โครงการความร่วมมือไทยเยอรมัน
กรมส่งเสริมการเกษตร เดินหน้าโครงความร่วมมือเยอรมัน – ไทย เพื่อพัฒนาเกษตรแปลงใหญ่อย่างยั่งยืน พร้อมเชิญผู้เชี่ยวชาญถ่ายทอดความรู้ด้านจัดการกลุ่ม เครื่องจักรกล และวิเคราะห์ข้อมูล ให้เกษตรกรนำไปพัฒนาระบบเกษตรแปลงใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภา นายรพีทัศน์ อุ่นจิตต์พันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการความร่วมมือระหว่างเยอรมัน – ไทย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการทำเกษตรแปลงใหญ่อย่างยั่งยืนในประเทศไทย ก่อนจะสิ้นสุดโครงการในเดือนสิงหาคม 2566 นี้ว่า ภาพรวมของโครงการเมื่อช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา เป็นไปด้วยดี โดยโครงการจะเน้นเชิญวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญจากประเทศเยอรมันให้เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านต่าง ๆ ให้กับเกษตรกรแปลงใหญ่นำร่องโครงการโดยตรง แต่ที่ผ่านมา มีความกังวลว่าองค์ความรู้ที่เกษตรกรได้รับจากวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญนั้น เกษตรกรจะสามารถนำไปใช้และวิเคราะห์ผลการดำเนินงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพหรือไม่ จึงมีความคิดจะปรับกระบวนการทำงาน โดยใช้หลักของ TOT หรือ Training of Trainers Workshop เข้ามาดำเนินการ จึงได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไป เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 ท
การเพิ่มพื้นที่ “การทำนาข้าวที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ” มีศักยภาพสูงมากในการลดผลกระทบและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เมื่อเกษตรกรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่คุณค่าการผลิตข้าวตระหนักถึงประโยชน์ที่ได้และร่วมมือกันเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ วิทยากรหลักและวิทยากรเกษตรกรมากกว่า 30,000 คน ได้รับการฝึกอบรมการผลิตข้าวยั่งยืน เพื่อขับเคลื่อนแนวปฏิบัติอย่างยั่งยืนในการผลิตข้าวตามมาตรฐานสากล ผลลัพธ์ความร่วมมือไทย-เยอรมัน ช่วยให้ภาคเกษตรไทยสามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 915,053 ตันคาร์บอนได้ออกไซด์เทียบเท่า 7 ธันวาคม 2565 – โครงการความร่วมมือไทย-เยอรมันด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาคเกษตรกรรม (Thai-German Climate Programme – Agriculture) ประกาศความสำเร็จสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมวิถีการปลูกข้าวลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทยให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาระบบการตรวจวัด รายงานและทวนสอบ (Monitoring, Reporting and Verification: MRV) สำหรับภาคส่วนข้าว นับเป็นความก้าวหน้าของภาคเกษตรไทยในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้