โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.)
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือสนับสนุนทุนนิสิตปริญญาเอก ภายใต้โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) และโครงการ Frontier Talents Program (FTP) ณ ห้องพลังไทย ชั้น M อาคาร 2 สำนักงานใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) เป็นสถาบันการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ริเริ่มก่อตั้งโดยกลุ่ม ปตท. ได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากพันธมิตรร่วมอุดมการณ์ด้วยเห็นถึงความสำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อนำองค์ความรู้ขั้นสูงต่อยอดไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมชั้นแนวหน้า ทั้งผลิตบุคลากรวิจัยที่มีคุณภาพทัดเทียมระดับนานาชาติ เพื่อเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนประเทศชาติต่อไป พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงฯ ได้รับเกียรติจาก ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร นายกสภาสถาบันวิทยสิริเมธีเป็นสักขีพยานผู้ทรงเกียรติ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทำหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นผู้ลงนามฝ่ายสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ศาสตราจารย์ ดร. จำรัส ลิ้มตระกูล อธิการบดีส
การเพิ่มศักยภาพและมาตรฐานบุคลากรอุดมศึกษา : บ่มเพาะและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม เป็นกิจกรรมที่อยู่ภายใต้การพัฒนาศักยภาพนักวิจัยและนักประดิษฐ์สายอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรม ให้กับเยาวชนและบุคลากรระดับอุดมศึกษา ซึ่งเป็นฟันเฟืองสำคัญในการทำให้เกิดงานวิจัยและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ที่รองรับการเปลี่ยนแปลงของบริบทสังคม เศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว และฉับพลัน การพัฒนาประเทศ พัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาผลิตภัณฑ์ ธุรกิจ สินค้าและการบริการ จำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพ กำลังคน บนพื้นฐานความรู้ ด้านการวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งจะเป็นหัวใจสำคัญในการนำพาประเทศไปสู่ความก้าวหน้าและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรม โดยการออกแบบระบบพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรม เป็นลำดับขั้นบันได เริ่มตั้งแต่ นักวิจัยรุ่นเยาว์ ระดับอาชีวศึกษา โครงการสนับสนุนทุนส่งเสริมการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ผ่
วช. จับมือ จุฬาฯ สร้างนักวิจัยระดับปริญญาเอกศักยภาพสูง สร้างงานวิจัยคุณภาพ เผยแพร่ในระดับนานาชาติ ภายใต้โครงการ คปก. และ C2F เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2563 ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ทำหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ร่วมพิธีลงนามความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ในการสนับสนุนทุนปริญญาเอกศักยภาพสูง ภายใต้โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) และโครงการสร้างเสริมพลังจุฬาฯ ก้าวสู่ศตวรรษที่ 2 (C2F) โดยต้องผลิตผลงานวิจัยในวารสารชั้นนำระดับนานาชาติ ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า “เงินทุนจาก C2F ได้เสริมพลังให้ผลงานวิจัยของจุฬาฯ ไปสู่เป้าหมายทัดเทียมในระดับนานาชาติ เป็นที่น่ายินดี ที่ในปี 2562 มีนิสิตปริญญาเอก ของจุฬาฯ ที่สามารถรับทุน คปก. รุ่น 22 ควบคู่ไปกับทุน C2F จุฬาฯ รวม 11 ทุน และ มีอาจารย์ที่ปรึกษา จำนวน 10 ท่าน จาก 6 คณะ คือ คณะแพทยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะสหเวชศา
ภารกิจสำคัญของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในการเตรียมประเทศไทยในศตวรรษที่ 21 โดยมีเป้าหมายสำคัญ 3 ด้าน คือ การสร้างและพัฒนาคน การวิจัยเพื่อสร้างความรู้ และการสร้างและพัฒนานวัตกรรม ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2562 “สำนักงาน การวิจัยแห่งชาติ (วช.)” หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีภารกิจสำคัญด้านการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมหลักของประเทศ จากบทบาทดังกล่าว วช. ดำเนินการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องในหลากหลายประเด็นสำคัญของประเทศ ซึ่งหนึ่งในภารกิจสำคัญ คือการสนับสนุนทุนวิจัยเพื่อการตอบโจทย์ เรื่องการ “สร้างคน” สอดคล้องกับ การดำเนินงานที่ผ่านมาของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) หรือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เดิม ทำหน้าที่ดูแลโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) มากว่า 20 ปี สร้างนักวิจัยระดับปริญญาเอกที่มีคุณภาพสูงให้กับประเทศ และ “สร้างปัญญา” ด้วยการผลิต ผลงานวิจัยที่ได้มาตรฐานสากล และยังสร้างความเข้มแข็งให้กับหลักสูตรและระบบบัณฑิตศึกษา ตลอดจนระบบวิจัยในมหาวิทยาลัยไทย อีกทั้งทำให้เ