แรงงานประมง
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมกับองค์กรพันธมิตร ขับเคลื่อน“ศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา” (Fishermen Life Enhancement Center หรือ ศูนย์ FLEC) เข้าสู่ปีที่ 8 มุ่งเน้นยกระดับคุณภาพชีวิตครอบครัวแรงงานประมงต่อเนื่อง ควบคู่กับการดูแลและคุ้มครองสิทธิเด็กและสตรี เข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียม สร้างเสริมทักษะชีวิต เพื่อร่วมต่อต้านการค้ามนุษย์และการใช้แรงงานเด็กในอุตสาหกรรมอาหารทะเลอย่างยั่งยืน นางสาวนาตยา เพชรรัตน์ ผู้จัดการศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลา ในฐานะกรรมการศูนย์ FLEC สงขลา กล่าวว่า ศูนย์ FLEC ดำเนินงานตั้งแต่ปี 2559 สำหรับปีนี้ ศูนย์ FLEC มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพเด็กลูกหลานแรงงานข้ามชาติ ให้ได้รับการศึกษา ควบคู่กับการพัฒนาทักษะชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง สนับสนุนให้เด็กข้ามชาติเข้าถึงสิทธิอย่างเท่าเทียมและมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคง ลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อร่วมต่อต้านปัญหาการค้ามนุษย์และการใช้แรงงานเด็กอย่างผิดกฎหมายในอุตสาหกรรมอาหารทะเล ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ศูนย์ FLEC บูรณาการความเชี่ยวชาญของ 7 องค์กรจากภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ภายใต้ควา
หน่วยงานพันธมิตรจากภาค รัฐ เอกชน และประชาสังคม 7 องค์กร ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ ในการดำเนินศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา (Fishermen Life Enhancement Center หรือศูนย์ FLEC) ในระยะที่ 2 (พ.ศ. 2564-2568) ชูหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเศรษฐกิจหมุนเวียน หนุนครอบครัวแรงงานประมงมีความมั่นคงทางอาหารบนพื้นฐานสิทธิมนุษยชน ควบคู่กับการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะทะเลและชายฝั่งในเขตพื้นที่ท่าเรือสงขลา เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน นางสาวนาตยา เพชรรัตน์ ผู้จัดการศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลา ในฐานะกรรมการศูนย์ FLEC กล่าวว่า จากความสำเร็จของการดำเนินงานของศูนย์ฯ ในระยะแรก (2558-2563) เป็นผลจากการบูรณาการของ 5 องค์กรก่อตั้ง มีแผนงานและกำหนดเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยป้องกันปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายแบบครบวงจร และยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานและครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งนี้ องค์กรก่อตั้งได้สานต่อการดำเนินงานของศูนย์ฯ FLEC ระยะที่ 2 (2564-2568) เป็นเวลา 5 ปี โดยประสานความเชี่ยวชาญของ 7 องค์กร ขับเคลื่อนภารกิจด้านการคุ้มครองแรงงานในอุตสากรรมประมงไทยต่อเนื่อง
เมื่อวันที่ 23 มกราคม ฮิวแมนไรท์วอทช์เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับสถานการณ์แรงงานในอุตสาหกรรมประมงไทยต่อรัฐสภายุโรป โดยระบุว่ายังคงมีการใช้แรงงานบังคับและการปฏิบัติไม่ชอบในด้านสิทธิอื่นๆ อย่างกว้างขวางในฝูงเรือประมงไทย แม้ว่ารัฐบาลและภาคอุตสาหกรรมจะระบุว่าได้ทำการปฏิรูปอย่างรอบด้านแล้วก็ตาม โดยในรายงานที่มีความยาว 134 หน้าระบุว่า แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านของไทยมักตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์เพื่อเป็นแรงงานภาคประมง พวกเขาถูกขัดขวางไม่ให้เปลี่ยนนายจ้าง ไม่ได้รับค่าจ้างตามเวลา และได้รับค่าจ้างต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำ นอกจากนี้แรงงานข้ามชาติไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานของไทย และไม่มีสิทธิจัดตั้งสหภาพแรงงาน ฮิวแมนไรท์วอทช์ระบุว่า แม้รัฐบาลจะดำเนินมาตรการหลายอย่างเพื่อทำให้เกิดการปรับปรุงอย่างสำคัญต่อแรงงานประมง แต่ก็ยังมีข้อบกพร่องมากมายในการดำเนินงานตามมาตรการใหม่ของรัฐบาล และการต่อต้านของอุตสาหกรรมประมงที่มีต่อการปฏิรูป ปัญหาต่างๆ ยังเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ระบบการตรวจแรงงานเป็นการสร้างภาพเพื่อผู้ชมระหว่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ เพราะยังมีช่องว่างอย่างใหญ่หลวงในการบังคับใช้กฎหมายกับการป้องปราม ขณะที่ใ
กรมการจัดหางานเปลี่ยนวิธีจ้าง ‘แรงงานประมง’ จ่ายเป็นเงินเดือนขั้นต่ำ 12,000 บาท ลูกจ้างเบิกผ่านทางธนาคาร หวังดึงดูดให้คนไทยหันกลับมาทำงานภาคประมงทดแทนนำเข้า เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน นายอนุรักษ์ ทศรัตน์ อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงการเตรียมปรับเปลี่ยนวิธีจ้างแรงงานประมงเป็นแบบเงินเดือนขั้นต่ำ 12,000 บาท และจ่ายผ่านทางธนาคาร เพื่อดึงดูดให้คนไทยหันกลับมาทำงานประมง ว่า งานภาคประมงเป็นงานที่ลำบากกว่างานบนบก ดังนั้น เมื่อค่าจ้างต่ำกว่าค่าจ้างบนบก คนจึงไม่นิยมทำ ซึ่งประเด็นนี้ไม่ใช่แค่เฉพาะแรงงานไทยเท่านั้น แม้แต่แรงงานต่างด้าวก็จะเลือกไปทำงานบนบก เพราะงานสบายกว่า ค่าจ้างสูงกว่า จึงเป็นที่มาของการจ้างงานแบบเงินเดือนขั้นต่ำ 12,000 บาท ซึ่งหากเฉลี่ย 30 วัน ได้รับวันละ 400 บาท ซึ่งสูงกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทั่วไปที่ให้เพียงวันละ 300 บาท จึงถือว่าเป็นอัตราค่าจ้างที่สูง คาดว่าจะสามารถดึงดูดให้คนหันมาสนใจแรงงานภาคประมงได้มากขึ้น ที่สำคัญคือจ่ายแบบเงินเดือนผ่านธนาคาร เพราะลูกจ้างกลับขึ้นบกก็สามารถกดเอทีเอ็มเพื่อรับเงินได้ทันที “ในอดีตคนอีสานเข้ามาทำงานภาคประมงกันมาก เนื่องจากค่า
เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน นายอนุรักษ์ ทศรัตน์ อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงการเตรียมปรับเปลี่ยนวิธีจ้างแรงงานประมงเป็นแบบเงินเดือนขั้นต่ำ 12,000 บาท และจ่ายผ่านทางธนาคาร เพื่อดึงดูดให้คนไทยหันกลับมาทำงานประมง ว่า งานภาคประมงเป็นงานที่ลำบากกว่างานบนบก ดังนั้น เมื่อค่าจ้างต่ำกว่าค่าจ้างบนบก คนจึงไม่นิยมทำกัน ซึ่งประเด็นนี้ไม่ใช่แค่เฉพาะคนไทยเท่านั้น แม้แต่คนต่างด้าวก็จะเลือกไปทำงานบนบก เพราะงานสบายกว่า ค่าจ้างสูงกว่า จึงเป็นที่มาของการจ้างงานแบบเงินเดือนขั้นต่ำ 12,000 บาท ซึ่งหากเฉลี่ย 30 วันก็ตกวันละ 400 บาท ซึ่งสูงกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำคือวันละ 300 บาท จึงถือว่าเป็นอัตราค่าจ้างที่สูง จึงน่าจะสามารถดึงดูดให้คนหันมาสนใจแรงงานภาคประมงได้มากขึ้น ที่สำคัญคือจ่ายแบบเงินเดือนผ่านทางธนาคาร เพราะลูกจ้างกลับขึ้นบกก็สามารถกดเอทีเอ็มเพื่อรับเงินได้เลย “สมัยอดีตคนอีสานเข้ามาทำงานภาคประมงกันมาก เนื่องจากค่าจ้างสูงกว่าการทำงานบนบก เช่น ลงเรือ ค่าจ้างอยู่ประมาณ 300 บาท ส่วนบนบกประมาณ 150 บาท แต่งานบนบกมีการพัฒนามากขึ้น เป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น ค่าแรงก็เพิ่มขึ้น จนมาทัดเทียมกันกับแรงง
นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า เมื่อวันที่ 28 กันยายนที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศใช้แนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานประมง โดยอำนวยความสะดวกให้คนต่างด้าวที่ประสงค์ทำงานในเรือประมงอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และการอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวทำงานในเรือประมงที่จะออกไปทำการประมงในทะเล โดยในส่วนของแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีที่ต้องการจะทำงาน ในเรือประมงแต่ไม่มีใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการทำงานของคนต่างด้าวสามารถมาลงทะเบียนได้กับทางกรมประมง ณ สถานที่กรมประมงกำหนดใน 22 จังหวัดชายทะเลในระหว่างวันที่ 1 –31 ตุลาคม 2560 โดยกระทรวงมหาดไทยได้อำนวยความสะดวกในการจัดทำทะเบียนประวัติบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรด้วย ส่วนแรงงานต่างด้าวมีใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการทำงานของคนต่างด้าว และเอกสารถูกต้องครบถ้วน และต้องการจะทำงานในเรือประมงสามารถขอรับหนังสือคนประจำเรือได้ตลอดเวลา แม้สิ้นสุดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว เนื่องจากเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว นายอดิศร กล่าว
สมาคมการประมงแห่งประเทศไทยยืนยันให้อธิบดีกรมประมงใช้อำนาจตามมาตรา 83 พ.ร.ก.การประมงรับขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวในเรือประมงที่ขาดแคลน หลังเกษตรฯโยนให้กระทรวงแรงงานแก้ปัญหา จับตาการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหา IUU ในเรื่องแรงงานขาดอีกครั้งปลาย ก.ค.นี้ สืบเนื่องจากวันที่ 8 พ.ค. 2560 สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย และสมาคมการประมงท้องถิ่น 22 จังหวัด ได้เดินทางมายื่นหนังสือที่ทำเนียบรัฐบาลถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ช่วยเหลือแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในเรือประมง โดยมี พล.ต.ท.ไกรบุญ ทรวดทรง เลขานุการคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชุดที่ 1 ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงเป็นประธานมารับเรื่องแทน เพื่อหาแนวทางแก้ไข และมีการสั่งการมายังศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชุมหารือกับสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยนั้น รายงานข่าวจากสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ผลการหารือของสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยกับหน่วยงานต่าง ๆ ข้างต้น 5-6 ครั้ง ได้ข้อยุติไปเมื่อวันที่ 18
เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 22 กรกฎาคม 2560 ที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลปากน้ำชุมพร อ.เมืองชุมพร ได้มีการประชุม คณะกรรมการบริหารสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยสัญจร เพื่อรับฟังปัญหาของชาวประมงในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย โดยมี นายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เป็นประธานการประชุม มีคณะกรรมการบริหารสมาคมชาวประมงและสมาชิกจาก 13 สมาคม ประมาณ 200 คนเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย สมาคมชาวประมงหัวหิน สมาคมชาวประมงปราณบุรี (จ.ประจวบคีรีขันธ์) สมาคมชาวประมงด่านสวี สมาคมชาวประมงหลังสวน สมาคมชาวประมงเรืออวนซั้งและเรือร่วมปากน้ำชุมพร (จ.ชุมพร) สมาคมชาวประมงสุราษฎร์ธานี สมาคมประมงอวนลากสุราษฎร์ธานี (จ.สุราษฎร์ธานี) สมาคมประมงอำเภอขนอม สมาคมชาวประมงปากพนัง สมาคมชาวประมงอำเภอสิชล (จ.นครศรีธรรมราช) สมาคมประมงสงขลา (จ.สงขลา) สมาคมการประมงจังหวัดปัตตานี และสหกรณ์ประมงปัตตานี จำกัด (จ.ปัตตานี) นายมงคล ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมว่า การประชุมสัญจรของคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ จะจัดทุกๆ 2 เดือน หมุนเวียนไปตามจังหวัดต่างๆ ที่มีชาวประมงเป็นสมาชิกอยู่ การประชุมครั้งนี้เพื่อต้องการรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของชาวประมงฝ