ไม่ยุ่งยาก รวมถึงต้นทุนไม่สูง ประกอบกับยังสามารถเลือกเลี้ยงเพื่อเป็นรายได้หลักหรือรองก็ได้ เพราะมีตลาดรองรับอย่างชัดเจน หากอนาคตจำนวนแพะในตลาดเพิ่มมากขึ้น ขณะที่กำลังซื้อไม่เพิ่มตามหรือเพิ่มอย่างช้าๆ ก็อาจทำให้ราคาซื้อ-ขายไม่สูงอย่างในอดีต ฉะนั้น ผู้เลี้ยงแพะรายใหม่จึงอาจต้องทบทวนวิธีการเลี้ยงแพะให้รัดกุม หาตลาดหรือผู้รับซื้อที่ชัดเจนเสียก่อนการตัดสินใจ แต่สำหรับชาวบ้านอำเภอขามสะแกแสง อย่าง คุณจารุ จารุชัยสิริ หรือ ลุงจารุ วัย 72 ปี พักอยู่บ้านเลขที่ 87 หมู่ที่ 1 บ้านโนนเมือง ตำบลโนนเมือง อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา ที่เพิ่งหันมาเลี้ยงแพะรายนี้ดูจะไม่ธรรมดา เพราะไม่ตั้งใจเลี้ยงแพะขายเพียงอย่างเดียว เนื่องจากอาจประสบปัญหาราคาในอนาคต แต่ยังนำมูลแพะมาใส่ถุงขาย แถมยังนำไม้กระถินที่แพะกินมาเผาเป็นถ่านขาย มีรายได้เพิ่มขึ้นแบบคู่ขนานอีกด้วย เดิมลุงจารุมีอาชีพเกษตรด้วยการทำนากับพืชอื่นๆ แต่ประสบปัญหาฟ้าฝนไม่ตกตามฤดูสร้างความเสียหายแล้วยังมีผลกระทบต่อรายได้ตามมา ด้วยเหตุนี้จึ
การเลี้ยงแพะเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่น่าสนใจ เพราะเป็นสัตว์ที่ให้ลูกเร็ว โตเร็ว ลงทุนน้อย ขายได้เร็ว อีกทั้งไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มาก รวมถึงตลาดยังมีความต้องการสม่ำเสมอต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ ขณะเดียวกัน คนไทยมีศักยภาพที่เลี้ยงแพะได้เก่ง ประกอบกับความเอื้ออำนวยของสภาพพื้นที่และสภาพอากาศ ทำให้การเลี้ยงแพะเป็นอาชีพที่น่าสนใจแล้วมีชาวบ้านหันมาทำกันเพิ่มมากขึ้น ทั้งเป็นอาชีพเสริมและหลัก คุณดิเรก มะหะหมัด อยู่บ้านเลขที่ 10 ไมตรีจิต 7/1 แขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ มีอาชีพการเกษตรกรรมหลายอย่าง ทั้งการทำนา รับจ้างทั่วไปทางเกษตร เลี้ยงวัว และเลี้ยงแพะเนื้อหรือแพะขุน คุณดิเรกชี้ว่า เลี้ยงแพะได้ประโยชน์มากกว่าวัว เพราะมีข้อดีหลายอย่าง ทั้งการมีลูกเร็ว ลงทุนน้อย ขายได้เร็ว และตลาดยังมีความต้องการตลอดเวลา เพียงแต่การเลี้ยงแพะมีความยุ่งยากกว่า เพราะต้องเลี้ยงหลายตัว ดังนั้น หากเทียบการลงทุนระหว่างเลี้ยงแพะกับวัวด้วยจำนวนเงินที่เท่ากันแล้วจะพบว่าการเลี้ยงแพะคุ้มค่ากว่า แนวทางการเลี้ยงแพะเนื้อของชาวบ้านรายนี้จะซื้อแพะที่มีความเด่นของแต่ละสายพันธุ์มาผสมกันเพื่อให้ได้แพะที่ตรงตามความต้องการ
จังหวัดลพบุรี เป็นจังหวัดในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ภูมิประเทศของจังหวัดลพบุรี แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ที่ราบลุ่ม และพื้นที่ราบสลับเนินเขาและภูเขา มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน คือ แม่น้ำป่าสัก มีการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เพื่อกักเก็บน้ำ และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับชาวจังหวัดลพบุรีและจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งยังมีแม่น้ำลพบุรีไหลผ่านทางฝั่งตะวันตกของจังหวัด รวมทั้งมีระบบคลองชลประทานที่เป็นประโยชน์ในทางเกษตรกรรม สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปเป็นแบบร้อนชื้น อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และยังได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่นและพายุไต้ฝุ่นอีกด้วย ประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดลพบุรี ประกอบอาชีพด้านการเกษตรทั้งปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ การผลิตปศุสัตว์ที่สำคัญของจังหวัดลพบุรี ได้แก่ ไก่เนื้อ สุกร โคนม โคเนื้อ ทั้ง 4 ชนิดสัตว์สามารถสร้างรายได้ให้กับจังหวัดลพบุรีไม่น้อยกว่า 19,917 ล้านบาท ต่อปี และแม้ว่าที่ผ่านมา แพะ จะไม่ได้จัดอยู่ในปศุสัตว์ที่สำคัญของจังหวัดลพบุรี แต่จากตัวเลขการผลิตของเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ พบว่า จำนวนแพะ