โรคแอนแทรกโนส
กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยองค์ความรู้เรื่อง “คู่มือสำหรับเกษตรกร การผลิตฟ้าทะลายโจร” เพื่อให้เกษตรกรและผู้สนใจนำไปปรับใช้ผลิตฟ้าทะลายโจร ให้ได้ผลผลิตที่่ปลอดภัยและมีคุณภาพ ภายในคู่มือประกอบด้วย ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ฟ้าทะลายโจร สารสำคัญในฟ้าทะลายโจร การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี สำหรับพืช 1. โรคพืชสำคัญของฟ้าทะลายโจร โดยทั่วไป ต้นฟ้าทะลายโจรที่มีอายุ 2-3 เดือน ไม่ค่อยพบการระบาดของโรค แต่จะพบโรคมากในช่วงออกดอกจนถึงติดฝัก ซึ่งเป็นโรคที่พบมาก มีดังนี้ 1.1 โรคโคนเน่าและรากเน่า เชื้อสาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Phytohpthora sp. ลักษณะอาการ ต้นเริ่มเหี่ยว เหลือง ใบร่วง โคนต้นมีอาการเน่าและต้นตาย มักพบการแพร่ระบาดมากในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม แนวทางป้องกันกำจัดโรค ต้องใช้เชื้อราปฏิปักษ์ Trichoderma harzianum อัตราตามคำแนะนำหรือหากรุนแรงมากให้ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราเมทาแลกซิล ราดตามคำแนะนำในฉลาก 1.2 โรคแอนแทรกโนส เชื้อสาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Collectotrichum sp. ลักษณะอาการ ใบของฟ้าทะลายโจรจะมีจุดแผลแห้งเล็กๆ สีน้ำตาลและขยายเป็นงวงซ้อนกันเป็นชั้น การป้องกันกำจัด เมื่อพบให้ถอนทิ้งและโรย
ในระยะนี้มีอากาศเย็น และมีอุณหภูมิลดต่ำลง กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอรี่เฝ้าระวังการระบาดของ 2 โรค คือ โรคราแป้ง และโรคแอนแทรกโนส สามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของสตรอเบอรี่ สำหรับโรคราแป้งจะพบเชื้อรามีลักษณะเป็นผงสีขาวคล้ายผงแป้งขึ้นกระจัดกระจายตามส่วนต่างๆ ของพืช เมื่ออาการรุนแรงจะทำให้เกิดแผลใต้ใบสตรอเบอรี่เปลี่ยนเป็นสีม่วง และใบบิดม้วนขึ้น ถ้าเป็นที่ผลจะทำให้ผลมีขนาดเล็กและสีไม่สม่ำเสมอกัน เกษตรกรต้องหมั่นดูแลและบำรุงรักษาต้นสตรอเบอรี่ให้มีความแข็งแรง สมบูรณ์ หมั่นกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อลดการระบาดของโรค และควรหมั่นสำรวจตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบโรคให้รีบเก็บใบหรือส่วนที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที จากนั้นให้พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชเบโนมิล 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 6 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5–7 วัน ส่วนโรคแอนแทรกโนส มักพบอาการบนก้านใบและลำต้น มีแผลสีม่วงแดงขนาดเล็กขยายลุกลามไปตามความยาวของก้านใบและลำต้น ต่อมาเปลี่ยนเป็นแผลสีน้ำตาล เนื้อเยื่อบริเวณแผลแห้งทำให้เกิดรอยคอด หากอาการรุนแรงต้นจะเหี่ยว และตายในที่สุด อาการบนผล พบแผลฉ่ำน้ำสีน้ำตาลเข้ม
อากาศร้อน และมีฝนตกในบางพื้นที่ระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกมะปรางและมะยงชิดให้ระวังโรคแอนแทรกโนส มักพบเชื้อราสาเหตุโรคเข้าทำลายพืชได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ใบ พบแผลรูปร่างไม่แน่นอน ขอบแผลชัดเจนสีน้ำตาลเข้ม กลางแผลสีน้ำตาลอ่อน บางใสกว่าเนื้อใบรอบๆ กรณีมีความชื้นสูง แผลจะเพิ่มจำนวนขยายใหญ่อย่างรวดเร็วติดต่อกันทั้งใบ ทำให้ใบบิดเบี้ยว หรือไหม้แห้ง หากรุนแรงถึงระยะออกดอก เชื้อราสาเหตุโรคจะเข้าทำลายช่อดอก โดยเห็นเป็นจุดสีน้ำตาลดำกระจายบนก้านดอก ทำให้ดอกเหี่ยวและหลุดร่วงไม่ติดผล ผลอ่อน จะพบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำและร่วงหล่น เชื้อราสาเหตุโรคจะแฝงอยู่ที่ผลอ่อนโดยไม่แสดงอาการของโรค แต่จะแสดงอาการเมื่อผลแก่ โดยพบจุดแผลสีดำเล็กๆ ต่อมาแผลขยายลุกลามและบริเวณแผลอาจพบรอยแตก ทำให้ผลเน่าในที่สุด เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบพืชเริ่มมีอาการของโรค ให้ตัดแต่งกิ่งและเก็บส่วนที่เป็นโรคนำไปทำลายทิ้งนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรค และกำจัดวัชพืชรอบโคนต้น เพื่อลดความชื้นในทรงพุ่ม จากนั้นให้ควบคุมปริมาณธาตุอาหารให้เหมาะสม ไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีค่าไนโตรเจนมากเกินไป ภายหลังเก็บเกี่ยว
สภาพอากาศเย็นลง มีหมอกในตอนเช้า และมีฝนตกบางพื้นที่ระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะให้เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟเฝ้าระวังการระบาดของโรคแอนแทรกโนส จะพบในระยะที่ต้นกาแฟเริ่มติดผลจนถึงระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต อาการที่ใบ พบได้ทั้งใบอ่อนและใบแก่ ลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาล เนื้อเยื่อกลางแผลตาย ถ้ารุนแรงแผลขยายขนาดเป็นแผลใหญ่ ทำให้ใบแห้งไหม้ทั้งใบ อาการที่กิ่ง จะพบบนกิ่งเขียวไหม้ ทำให้ใบเหลืองและร่วง กิ่งเหี่ยวและแห้งทั้งกิ่ง อาการที่ผล พบได้ทั้งผลอ่อนและผลแก่ เริ่มแรกผลจะมีจุดสีน้ำตาลเข้ม หากรุนแรง จุดขยายรวมกันเป็นแผลรูปร่างไม่แน่นอน เนื้อเยื่อแผลยุบตัว กรณีพบที่ผลอ่อนจะทำให้ผลไม่พัฒนาเป็นเมล็ดและเปลี่ยนเป็นสีดำ แต่ผลยังคงติดอยู่บนกิ่งต้นกาแฟ ส่วนพบที่ผลแก่จะทำให้ผลสุกแก่เร็วขึ้น สำหรับต้นกาแฟในระยะติดผล เกษตรกรควรหมั่นสำรวจและป้องกันกำจัดมอดเจาะผลกาแฟอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากมอดเจาะผลกาแฟจะทำให้ผลเกิดบาดแผลที่เป็นช่องทางให้เชื้อราเข้าทำลายผลได้มากขึ้น จากนั้นเกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูกและเก็บผล ตัดแต่งกิ่ง ใบ ดอก และส่วนที่เป็นโรคที่ร่วงอยู่ใต้ต้น นำไปทำลายนอกแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งควรรักษาระดับร่มเงาให้เหม
ในช่วงนี้มีฝนฟ้าคะนองกระจายทุกพื้นที่ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกอะโวกาโดให้เตรียมรับมือการระบาดของโรคแอนแทรกโนส สามารถพบได้ในระยะที่ต้นอะโวกาโดติดผลอ่อนถึงระยะผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว อาการที่ใบ ในระยะแรกอาการของโรคจะเห็นเป็นจุดแผลสีน้ำตาลเข้ม ต่อมาแผลขยายตัวมีหลายแผลใน 1 ใบ หากอาการรุนแรง แผลจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว ใบจะแห้งและร่วงหล่น อาการที่ก้านใบ กิ่ง และก้านช่อดอก พบแผลจุดหรือขีดสีม่วง ถ้าอาการรุนแรงแผลจะขยายลุกลามทำให้ก้านใบและกิ่งแห้ง หากเกิดที่ก้านช่อดอกจะทำให้ช่อดอกเหี่ยว แห้ง และหลุดร่วงก่อนติดผล อาการที่ผล ผลอ่อนเป็นจุดแผลสีน้ำตาลถึงดำ หากอาการรุนแรง ผลจะหลุดร่วงก่อนกำหนด อาการบนผลแก่ มักพบในระยะใกล้เก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต พบแผลจุดสีน้ำตาลถึงดำรูปร่างกลมขนาดไม่แน่นอน ต่อมาแผลขยายลุกลามเป็นแผลยุบตัวในเนื้อผล ทำให้ผลเน่า บางครั้งพบเมือกสีส้มซึ่งเป็นส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราที่บริเวณแผล เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบเริ่มมีอาการระบาดของโรคแอนแทรกโนส ให้เกษตรกรตัดแต่งและเก็บส่วนที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายทิ้งนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรค จากนั้นควรก
จากสภาพอากาศร้อน มีแสงแดดจัด สลับกับมีท้องฟ้ามืดครึ้มบางช่วงของวัน และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงให้เฝ้าระวังโรคแอนแทรกโนสที่สามารถพบได้ในระยะที่เริ่มปลูกหอมแดง มักพบแสดงอาการของโรคบนใบ กาบใบ คอ หรือส่วนหัว โดยเริ่มแรกพบจุดเล็กสีเขียวหม่นฉ่ำน้ำ ต่อมาแผลขยายใหญ่เป็นแผลรูปกลม หรือรี เนื้อแผลยุบลงเล็กน้อย บนแผลมีหยดของเหลวสีชมพูอมส้ม เมื่อแผลแห้งจะเห็นเป็นตุ่มเล็กสีน้ำตาลดำ เรียงเป็นวงรีซ้อนกันหลายชั้น ถ้าแผลขยายใหญ่หรือหลายแผลมาชนกัน จะทำให้ต้นหอมแดงหักพับ แห้งตาย หรือเน่าตายทั้งต้น ทำให้ผลผลิตลดลง หากแสดงอาการของโรคในระยะที่ต้นหอมแดงยังไม่ลงหัว จะพบแสดงอาการต้นแคระแกร็น ใบบิดเป็นเกลียว ไม่ลงหัว ถ้าเป็นโรคในระยะที่หอมเริ่มลงหัว จะทำให้หัวลีบยาว บิดโค้งงอ ส่วนคอมักยืดยาว มีระบบรากสั้นกว่าปกติ ทำให้ไม่ได้ผลผลิต แนะนำให้เกษตรกรหมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดการสะสมเชื้อสาเหตุโรค ถ้าพบต้นที่เป็นโรค ให้ถอนต้นที่พบเชื้อรานำไปเผาทำ ลายนอกแปลงปลูกทันที จากนั้นให้เกษตรกรพ่นด้วยสารโพรคลอราช 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20 กรัม ต่อน