แหล่งน้ำบาดาล
เมื่อเกิดสถานการณ์ภัยแล้ง แหล่งน้ำที่จะช่วยบรรเทามิให้เกิดการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคอย่างรุนแรงคือ “แหล่งน้ำบาดาล” นายธวัชชัย บุญมีชัย เจ้าของสวน “บุญมีชัยฟาร์ม เกษตรพอเพียง” ในพื้นที่อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เป็นหนึ่งในเกษตรกรที่อาศัยการสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ทำการเกษตร หลังจากใช้น้ำ ปรากฏว่าทำให้ปลาตาย พืชผักที่รดด้วยน้ำใต้ดินก็ไม่ค่อยได้ผลผลิตเท่าที่ควร เนื่องจากน้ำใต้ดินในบริเวณดังกล่าว มีค่าความเป็นกรด หรือด่าง ไม่เหมาะสำหรับใช้ทำการเกษตร หลังประสบปัญหาดังกล่าว นายธวัชชัยตัดสินใจไม่สร้างบ่อพักน้ำก่อนนำมาใช้งาน แต่ใช้วิธีปรับสภาพน้ำบาดาลอย่างง่ายๆ โดยอาศัยหลักวิธีการกรองปรับสภาพน้ำแบบธรรมชาติ ปล่อยน้ำไหลไปตามคลองที่ขุดไว้ เพื่อให้น้ำไหลผ่านชั้นหิน ชั้นถ่าน และชั้นสุดท้ายคือมูลสัตว์ เพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ให้กับน้ำ หลังปรับสภาพน้ำแล้ว ก็ปล่อยน้ำไหลผ่านร่องน้ำ เข้าไปยังสระน้ำและสวนพืชผักตามลำดับ น้ำที่ปรับสภาพผ่านระบบชั้นกรองแล้ว คุณภาพน้ำดีขึ้น น้ำใสแบบธรรมชาติ มีค่าความเป็นกลาง สามารถนำไปใช้เลี้ยงปลาได้ โดยปลาไม่ตาย เมื่อนำน้ำไปรดในแปลงเพาะปลูก พืชผักก็เจริญเติบโตดี แนวคิดจากภูมิปัญญา
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ร่วมกับกองทุนพัฒนาน้ำบาดาล จัดงาน “วันน้ำบาดาลแห่งชาติ” ภายใต้แนวคิด “รวมใจภักดิ์ รักษ์น้ำบาดาล” เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ทุกภาคส่วนได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์กับการอนุรักษ์ทรัพยากร น้ำบาดาล สร้างการรับรู้ให้ประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเล็งเห็นความสำคัญของวันที่ 3 เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันน้ำบาดาลแห่งชาติ พร้อมจัดกิจกรรมเผยแพร่เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านน้ำบาดาล รวมถึงการดำเนินโครงการบริหารจัดการน้ำบาดาลของประเทศ เมื่อเร็วๆ นี้ ที่โรงแรมสวิสโฮเต็ล รัชดา กรุงเทพฯ นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธีเปิดงานวันน้ำบาดาลแห่งชาติ ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2566 โดยมีนายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล พร้อมผู้บริหารกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้บริหารกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ผู้แทนภาครัฐและภาคเอกชน เครือข่ายน้ำบาดาล รวมถึงข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ร่วมให้การต้อนรับและเข้าร่วมกิจกรรมอย่างคับคั่ง จากการที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวั
สมาชิกกลุ่มเกษตรกรบ้านหนองระกำ หมู่ที่ 5 ตำบลเขาชายธง อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ สร้างรายได้จากการพลิกฟื้นไร่อ้อยแห้งตายเป็นไร่เกษตรเชิงผสมผสานตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่สร้างอาชีพที่มั่นคงและรายได้ที่มั่งคั่งจนสามารถปลดหนี้การเกษตรได้ภายในระยะเวลาเพียง 3 ปี ด้วยแหล่งน้ำบาดาลที่มีศักยภาพ บ้านหนองระกำ หมู่ที่ 5 ตำบลเขาชายธง อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่เคยประสบปัญหาขาดแคลนแหล่งน้ำในการเพาะปลูกของเกษตรกร เนื่องจากในอดีตต้องรอน้ำฟ้าในช่วงฤดูฝนเพียงอย่างเดียว และยังเป็นพื้นที่นอกเขตชลประทานล้อมรอบด้วยภูเขา ทำให้พืชไร่ที่ปลูกไว้ยืนต้นตาย อาทิ อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง แต่เมื่อพื้นที่ดังกล่าวได้รับการสนับสนุนโครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรในพื้นที่ประสบภัยแล้ง รูปแบบที่ 1 จากกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ในปี พ.ศ. 2558 จึงทำให้พื้นที่การเกษตรดังกล่าวมีแหล่งน้ำบาดาลเพียงพอในการเพาะปลูกตลอดทั้งปี โดยสมาชิกกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำบาดาลนิยมเพาะปลูกพืชไร่แบบผสมผสาน อาทิ อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง ทานตะวัน กล้วย ไผ่หวาน มะขามเทศ มะเขือยาว มะนาว มะพร้าว และมะม่วง โดยผลผลิตดังกล่าวสามารถเก็