โครงการฟาร์มตัวอย่างตามแนวพระราชดำริ
ทุกวันนี้ ราคายางพาราอยู่ในช่วงตลาดขาลง ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางพารามีรายได้ลดน้อยลงตามไปด้วย แต่กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่บ้านคำสมบูรณ์ อำเภอบึงโขงหลง ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้น พวกเขาหันมาปลูก “เสาวรส” เป็นไม้ผลริมรั้ว เพื่อขายผลสดและแปรรูป สร้างมูลค่าเพิ่มในรูปน้ำเสาวรส ปรากฏว่าขายดิบขายดี จนผลิตไม่ทันกับความต้องการของตลาด พวกเขาเตรียมขยายพื้นที่ปลูกเสาวรสมากขึ้น พร้อมรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในท้องถิ่น เพื่อขยายกำลังผลิตน้ำเสาวรสให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดในอนาคต การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนเกษตรกรชาวสวนยางพาราบ้านคำสมบูรณ์ สอดคล้องกับนโยบายของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ “คุณนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร” ที่อยากเห็นพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางพาราตัดโค่นต้นยางเก่าที่หมดอายุ หรือแบ่งที่ดินว่างเปล่านำมาปลูกผลไม้ เป็นสินค้าทางเลือกตัวใหม่เสริมรายได้ในครัวเรือน วิธีนี้จะช่วยกระจายความเสี่ยงในการลงทุนแทนการปลูกยางพาราเป็นพืชเชิงเดี่ยวเหมือนในอดีต จุดเริ่มต้น คุณธีรวัฒน์ พันสุวรรณ์ เกษตรกรชาวสวนยางพารา บ้านคำสมบูรณ์ ตำบลบึงโขงหลง ได้โอกาสไปศึกษาดูงานเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ณ โคร
หลังจากเหตุอุทกภัยครั้งใหญ่ในปี พ.ศ.2549 ที่จังหวัดอ่างทอง ราษฎรจำนวนมากไม่สามารถกลับไปประกอบอาชีพในที่ดินของตนได้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จึงทรงก่อตั้งศูนย์ศิลปาชีพสีบัวทองและโครงการฟาร์มตัวอย่างตามแนวพระราชดำริบ้านยางกลางขึ้น ที่ ต.สีบัวทอง อ.แสวงหา จ.อ่างทอง เพื่อให้ราษฎรดังกล่าวสามารถกลับมายืนหยัดได้ด้วยตนเองอีกครั้ง เพื่อเปิดประสบการณ์เรียนรู้นอกสถานที่ทั้งงานหัตถกรรมและการเกษตร จึงได้จัดกิจกรรมเยี่ยมชมศูนย์ศิลปาชีพสีบัวทองและโครงการฟาร์มตัวอย่างตามแนวพระราชดำริบ้านยางกลาง โดยมีปิยวรา ทีขะระ เนตรน้อย ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสามี จูงลูกสาวตัวน้อย น้องมัดหมี่ มาร่วมทำกิจกรรมกันอย่างสนุกสนาน สำหรับกิจกรรมต่างๆ ภายในศูนย์ ในช่วงเช้าผู้เยี่ยมชมจะได้เพลิดเพลินกับธรรมชาติของแปลงเกษตรขนาด 1,000 ไร่ พร้อมชมโครงการฟาร์มตัวอย่าง และได้ลงมือทำกิจกรรมต่างๆ อาทิ เรียนรู้การเลี้ยงสัตว์ภายในฟาร์ม เช่น แพะพันธุ์นม หมูจิ้นหัว และกบ, ทดลองปลูกและเก็บผัก, เรียนรู้การทำปุ๋ยมูลไส้ดิน, เพาะเห็ดและเก็บเห็ดพันธุ์ เป็นต้น จากนั้น ดับกระหายด้วยไอติมหว