โรคใบจุด
ในช่วงนี้มีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกเบญจมาศเฝ้าระวังการระบาดของโรคใบจุด สามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของเบญจมาศ อาการเริ่มแรกพบแผลจุดเล็กค่อนข้างกลมสีน้ำตาลเข้มบนใบ ต่อมาแผลขยายใหญ่ขึ้น บางครั้งขอบแผลมีสีเหลือง บริเวณแผลพบส่วนของเชื้อราเป็นจุดสีดำเล็กๆ เกิดกระจายทั่วแผล อาการของโรคมักเกิดกับใบล่างก่อน หากระบาดรุนแรง แผลจะลามขยายติดกัน ทำให้ใบไหม้ ร่วงหล่น และลุกลามถึงใบยอดจนใบไหม้ทั้งต้น นอกจากนี้ ให้เกษตรกรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบโรคให้ตัดส่วนที่เป็นโรคและเก็บใบเป็นโรคที่ร่วงหล่นไปทำลายนอกแปลงปลูก หากโรคยังคงระบาดให้พ่นด้วยสารไดฟีโนโคนาโซล 25% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารโพรพิโคนาโซล 25% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคลอโรทาโลนิล 50% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นทุก 7 วัน หลังจากหมดฤดูปลูกแล้ว เกษตรกรควรทำความสะอาดและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก โดยเก็บเศษซากพืชไปทำลายนอกแปลงปลูก จากนั้นตัดแต่งใบแก่ออก เพื่อให้ต้นโปร่งอากาศถ่ายเทสะดวก สำหรับแปลงที่เกิดโรคระบาด งดการให้น้ำแบบพ่นฝอ
ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลกะหล่ำ อาทิ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก คะน้า ผักกาดขาว และบร็อกโคลี่ ให้เตรียมรับมือการระบาดของโรคใบจุด ที่สามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช ระยะต้นกล้า จะพบแผลเล็กสีน้ำตาลเข้มที่ลำต้น โดยพืชจะแสดง อาการคล้ายโรคเน่าคอดิน ทำให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโต ระยะต้นโตถึงระยะเก็บผลผลิต มักพบบนใบและก้านใบเกิดแผลจุดเล็กสีเหลือง ต่อมาแผลขยายใหญ่ขึ้นเป็นวงค่อนข้างกลมเรียงซ้อนกันเป็นชั้นสีน้ำตาลเข้มถึงดำ เกษตรกรควรเลือกใช้เมล็ดพันธุ์สะอาดที่มีคุณภาพดีจากแหล่งปลอดโรค ก่อนปลูกควรแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส (การเตรียมน้ำอุ่นโดยต้มน้ำจนเดือดแล้วเติมน้ำอุณหภูมิปกติลงไปอีก 1 เท่า) นาน 20-30 นาที หรือคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราไอโพรไดโอน 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 5-10 กรัม ต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม โดยควรปลูกพืชให้มีระยะห่างกันพอสมควร ให้มีแสงแดดส่องผ่านได้ ไม่เบียดแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความชื้นสูง อากาศไม่ถ่ายเท และโรคระบาดได้รวดเร็ว หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว ให้เกษ
เกษตรกรผู้ปลูกถั่วฝักยาว ควรเฝ้าระวังโรคพืช 2 ชนิดที่มักเกิดในช่วงฤดูฝน คือโรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อราเซอโคสปอร่า และโรคราสนิมที่เกิดจากเชื้อรายูโรมายเซส ซึ่งสามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของถั่วฝักยาว โรคใบจุด อาการโรคใบจุด สังเกตได้จาก จุดแผลสีน้ำตาลปนแดงขนาดเล็กที่ใบล่างใกล้ผิวดิน ต่อมาแผลขยายใหญ่กลมสีน้ำตาล ขอบแผลไม่สม่ำเสมอ กลางแผลมีจุดไข่ปลาเล็กสีเทาดำเรียงเป็นวงกลมซ้อนกันหลายชั้น ถ้ารุนแรง แผลกระจายทั่วบนใบ และพบเชื้อราขึ้นปุยสีน้ำตาลเข้มที่หลังใบ ใบแห้งกรอบและร่วง ลำต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง หากพบโรคดังกล่าว กรมวิชาการเกษตรแนะนำให้เกษตรกรตัดใบที่เป็นโรคไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก และพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราเบโนมิล 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 15-20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไทโอฟาเนต-เมทิล 70% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคลอโรทาโลนิล 50% เอสซี อัตรา 40-60 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7 วัน โรคราสนิม ส่วนโรคราสนิม มักพบในระยะถั่วฝักยาวเริ่มออกดอก มักพบอาการโรคราสนิมบริเวณใต้ใบแก่เหนือผิวดินก่อนแล้วค่อยลามขึ้นด้านบนของลำต้น มักมีจุดแผลสีเหลืองซีด กลางแผล