โคก หนอง นา
“การที่ประชาชนเปิดใจยอมรับเอาเรื่องนี้เข้าไปพิจารณา แล้วเกิดเป็นความเชื่อมั่นว่าโครงการนี้จะเป็นเครื่องมือช่วยพัฒนาชีวิตได้อย่างยั่งยืน ไม่เพียงแค่เรื่องเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่ยังช่วยทำให้เกิดสังคมแห่งความรักใคร่ สามัคคี ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมในพื้นที่มีสภาวะที่ดีขึ้น ธรรมชาติสวยงาม ก่อให้เกิดความสุข” นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวตอนหนึ่งใน Live Streaming งานสัมมนา “ทางรอดเกษตรกรยุคโควิด” หัวข้อ “การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล” ทางรอดพลิกฟื้นเศรษฐกิจและสังคม กรณี โคก หนอง นา ถือเป็นตัวอย่างชุมชนต้นแบบ – เกษตรกรต้นแบบ ได้เป็นอย่างดีในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ โดยกรมการพัฒนาชุมชน ได้ดำเนินการทั้งในส่วนที่เป็นภารกิจและงบประมาณของกรมการพัฒนาชุมชน และได้รับงบประมาณเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ตามบัญชีท้าย พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลัง กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 โดยยึดแนวทางการพัฒนา “คน” พัฒนา “พื้นที่” ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเ
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) มีสถานศึกษาประเภทขึ้นตรง จำนวน 9 แห่ง ซึ่งแต่ละแห่งมีหน้าที่รับผิดชอบพื้นที่บริเวณชายแดน หรือพื้นที่บริการในหลายจังหวัด และมีบทบาทหน้าที่ในการจัดการศึกษาและฝึกอบรมด้านอาชีพให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความจำเป็น ความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยมุ่งเน้นให้เกิดการสร้างอาชีพ สร้างรายได้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น ส่งเสริมสนับสนุนการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคมความมั่นคงและการเมือง ประกอบด้วย 1.ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหารอันเนื่องมาจากพระราชดาริ ( ศฝก.) 2.ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดน (ศฝช.) จำนวน 7 แห่ง ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงราย ชุมพร ปัตตานี สระแก้ว อุตรดิตถ์ มุกดาหาร และสุรินทร์ 3.ศูนย์ฝึกอาชีพจังหวัดกาญจนบุรี “สามสงฆ์ทรงพระคุณ” เรียกโดยย่อว่า ศฝส. ศูนย์ฝึกวิชาชีพกาญจนบุรี สามสงฆ์ทรงพระคุณ ศูนย์ฝึกวิชาชีพจังหวัดกาญจนบุรี สามสงฆ์ทรงพระคุณ (ศฝส.) ตั้งอยู่เลขที่ หมู่ที่ 1 ตำบลปากแพรก อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ศฝส. มีอำนาจและหน้าที่หลักดังต่อไปนี้ คือ จัดการศึกษาและฝึกอบรมด้านอาชีพ
โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา” พช. เพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์ ของกรมการพัฒนาชุมชนที่มุ่งหวังว่า จะช่วยทำให้พี่น้องประชาชน มีเศรษฐกิจฐานรากที่มั่นคง ชุมชนพึ่งพาตนเองได้ ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในปี 2565 ซึ่งงานพัฒนาชุมชน ถือได้ว่าเป็นประโยชน์กับพี่น้องประชาชน มีความสำคัญต่อการอยู่รอดของประเทศชาติ โดยเฉพาะการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา” จะเป็นหนทางหนึ่ง ที่จะทำให้กรมการพัฒนาชุมชน เดินไปถึงจุดมุ่งหมายที่ได้วางไว้ นำไปสู่สังคมอุดมคติ ร่วมกันได้อย่างประสบผลสำเร็จ จากการน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่มาประยุกต์สู่ โคก หนอง นา กรมการพัฒนาชุมชน