แมลงดำหนาม
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์การผลิต มะพร้าวผลแก่ ปี 2568 (ข้อมูลพยากรณ์ ณ พฤศจิกายน 2567) ซึ่งคาดว่า มีเนื้อที่ให้ผลทั้งประเทศ 0.828 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มีเนื้อที่ 0.821 ล้านไร่ (เพิ่มขึ้น 7,368 ไร่ หรือร้อยละ 0.90) ปริมาณผลผลิตทั้งปี 633.25 ล้านผล เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่ให้ผลผลิต 600.52 ล้านผล (เพิ่มขึ้น 32.731 ล้านผล หรือร้อยละ 5.45) เนื่องจากในช่วงปลายฤดูฝนของปี 2567 มีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้น และหากในปี 2568 สภาพอากาศเอื้ออำนวย มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอต่อความต้องการของมะพร้าว ทำให้ต้นมะพร้าวมีการสะสมอาหารและต้นมะพร้าวสมบูรณ์ขึ้น จะส่งผลให้การออกดอกและการติดผลต่อทะลายเพิ่มขึ้น แต่ผลผลิตเพิ่มขึ้นไม่มากนัก เนื่องจากคาดว่า ต้นมะพร้าวจะยังได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากช่วงปลายปี 2567 จากการระบาดของหนอนและแมลงศัตรูมะพร้าว เช่น แมลงดำหนาม หนอนหัวดำ และด้วงแรด ทำให้ในปี 2568 ต้นมะพร้าวอาจไม่สมบูรณ์เต็มที่ การติดจั่นและจำนวนผลมะพร้าวต่อทะลายในช่วงปี 2567 ที่จะให้ผลผลิตได้ในปี 2568 ลดลง โดยเฉพาะในจังหวัดประจวบคีรีขัน
สวพ.7 หวั่นซ้ำรอยสมุย ส่งชุดเฉพาะกิจรุกสร้างการรับรู้เรื่อง “การป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าว” ชาวเกาะเต่า ลดความเดือดร้อนชาวสวน-ปกป้องแหล่งท่องเที่ยวระดับประเทศ หลังได้รับร้องเรียนศัตรูมะพร้าวระบาดหนัก ต้นล้มตายเป็นจำนวนมาก เร่งใช้ชีวภัณฑ์ปราบ-หนุนทำเกษตรอินทรีย์แก้ปัญหาแบบยั่งยืน นายวิรัตน์ ธรรมบำรุง ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 7 (สวพ.7) กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ปัจจุบัน เกาะพงัน อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญที่มีชื่อเสียงของประเทศระดับโลก และมีมะพร้าวเป็นสินค้าอัตลักษณ์หนุนการท่องเที่ยวเสริมสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยมะพร้าวเกาะพะงันได้รับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( Geographical Indication) หรือสินค้า GI จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ว่าเป็นมะพร้าวมีลักษณะเด่นเฉพาะถิ่นดังนี้ “มะพร้าวใหญ่ สะโพกโต เนื้อหนา กะลาแข็ง ก้านใหญ่ ทางใบยาว เนื้อมะพร้าว 2 ชั้น น้ำมันใส ในเปลือกเหนียว เนื้อหวานมัน โดยปัจจุบันอำเภอเกาะพะงันมีพื้นที่ปลูกมะพร้าว จำนวน 22,000 ไร่ ปลูกไร่ละ 20 ต้น ผลผลิตเฉลี่ย 60 ผล/ต้น ให้ผลผลิตมะพร้าวทั้งหมดประมาณ 26 ล้า
ปัญหา หนอนหัวดำ แมลงดำหนาม ด้วงแรด ด้วงงวง ล้วนแล้วแต่เป็นแมลงศัตรูมะพร้าวที่เกษตรกรชาวสวนมะพร้าวไม่ต้องการให้เกิดขึ้นทั้งในสวนของตนเองและสวนของเพื่อนบ้าน เพราะเมื่อพบแล้ว ปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูพืชเหล่านี้จะแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว หากไม่มีการควบคุมหรือกำจัดที่ดีพอ คุณวิชาญ บำรุงยา เกษตรกรชาวสวนมะพร้าวในพื้นที่ตำบลโป่ง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ผู้ที่เคยได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่น ประจำปี 2558 ในสาขาอาชีพทำสวน และเราให้คำจำกัดความเขาว่า “ปราชญ์ชาวบ้าน” ในมุมของเกษตรกรทำสวนมะพร้าว มุมมองของ คุณวิชาญ คือ การแก้ปัญหาแมลงศัตรูพืชทุกอย่างด้วยการงดใช้สารเคมี หรือใช้สารเคมีให้น้อยที่สุดในกรณีที่จำเป็น เพื่อไม่ให้เกิดการตกค้างไปถึงผู้บริโภค แม้สารเคมีบางชนิดที่ได้รับการประเมินปริมาณในการใช้แล้วว่า ไม่ตกค้างจนก่อให้เกิดโทษต่อผู้บริโภคก็ตาม “หนอนหัวดำ และแมลงดำหนาม เป็นแมลงศัตรูพืชที่ในอดีตไม่เคยมี เกษตรกรของไทยไม่เคยประสบ กระทั่งปีที่เกิดการระบาดในภาคใต้ และไม่นานก็แพร่ระบาดมาถึงภูมิภาคอื่นๆ การแก้ปัญหาที่ภาครัฐแนะนำขณะนั้นคือ การใช้สารเคมีกำจัด เพราะต้องการให้การแพร่ระบาดหมดไปโดยเร็ว อีกทั้งเ
หากกล่าวถึง จังหวัดสมุทรสงคราม สิ่งที่หลายคนนึกถึงน่าจะเป็นวิถีชีวิตคนริมคลอง บรรยากาศสวนผลไม้ โดยเฉพาะสวนมะพร้าว ส้มโอ และลิ้นจี่ อีกมุมหนึ่งของจังหวัดสมุทรสงครามคือ การเป็นเมืองปากอ่าว มีดอนหอยหลอด ที่เป็น Unseen Thailand จังหวัดนี้จึงได้ชื่อว่า เป็นเมือง 3 น้ำ คือมีครบทั้งน้ำจืด น้ำเค็ม น้ำกร่อย และด้วยสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ทำให้วิถีชีวิตของคนในพื้นที่ก็แตกต่างกันไปด้วย ในวันนี้จะขอเล่าถึงบรรยากาศของชุมชนชาวสวนมะพร้าวของจังหวัดสมุทรสงคราม หนึ่งพืชเศรษฐกิจที่ขึ้นชื่อของจังหวัด จังหวัดสมุทรสงครามมีพื้นที่ปลูกมะพร้าวทั้งหมด ประมาณ 67,749 ไร่ แบ่งมะพร้าวออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ มะพร้าวผลแก่ มะพร้าวผลอ่อน และมะพร้าวตาล ที่สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเกษตรกรที่มีอายุมากก็ยังสามารถทำได้ เพราะเป็นพืชที่ไม่ต้องบำรุงดูแลมาก และสามารถให้ผลผลิตได้ตามธรรมชาติ แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ชาวสวนมะพร้าวประสบกับปัญหาการระบาดของศัตรูพืช 2 ชนิด ที่สำคัญคือ แมลงดำหนาม และหนอนหัวดำ ซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่ต้นมะพร้าว ไม่แค่เฉพาะจังหวัดสมุทรสงคราม แต่เกษตรกรจังหวัดอื่นๆ ก็ได้รับผลกระทบเช่นก
ผู้ส่งออกมะพร้าวขาวรายใหญ่สุดในประเทศยันใช้สารเบนโซเอทปราบหนอนหัวดำได้ผลดี ไม่มีสารตกค้าง แถมราคาถูกว่าสารเคมีที่ทางราชการจัดซื้อ 3 เท่า วันที่ 9 กรกฎาคม นายสายชล จ้อยร่อย เจ้าของ บริษัท นิลทองแท้ จำกัด ผู้ส่งออกมะพร้าวขาวมากที่สุดในประเทศ หมู่ 3 ต.อ่างทอง อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้วัตถุดิบมะพร้าวผลในพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ สำหรับนำไปผลิตน้ำกะทิเพื่อการส่งออกยังประสบภาวะวิกฤต เนื่องจากผลผลิตมีน้อยและมีราคาสูง หลังจากมีการระบาดของแมลงดำหนามมานานหลายปี แต่ล่าสุดยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหาของทางราชการ ทั้งนี้ มะพร้าวเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดในประเทศกว่า 5 แสนไร่ ทำไห้มีผลกระทบกับเกษตรกรจำนวนมาก จากปัญหาดังกล่าวทำให้บริษัทฯต้องสั่งนำเข้ามะพร้าวผลจากประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อนำมาผลิตให้เพียงพอกับโควต้าการส่งออกที่มีการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ สำหรับการแก้ปัญหาภายในสวนมะพร้าวกว่า 2,000 ไร่ รวมทั้งชาวสวนที่นำมาผลผลิตมาจำหน่ายอีกกว่า 1 แสนไร่ ขณะนี้ใช้สารเบนโซเอทฉีดเข้าลำต้นมะพร้าวที่มีความสูงกว่า 12 เมตร ส่วนต้นที่ต่ำกว่
อาการที่เล่ามาเป็นการเข้าทำลาย หรือการระบาดของ แมลงดำหนามมะพร้าว ถูกต้องแล้วครับ แมลงชนิดนี้อดีตเคยระบาดอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย การเข้าทำลายเกิดได้ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย แมลงเริ่มเข้าไปอาศัยอยู่ในหลืบใบอ่อนมะพร้าวที่ยังไม่คลี่ออก การระบาดรุนแรงจะทำให้ยอดมะพร้าวแห้ง สีน้ำตาลอ่อน ชาวบ้านเรียกอาการนี้ว่า มะพร้าวหัวหงอก รูปร่างของแมลงดำหนามมะพร้าว มีความยาวของลำตัวมากกว่าความกว้างหลายเท่า หลังผสมพันธุ์แล้วแมลงเพศเมียจะวางไข่เป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2-5 ฟอง ฟักออกเป็นตัวภายใน 4 วัน ระยะเป็นตัวหนอน 21 วัน เข้าดักแด้อีก 2-7 วัน ก่อนพัฒนาเป็นตัวเต็มวัย เพศเมียมีอายุไข 54 วัน ส่วนเพศผู้มีอายุไข 65 วัน โดยประมาณ ในกรณีมะพร้าวมีอายุหลายปี ต้นสูงมากแล้ว การฉีดพ่นสารเคมีทำได้ยาก กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แนะนำให้ใช้แตนเบียนเวียดนาม แมลงชนิดนี้ตัวเต็มวัยมีขนาดลำตัวยาวเพียง 0.5-0.7 มิลลิเมตร มีปีกสีใส 2 คู่ แตนเบียนชนิดนี้จะทำลายเฉพาะหนอนแมลงดำหนามมะพร้าวเท่านั้น การเข้าทำลายโดยเพศเมีย ตัวเต็มวัยหลังจากผสมพันธุ์แล้ว ใช้อวัยวะแหลมแทงเข้าที่ตัวหนอนแมลงดำหนามแล้ววางไข่ ภายในไม่กี่วันจะฟักออกเป็นตั