แมลง
แมลงที่เราเห็นในสวนส่วนใหญ่ มีมากมายหลายสายพันธุ์มีรูปร่างหน้าตาที่แตกต่างกันออกไป แต่แมลงส่วนใหญ่ที่อยู่ในสวนเป็นแมลงศัตรูพืช จึงต้องหาวิธีกำจัด แต่บางตัวก็สามารถกำจัดแมลงศัตรูพืชในแปลงได้ แต่เราจะรู้ได้ไงว่าแมลงชนิดไหนที่ดีกับสวนของเรา และที่มากินผลผลิตของเรา เหล่าแมลงดีมีประโยชน์ในแปลงผัก จำหน้าจำชื่อแมลงเหล่านี้ไว้ให้ดี อย่าไปทำร้ายแมลงพวกนี้นะ!! ปล่อยให้มันทำหน้าที่เป็นผู้รักษาความปลอดภัยจากศัตรูพืชของเราตามระบบนิเวศของธรรมชาติ วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้าน รวบรวม 6 แมลงนักล่า ช่วยกำจัดแมลงศัตรูพืชในแปลงได้จะมีชนิดไหนกันบ้างไปดูกันเลย 1. แมลงวันทาชินิต ตัวอ่อนของแมลงวันชนิดนี้จะขุดเข้าไปฝังตัวในศัตรูพืชหลายชนิด และทำลายแมลงพวกนั้นจากภายใน 2. แมลงช้างปีกใส แมลงช้างปีกใสไม่ว่าจะเป็นตัวอ่อนหรือโตเต็มวัยแล้ว สามารถกินเพลี้ย หนอนผีเสื้อ หนอนแมลง เพลี้ยไฟและศัตรูพืชอีกหลากหลายชนิด วิธีที่จะทำให้สวนมีแมลงชนิดนี้มาอาศัยคือการปลูกต้นตังกุย ตาเสือ คอสมอสและอลิสซั่ม เอาไว้ เป็นแมลงตัวห้ำที่สำคัญสามารถกินศัตรูพืชได้หลายชนิด กำจัดเพลี้ยโดย ใช้ส่วนหัวที่มีเขี้ยวเพื่อใช้จับศัตรูพืชและดูดกินของเหลวจากแ
ในช่วงหน้าหนาวที่มาถึง นอกจากจะเป็นช่วงเก็บเกี่ยวแล้วยังเป็นช่วงที่ชาวบ้านตามต่างจังหวัด ดักแมลงอีกด้วย แมลงที่เห็นตามตลาดไม่ว่าจะเป็นคั่วหรือทอดก็มาจากที่ได้จากไฟดักแมลงที่ชาวบ้านนำมาล่อแมลงที่มาเล่นแสงไฟแล้วตกลงกะละมังใส่น้ำที่ชาวบ้านใส่ไว้ไม่ให้แมลงที่มาเล่นแสงไฟยามค่ำคืนหนีไปได้ วิธีทำไฟดักแมลงมีขั้นตอน ดังนี้ 1. ขุดหลุมสำหรับฝังไม้ไผ่ 2 หลุม ลึกประมาณ 20 เซนติเมตร 2. ฝังไม้ไผ่ยาวประมาณ 1 เมตรครึ่ง 3. นำสังกะสีมาผูกระหว่างเสา 2 เสาให้พื้นลอยพอจะให้วางกะละมังได้ด้านล่างได้ (วางกะละมังไว้ 2 ใบ ใส่น้ำครึ่งกะละมัง เพื่อดักแมลง) 4. ผูกไม้เหนือสังกะสี ตรงนี้จะติดหลอดไฟไว้ 1 หลอด 5. ผูกไม้ไผ่ยาวประมาณ 5 เมตร ไว้กับเสาอีกข้าง ด้านบนติดหลอดไฟนีออน ด้านบนคลุมด้วยถังน้ำพลาสติกเพื่อกันฝน ต่อไฟฟ้า จะเปิดไฟในช่วงหัวค่ำไปจนถึงสว่าง สำหรับราคาหลอดไฟจะมีราคาประมาณชุดละ 250 บาทที่มีจำหน่ายตามร้านค้าที่พร้อมนำมาติดตั้งใช้ดักแมลงได้เลย แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่จะมีหลอดไฟชุดดักแมลงอยู่แล้ว ถ้าเลยช่วงหน้าดักแมลงไปแล้วก็จะกู้เก็บไว้แล้วจะมาดักใหม่อีกครั้งเมื่อถึงหน้าดักแมลง สำหรับไฟล่อแมลงจะมีแมลงต่างๆ มาติด เช
“แมลง” เป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง มีลักษณะสำคัญคือมีลำตัวเป็นข้อปล้อง ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 หรือ 3 ส่วน สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน แมลงเป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดมาก่อนสัตว์อื่นๆ ในโลก สามารถปรับเปลี่ยนตัวตามสภาพแวดล้อมได้ดี และขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว สามารถพบเห็นได้ตามแหล่งที่อยู่อาศัยตามพื้นที่ต่างๆ ทั้งในน้ำ บนบก และในอากาศ ซึ่งแมลงถือเป็นสัตว์ที่มีจำนวนมากกว่าสัตว์อื่นๆ ในโลก แมลง ไม่เพียงแต่มีบทบาทสำคัญในธรรมชาติ แต่ยังสร้างสีสันและอยู่รอบๆ ตัวของเราในชีวิตประจำวันมาตั้งแต่สมัยโบราณ อย่างเช่น “ชนกว่าง” เป็นการละเล่นพื้นบ้านล้านนา หรือแม้แต่งานศิลปะหลายๆ แขนงก็ได้รับแรงบันดาลใจจากแมลง ทั้งรูปทรง สีสัน ลวดลายที่งดงามของแมลงนานาชนิด “จิ้งหรีด” เป็นแมลงอีกหนึ่งชนิดที่ถือเป็นแมลงเศรษฐกิจที่นิยมเลี้ยงและนำมาบริโภคทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เนื่องจากมีรสชาติอร่อย กรอบ มัน และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง จิ้งหรีดถือเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีที่สุดชนิดหนึ่ง จิ้งหรีด 300 กรัม มีโปรตีนเท่ากับเนื้อ 1 กิโลกรัม แต่แมลงนั้นย่อยง่ายกว่า นอกจากนี้ ยังอุดมไปด้วยวิตามินบี 12 มีแคลเซียมที่มากกว่านม และมีธาตุเหล
ในโลกนี้มีแมลงอยู่ราว 1 ล้านสายพันธุ์หรือชนิด แต่สามารถจัดกลุ่มที่ใกล้เคียงกันได้เพียง 31 ลำดับ (ออเดอร์) เท่านั้น อย่างเช่น ตัวต่อ, ผึ้งและมด ถูกจัดอยู่ในลำดับเดียวกัน นั่นคือ “ ลำดับไฮเมน็อปเทรา ” แต่แมลง 1 ตัวที่เพิ่งถูกค้นพบเมื่อเร็วๆ นี้ กลับแปลกไปจากแมลงอีก 1 ล้านชนิดที่เคยพบเห็นกันมา จนต้องจัดอยู่ในลำดับแยกต่างหาก เป็นลำดับที่ 32 และมีเพียงแมลงชนิดนี้ตัวเดียวเท่านั้นในลำดับนี้ ศาสตราจารย์กิตติคุณ จอร์จ ปัวนาร์ จูเนียร์ นักกีฏวิทยาจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา เป็นผู้ค้นพบมันอยู่ในสภาพถูกกักอยู่ในก้อนอำพันอายุ 100 ล้านปี พบที่หุบเขาฮูกอว์งในประเทศพม่า ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้ว่า “ เอทีโอคาเรนัส เบอร์มานิคัส ” (Aethiocarenus burmanicus) แต่หลายคนเรียกมันว่าแมลงอีที เพราะหน้าตาคล้ายคลึงกับมนุษย์ต่างดาวอีทีในภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ที่มนุษย์จินตนาการขึ้นนั่นเอง เอ. เบอร์มานิคัส ที่พบเป็นเพศเมีย ลำตัวแบนบอบบาง ส่วนที่เด่นก็คือส่วนหัวของที่มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมหันด้านฐานออก พร้อมลูกตาโปน 2 ด้านส่วนยอดเชื่อมต่อกับส่วนคอ ต่างกับแมลงทั่วไปที่พบในเวลานี้ที่มีหัวซึ่งส่วนฐานของสามเหลี
มูฮัมหมัด โรเอม ช่างภาพสมัครเล่นชาวอินโดนีเซีย ผู้มีอาชีพหลักเป็นพยาบาล เริ่มต้นถ่ายภาพเป็นงานอดิเรก เมื่อ 3 ปีก่อน ในเวลานี้ โรเอม มักหาเวลาว่างเดินไล่ตามหา “นายแบบนางแบบ” ในป่า “ผมเดินตามหาแมลงเพื่อจับภาพการแสดงอารมณ์ของพวกมัน บางครั้งภาพหลายสิบภาพก็มีเพียงภาพเดียวที่สามารถแสดงอารมณ์ได้ดี หรือบางวันผมก็ไม่ได้อะไรเลย” โรเอม ระบุกับเว็บไซต์บีบีซี หลายๆคนไม่รู้หรือเห็นบางส่วนของสัตวดังนั้น โรเอม จึงพยายามนำเสนอเพียงบางส่วนของสัตว์แต่ละชนิดเช่นการถ่ายภาพโคลสอัพเฉพาะดวงตาของสัตว์ชนิดนั้นๆ โรเอม ระบุว่า การเก็บภาพแต่ละช็อตนั้นตนจะใช้เลนส์มาโคร ระยะ 100mm และหากจะถ่ายแบบซุปเปอร์มาโครใกล้เข้าไปอีกก็จะใช้เลนส์ MP E 65mm โดยสัตว์ที่ โรเอม ชอบถ่ายมากที่สุดคือกบ แต่ภาพที่โรเอมชอบมากที่สุดก็คือ “ตุ๊กแกยิ้ม” ขอบคุณข้อมูลจาก บีบีซี
เมื่อวันที่ 7 ส.ค. นายสาคร ชนะไพฑูรย์ รักษาการ ผอ.องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระ ทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า สมเด็จพระเทพรัตราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าพระราชทานนามเป็นชื่อของแมลงชนิดใหม่ของโลก 3 ชนิดที่นักวิจัยของ อพวช.ได้ค้นพบ ได้แก่ ตั๊กแตนคูหารัตน์ ผีเสื้อรัตติสิริน และมดทหารเทพาหรือมดทหารพระเทพ แมลงชนิดใหม่ของโลกทั้ง 3 ชื่อ ได้รับการพิจารณาให้ตีพิมพ์แล้วในวารสาร “The Thailand Natural History Museum Journal” วารสารด้านธรรมชาติวิทยาระดับสากล โดยมี อพวช. เป็นเจ้าของลิขสิทธิ ทั้งนี้อพวช.จะนำแมลงทั้ง 3 ชนิดนี้ออกโชว์ที่งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2559 ระหว่างวันที่ 18-28 สิงหาคม ที่อาคารอิมแพ็ค เมืองทองธานี กรุงเทพฯ สำหรับแมลงชนิดแรก “ตั๊กแตนคูหารัตน์” พบในพื้นที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จ.นครราชสีมา กินแมลงชนิดอื่นเป็นอาหาร ซึ่งเป็นแมลงเฉพาะถิ่นของประเทศไทย ลำตัวสีน้ำตาลเทา ตัวยาวประมาณ 14.7 – 15.8 ม.ม. ตัวเมียโตกว่าตัวผู้เล็กน้อย ลำตัวอ้วนป้อม หลังโก่งชัดเจน หนวดและขายาวมาก โดย