โคนมอินทรีย์
นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ชัยนาท (สศท.7) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาเกษตรอินทรีย์รายสินค้า กรณีศึกษา น้ำนมดิบอินทรีย์ ในพื้นที่จังหวัดสระบุรี ตามกรอบแนวคิด BCG Economy Model ซึ่งเป็นแนวทางในการยกระดับการผลิตน้ำนมดิบอินทรีย์ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์อื่นๆ เพื่อสร้างรายได้เกษตรกรนำไปสู่ความเป็นอยู่และสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน จากผลการศึกษาของ สศท.7 พบว่า ปัจจุบันมีฟาร์มโคนมอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดสระบุรี จำนวน 8 ฟาร์ม มีพื้นที่ฟาร์มเลี้ยงโคนมอินทรีย์ จำนวน 1,852 ไร่ มีโคนมอินทรีย์ จำนวน 998 ตัว โดยมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ ตำบลซับสนุ่น อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เป็นกลุ่มหลักในการดำเนินการ และมีเครือข่ายฟาร์มโคนมภายใต้การดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจฯ จำนวน 5 ฟาร์ม ผู้ประกอบการรายเดี่ยว 2 ฟาร์ม และส่วนองค์กรรัฐวิสาหกิจ 1 ฟาร์ม ได้แก่ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) สำนักงานภาคกลาง โดยทุกฟาร์มผ่านการรับรองมาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์ Organic Thailand และได้มีการดำเนินงานและบ
ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วงศ์สุวรรณ ผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) เปิดเผยว่า จากการที่ อ.ส.ค.ได้พัฒนาและปรับเปลี่ยนรูปแบบการเลี้ยงโคนมของฟาร์มโคนม ทำให้ฟาร์มเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจัง ได้รับการรับรองมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์จากกรมปศุสัตว์ จากเดิมประมาณ 133 ไร่เพิ่มขึ้นเป็น 1,000 ไร่ ซึ่ง อ.ส.ค. เป็นฟาร์มที่ตั้งอยู่ที่ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี มีโคนมอินทรีย์กว่า 376 ตัว เป็นแม่โครีดนม ประมาณ 94 ตัว มีกำลังผลิตน้ำนมดิบอินทรีย์ 1,000-1,500 กิโลกรัม/วัน จากเดิมที่มีพื้นที่ฟาร์มโคนมอินทรีย์ จำนวน 134 ไร่ โคนมอินทรีย์ 45 ตัว เป็นแม่โครีดนม 23 ตัว ซึ่งผลิตน้ำนมอินทรีย์ได้วันละ 300-350 กิโลกรัมเท่านั้น การที่ฟาร์มโคนมอินทรีย์ของ อ.ส.ค. ได้รับการรับรองมาตรฐานครอบคลุมทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์ ทำให้สามารถขยายกำลังการผลิตน้ำนมดิบอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น จึงได้นำไปแปรรูปเป็นนมพาสเจอร์ไรซ์ออร์แกนิค ตราไทย-เดนมาร์ค “มอร์แกนิค” (Morganic) ป้อนเข้าสู่ตลาดเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่มีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้รักสุขภาพและผู้ที่มีกำลังซื้อ ประกอบกับสินค