โคเนื้อลูกผสม
รศ.ดร.ศกร คุณวุฒิฤทธิรณ อาจารย์ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันโคเนื้อมีการเลี้ยงให้มีคุณภาพมากขึ้น เพื่อให้ได้เนื้อในปริมาณที่สามารถทำกำไรให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยง ซึ่งการนำโคเนื้อเข้ามาสู่กระบวนการขุนนั้น ไม่ได้กำหนดสายพันธุ์โคที่ตายตัว แต่จะเน้นเป็นโคเนื้อที่เป็นสายพันธุ์ลูกผสมเป็นส่วนใหญ่ โดยจะนำพันธุ์โคเนื้อจากต่างประเทศเข้ามาผสมกับโคเนื้อพันธุ์ไทยและโคเนื้อลูกผสมพันธุ์ไทย จนได้เป็นโคเนื้อลูกผสมที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงภายในสภาพแวดล้อมของประเทศไทย และสัดส่วนของเนื้อหรือซากที่เยอะขึ้นกว่าเดิม โดยโคเนื้อลูกผสมชาโรเล่ส์และโคเนื้อลูกผสมแองกัส เป็นสายพันธุ์ลูกผสมที่จะเน้นมาทำการขุน เพราะโครงสร้างของโคลูกผสมทั้ง 2 ชนิดนี้ มีลักษณะที่ใหญ่ เจ้าเนื้อ และเมื่อนำมาสู่กระบวนการขุนจึงทำให้เนื้อมีรสชาติดี มีความหอม มีคุณสมบัติพิเศษของเนื้อที่ดี ทำให้เนื้อมีคุณภาพสม่ำเสมอเป็นที่ต้องการของตลาด และสามารถทำตลาดได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อมีการควบคุมและการเลี้ยงให้มีมาตรฐานเดียวกัน “อย่างที่เราทราบกัน เกษตรกรบ้านเรามีองค์ความรู้ที่เก่ง เลี้ยงโคเนื้อได้ประสบผลสำเร็จ เพราะฉะนั
ปัจจุบันการเลี้ยงโคในหลายพื้นที่เกษตรกรเริ่มให้ความสำคัญกับการเลี้ยงแบบประหยัดต้นทุนมากขึ้น โดยแบ่งพื้นที่ทางการเกษตรของตนเองบางส่วนมาปลูกหญ้าสำหรับให้สัตว์ได้กิน ซึ่งการมีแปลงหญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ของตนเองนั้น จึงช่วยให้สัตว์ที่เลี้ยงอย่างเช่นโคได้มีอาหารกินตลอดทั้งปี และช่วยให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตได้มากขึ้น ส่งผลให้เวลาที่ต้องจำหน่ายโคออกสู่ท้องตลาดแต่ละช่วงจึงสร้างผลกำไรมากขึ้น และไม่เกิดภาวะหนี้สิน และนอกจากนี้ ยังมีการรวมกลุ่มกันผลิตแปลงหญ้า หรือกลุ่มผู้เลี้ยงโคที่มีความเข้มแข็ง ทำให้สมาชิกภายในกลุ่มสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาร่วมกันแล้ว ในเรื่องของการทำตลาดสามารถต่อรองในการซื้อขายได้เป็นอย่างดี จึงทำให้ไม่ถูกเอาเปรียบจากการจำหน่ายโคในแต่ละครั้งอีกด้วย คุณสีนวน กรุชวงษ์ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อลูกผสมชาวจังหวัดพิษณุโลก ได้แบ่งพื้นที่ของตนเองจากทำพืชไร่มาเลี้ยงโคเนื้อเพื่อสร้างรายได้ พร้อมกับปลูกทำแปลงหญ้าในพื้นที่ของตนเอง จึงทำให้โคภายในฟาร์มมีหญ้ากินตลอดทั้งปี ส่งผลให้การเลี้ยงโคสามารถประหยัดต้นทุนได้เป็นอย่างดี ยิ่งไปกว่านั้นเขายังไ