แรงงานต่างด้าว
เมื่อเร็วๆ นี้ เครือเจริญโภคภัณฑ์ มอบ “หน้ากากอนามัยซีพี” จำนวน 200,000 ชิ้น ให้แรงงานต่างด้าวและกลุ่มเปราะบางในพื้นที่ที่มีการระบาดของโควิด-19 รุนแรง โดยมอบหน้ากากอนามัย จำนวน 30,000 ชิ้น ผ่านศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) สำหรับแจกจ่ายให้แรงงานต่างด้าว และกลุ่มเปราะบางในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดระยอง ส่วนที่เหลือเครือเจริญโภคภัณฑ์จะทยอยส่งมอบไปยังกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อไป ด้าน นายไพโรจน์ อภิรักษ์นุสิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ธุรกิจสัตว์น้ำ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ มอบผลิตภัณฑ์กุ้งซีพี แปซิฟิก จากโครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19 มั่นใจ กุ้งซีพีแปซิฟิก” เพื่อเป็นกำลังใจและสนับสนุนการทำงานของทีมแพทย์และทีมบริหาร ศบค. โดยมี พล.อ. ณัฐพล นาคพาณิชย์ รองผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะประธานคณะกรรมการ ศบค. และ นพ. ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. เป็นผู้รับมอบ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ขณะเดียวกันยังเป็นการตอกย้ำให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นว่าผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยปลอดภัย สามารถรับประทานได้อย่างม
ครึ่งทางขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมายโดยกรมประมงได้แค่ 8,000 คน หลุดเป้ามโหฬาร เหตุตั้งด่านตรวจจับ แรงงานไม่กล้าข้ามจังหวัด ด้าน ส.การประมงฯ มีมติเอกฉันท์เสนอกรมประมงออกใบอนุญาตทำประมงพาณิชย์ให้เรือกลุ่มที่ 2 ต่อไปอีก นายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากการที่กรมประมงเสนอให้ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง และผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา ซึ่งออกตามมาตรา 83 พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ตามร่างประกาศกรมประมงจะเปิดขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวภาคการประมง เพื่อให้สามารถทำงานในเรือประมงได้แบบเบ็ดเสร็จ โดยสามารถลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ได้ระหว่างวันที่ 1-31 ตุลาคมศกนี้ ที่สำนักงานประมงจังหวัดใน22 จังหวัดชายทะเลนั้น มีแนวโน้มสูงที่จะไม่ได้แรงงานประมงตามที่ขาดแคลนทั่วประเทศ 74,000 คน โดยจนถึงขณะนี้มีแรงงานต่างด้าวมาขึ้นทะเบียน ประมาณ 8,000 คนเท่านั้น คาดว่าถึงสิ้นเดือนตุลาคมนี้จะได้แรงงานรวมประมาณ 10,000 คน แม้จะมีประกาศกระทรวงมหาดไทยอนุญาตให้คนต่างด้
ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร (KU – OAE Foresight Center : KOFC) โดย ดร.ภูมิศักดิ์ ราศรี ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) พร้อมด้วย ผศ.ดร.กัมปนาท เพ็ญสุภา ผอ.ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เปิดเผยถึงสถานการณ์แรงงานภาคเกษตรไทย ซึ่งปัจจุบันประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตร จากข้อมูลพบว่า ปี 2554 – 2560 ของช่วงไตรมาส 1 (Q1) แรงงานภาคเกษตรมีแนวโน้มลดลง โดยในปี 2554 มีจำนวนแรงงานภาคเกษตร 14.88 ล้านคน และลดลงมาเป็น 11 ล้านคนในปี 2560 (Q1) แต่นอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น จาก 23.58 ล้านคน ในปี 2554 เป็น 26.4 ล้านคนในปี 2560 (Q1) อีกทั้งแรงงานภาคเกษตรที่มีอยู่เริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (aging society) เพิ่มขึ้น ประกอบกับแรงงานภาคการเกษตรวัยหนุ่มสาวที่ได้รับการศึกษาเคลื่อนย้ายเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม และเกษตรกรมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจากราคาปุ๋ยเคมี สารกำจัดศัตรูพืช ค่าจ้างแรงงาน จึงเป็นเหตุให้มีการนำเข้าแรงงานต่างด้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิตและทดแทนแรงงานของไทย อย่างไรก็ตาม การจัดการแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามฤดูกาลและมาเช้าเย