โรงสีข้าว
สหกรณ์นิคมแม่สอด จำกัด มีสมาชิก จำนวน 2,541 ครอบครัว ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่ข้าวโพด ถั่วเขียว และนาข้าว โดยเฉพาะนาข้าวที่มีพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิมากถึง 5,000 ไร่ ซึ่งสหกรณ์ได้ส่งเสริมการผลิตเพื่อให้ได้ข้าวหอมมะลิคุณภาพดี มีการจัดหาปัจจัยการผลิต เมล็ดพันธุ์ดี เงินทุน และพัฒนาองค์ความรู้ให้กับสมาชิก มีการทำการเพาะปลูกแบบพันธะสัญญา และทำการรวบรวมผลผลิต จึงทำให้สมาชิกมีตลาดรองรับผลผลิตที่แน่นอน ไม่ถูกเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง อีกทั้งสหกรณ์ยังเป็นกลไกสำคัญของรัฐในการช่วยเหลือพยุงราคาผลผลิตทางการเกษตรไม่ให้ตกต่ำ เช่น โครงการชะลอการขายข้าว และสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งในแต่ละปีสหกรณ์ได้ดำเนินการรวบรวมข้าวเปลือกของสมาชิกมีปริมาณค่อนข้างสูง ปีละ 1,000-2,000 ตัน ส่วนหนึ่งได้ทำเมล็ดพันธุ์จำหน่าย และอีกส่วนหนึ่งรอราคาขายให้กับโรงสี ในขณะเดียวกัน ตามมติที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์นิคมแม่สอด จำกัด โดยได้จัดสรรงบประมาณของสหกรณ์กว่า 1.96 ล้านบาท ทำการก่อสร้างโรงสีข้าว ขนาด 10 ตันต่อวัน เพื่อแปรรูปข้าวสาร เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม ลดปัญหาการขาดทุนหากสหกรณ์จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ไม่หมดหรือราคาข้าวตกต่ำ ทั้งนี้ ในอำเภอแม่
เมื่อวันที่ 24 มกราคม นางมิ่งขวัญ พุกเปี่ยม ประธานชมรมโรงสีข้าวจังหวัดพิจิตร เปิดเผยว่า การขึ้นค่าแรงนั้นไม่กระทบกับโรงสีเนื่องจากโรงสีนั้นค่าแรงของคนงานต่างๆ สูงอยู่แล้วโดยเฉพาะช่าง หรือวิศวกร เพราะเราจ้างต่อคนวันละ 500 บาท ขั้นต่ำโรงสีจ้าง 450 บาท เท่านั้น แต่จะมีผลกระทบบ้างคือกรรมกรแต่ไม่เยอะ โรงสีจะทำอะไรได้ เมื่อทางรัฐบาลจะปรับราคากรรมกร ก็ต้องทำตามนโยบายอยู่แล้วถ้าจะกระทบจริงๆ ก็น่าจะเป็นค่าแรงกรรมกรก่อสร้าง ผู้รับเหมา เพราะเขาใช้แรงงาน แต่กรรมกรแบกหามโรงสีนั้นส่วนใหญ่จะใช้เครื่องจักร ใช้แรงงานส่วนน้อยเพราะเราจ้างเป็นกระสอบ นางมิ่งขวัญกล่าวอีกว่า ราคาข้าวจังหวัดพิจิตรขณะนี้เริ่มดีแล้ว ตันละ 7,000 กว่าบาท ทุกจังหวัดชาวนาพอใจ มีแต่จังหวัดพิจิตรมีชาวนาบางคนไม่พอใจในเรื่องราคาข้าวซึ่งอยู่ที่ข้าวเปลือกว่ามีมาตรฐานอยู่ในเกณฑ์ดีหรือไม่ ซึ่งราคาข้าวหอมมะลิอยู่ที่ตันละกว่า 10,000 บาท ส่วนข้าวอื่นก็อยู่ในราคาตันละ 7,000 บาท ซึ่งยอมรับว่าดีกว่าเดิม ที่มา : มติชนออนไลน์
โรงสีสงขลาเครียดแบงก์ไม่ปล่อยสินเชื่อ ขาดเงินซื้อข้าว สะเทือนชาวนาเสียค่าขนส่งขายพื้นที่อื่น ขณะที่โรงสีมีกำลังซื้อกลับเจอเคราะห์ซ้ำ เหตุน้ำท่วมข้าวนครศรีฯ-พัทลุง-สงขลา ทำปี 2561 ผลผลิตลดฮวบ 40% ไม่เพียงพอต่อกำลังการผลิต นายสมศักดิ์ พานิช เจ้าของโรงสีข้าว ทิพย์พานิช และประธานชมรมโรงสีข้าว อ.ระโนด จ.สงขลา เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภาวะราคาค้าข้าวเจ้า ในปี 2561 แนวโน้มราคาจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ประมาณ 6,500 บาท/ตัน ที่ความชื้น 25-30% ปัจจัยสำคัญมาจากตลาดราคาข้าวที่ส่วนกลาง และกรุงเทพฯ เป็นผู้กำหนดราคา ทำให้ข้าวภาคใต้ต้องดำเนินการตาม หากราคาข้าวทางภาคใต้ตั้งราคาเองไว้สูงกว่า ก็จะไม่ได้รับการบริโภค นายสมศักดิ์กล่าวว่า สำหรับนาข้าว จ.สงขลา มีประมาณ 250,000 ไร่ มีข้าวประมาณ 12,000 ตัน/ปี และยังมีนาข้าวรายใหญ่ที่ จ.พัทลุง จ.นครศรีธรรมราช ขณะที่โรงสีข้าวใน จ.สงขลา มีอยู่กว่า 35 โรง มีขนาดกำลังการผลิตตั้งแต่ 30 ตัน และกว่า 50 ตัน ช่วงหลังโรงสีเริ่มชะลอตัวไม่มีการลงทุนเพิ่ม เนื่องจากใช้เงินลงทุนกันไปมากในช่วงปี 2557 เพื่อรองรับนโยบายของรัฐบาล เช่น โครงการรับจำนำข้าว อย่างโรงสีข้าวทิพย์พานิช ได้
บริษัท ข้าว ซี. พี. จำกัด (โรงสีข้าวสุพรรณบุรี) ได้รับรางวัลชนะเลิศ ด้านการอนุรักษ์พลังงานประเภท Special submission industry โดยปิยะ กุมารา (ผู้จัดการทั่วไป) เป็นตัวแทน บริษัท ข้าว ซี. พี. จำกัด ขึ้นรับมอบรางวัลดีเด่นด้านพลังงาน จาก lr. Dr.Sanjayan Velautham (ASEAN Center for Energy’s Executive Director) ประธานในพิธีงาน 35th ASEAN ENERGY AWARDS ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมแสดงความยินดีกับบริษัทของประเทศไทยที่ได้รับรางวัล ณ เมืองมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
สุรินทร์ – นายอรรถพร สิงหวิชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เปิดโรงสีข้าวของสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. หรือ สกต.สุรินทร์ โรงสีดังกล่าว สมาชิก สกต.สุรินทร์ ร่วมแรงร่วมใจกันระดมหุ้นลงทุนสร้างโรงสีข้าวเป็นของตนเองขนาดกำลังผลิต 120 ตันต่อวัน มูลค่าการก่อสร้าง 89 ล้านบาท โดยจะนำข้าวเปลือกหอมมะลิคุณภาพดี จากการดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาผลผลิต มาแปรรูปเป็นข้าวสารหอมมะลิคุณภาพดี บรรจุขนาดต่างๆ ภายใต้ตรา A-RICE และตรา สกต.สุรินทร์ ส่งจำหน่ายทั่วประเทศ พร้อมกันนี้ยังได้ร่วมกันปล่อยขบวนรถขนข้าวสารส่งถึงผู้บริโภคด้วย ด้าน นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรฯ กล่าวว่าโรงสีของ สกต.สุรินทร์ เป็นจุดนำร่องที่จะไปยกระดับคุณภาพของชีวิตของเกษตรกร ทางสหกรณ์จึงได้ร่วมหุ้นกันในการเปิดโรงสีของตนเอง เป็นโรงสีที่ทันสมัย ธ.ก.ส.เข้าไปสนับสนุนในเรื่องของเงินทุนหมุนเวียน โรงสีของสกต.สุรินทร์ถือเป็นต้นแบบในการที่จะไปช่วยเหลือเกษตรกรและโรงสีของ สกต.สุรินทร์ เป็นแห่งแรกที่นำเทคโนโลยีที่เรียกว่า RF เทคโนโลยี คือคลื่นวิทยุไปทำให้ไข่มอดฝ่อ จึงมั่นใจว่าข้าวสารที่ออกจาก สกต.สุรินทร์ปลอด
นางสาววิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้พยายามที่จะผลักดันให้ผู้ประกอบการค้าข้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของโรงสี ให้สามารถพัฒนาตนเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และขยายไปทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับข้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการค้าข้าวที่ต้องการขยายตลาดการค้าข้าวทั้งในประเทศและต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์จึงได้มอบหมายให้กรมการค้าภายใน จัดทำโครงการอบรมหลักสูตร “โรงสี 4.0” มองนอกกรอบสู่การค้าข้าวยุคใหม่ขึ้น ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2560 รวม 4 รุ่น ใน 4 ภูมิภาคด้วยกัน ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดขอนแก่น) ภาคเหนือ (จังหวัดพิษณุโลก) ภาคกลาง (จังหวัดสุพรรณบุรี) และภาคใต้ (จังหวัดนครศรีธรรมราช) เนื้อหาการอบรมจะประกอบด้วยหัวข้อที่สำคัญ อาทิ การสร้างตราสินค้า บรรจุภัณฑ์ และการการค้าข้าวผ่านระบบ Online เป็นต้น ในขณะเดียวกันหากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการสามารถหาตลาดส่งออกได้แล้ว หลักสูตรนี้ก็จะช่วยแนะนำให้ผู้ประกอบการได้ทราบถึงขั้นตอนและวิธีการส่งออก เช่น การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ส่งออกและนำเข้า เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับขั้นตอนแ
โรงสีขาดสภาพคล่องหนัก ถูกแบงก์กรุงไทยเข้มงวดปล่อยเงินกู้แพ็กกิ้งสต๊อก-ตั๋ว P/N หลังพบ NPL พุ่ง จากวงเงิน 70,000 ล้านบาท หวั่นขาดเงินซื้อข้าวนาปรังที่จะออกสู่ตลาด 3 เดือนนี้อีก 9 ล้านตันข้าวเปลือก ด้านนายก ส.โรงสีข้าว ดิ้นทำหนังสือถึงพาณิชย์-คลัง ขอให้ช่วยแก้ปัญหา หากแบงก์ยังไม่ปล่อยกู้ หนี้ดีที่มีอยู่ก็จะกลายเป็นหนี้เสียทั้งหมด โรงสีข้าว หนึ่งในกลไกสำคัญของอุตสาหกรรมข้าวครบวงจรในประเทศ กำลังตกอยู่ในสถานะลำบาก เมื่อสถาบันการเงินในประเทศหันมาใช้มาตรการเข้มงวดในการปล่อยกู้ ส่งผลให้โรงสีขาดสภาพคล่องในการซื้อข้าวเปลือกนาปรังและมีแนวโน้มจะส่งผลกระทบถึงราคาข้าวเปลือก โรงสีขาดสภาพคล่อง นายเกรียงศักดิ์ตาปนานนท์ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สมาคมได้ประสานกับกระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์ขอทราบความชัดเจนหลัง สมาคมโรงสีได้ทำหนังสือถึง น.ส.วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ขอให้ช่วยแก้ปัญหาธนาคารกรุงไทยปรับเปลี่ยนนโยบายการให้และใช้วงเงินชนิดตั๋วระยะสั้น (ตั๋ว P/N) หรือแพ็กกิ้งสต๊อก (ตั๋ว P/N) ที่เคยให้กับผู้ประกอบการโรงสีข้าว “ลดลง” โดยไม่แจ้
โรงสีขาดสภาพคล่องหนัก ถูกแบงก์กรุงไทยเข้มงวดปล่อยเงินกู้แพ็กกิ้งสต๊อก-ตั๋ว P/N หลังพบ NPL พุ่ง จากวงเงิน 70,000 ล้านบาท หวั่นขาดเงินซื้อข้าวนาปรังที่จะออกสู่ตลาด 3 เดือนนี้อีก 9 ล้านตันข้าวเปลือก ด้านนายก ส.โรงสีข้าว ดิ้นทำหนังสือถึงพาณิชย์-คลัง ขอให้ช่วยแก้ปัญหา หากแบงก์ยังไม่ปล่อยกู้ หนี้ดีที่มีอยู่ก็จะกลายเป็นหนี้เสียทั้งหมด โรงสีข้าว หนึ่งในกลไกสำคัญของอุตสาหกรรมข้าวครบวงจรในประเทศ กำลังตกอยู่ในสถานะลำบาก เมื่อสถาบันการเงินในประเทศหันมาใช้มาตรการเข้มงวดในการปล่อยกู้ ส่งผลให้โรงสีขาดสภาพคล่องในการซื้อข้าวเปลือกนาปรังและมีแนวโน้มจะส่งผลกระทบถึงราคาข้าวเปลือก โรงสีขาดสภาพคล่อง นายเกรียงศักดิ์ตาปนานนท์ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สมาคมได้ประสานกับกระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์ขอทราบความชัดเจนหลัง สมาคมโรงสีได้ทำหนังสือถึง น.ส.วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ขอให้ช่วยแก้ปัญหาธนาคารกรุงไทยปรับเปลี่ยนนโยบายการให้และใช้วงเงินชนิดตั๋วระยะสั้น (ตั๋ว P/N) หรือแพ็กกิ้งสต๊อก (ตั๋ว P/N) ที่เคยให้กับผู้ประกอบการโรงสีข้าว “ลดลง” โดยไม่แจ้
ที่กองพลทหารราบที่ 11 ค่ายสมเด็จพระนั่งเกล้า อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา อนุกูล ตังคณานุกูลชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมด้วย พล.ต. ณรงค์ พฤกษารุ่งเรือง ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 11 พล.ต.ต. ธีรพล จินดาหลวง ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดฉะเชิงเทรา และผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมกันเปิดแถลงโครงการ “ฉะเชิงเทราโมเดล ช่วยชาวนาเพิ่มรายได้” โดยมีผู้ประกอบการโรงสีและชาวบ้านในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เข้าร่วมรับฟังการแถลงข่าว “อนุกูล” แถลงว่า จากปัญหาราคาข้าวเปลือกตกต่ำ ทำให้ชาวนาได้รับความเดือดร้อน ขายข้าวเปลือกได้ราคาไม่สอดคล้องกับต้นทุน ซึ่งจังหวัดฉะเชิงเทรามีพื้นที่การเพาะปลูก 615,771 ไร่ ผลผลิตประมาณ 354,675 ตัน ขณะนี้มีการเก็บเกี่ยวไปแล้ว ร้อยละ 85 ของพื้นที่เพาะปลูก แต่ยังคงมีผลผลิตที่ออกสู่ตลาดในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ประมาณ 31,241 ตัน ส่วนใหญ่เป็นข้าวหอมจังหวัดและหอมปทุมธานี ทางจังหวัดจึงได้ขอความร่วมมือผู้ประกอบการโรงสี ช่วยเหลือเกษตรกรด้วยการรับซื้อข้าวเปลือกหอมในราคาที่เป็นธรรม เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรเป็นการแก้ไขปัญหาอีก 1 ช่องทาง พ่อเมืองแปดริ้วระบุว่า ขณะนี้จังหวัดได้ดำเ
ผู้ว่าพิจิตร ขู่โรงสี ท่าข้าว ใครโกงชาวนา ไม่ต่อใบอนุญาตประกอบให้ ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ ยังพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องถึงตัน7000-8000 บาท ขณะที่ชุดเฉพาะกิจหน่วยชั่งตวงวัด กระทรวงพาณิชย์ จับตราชั่งดัดแปลงโกงน้ำหนักข้าวชาวนา สั่งเปรียบเทียบปรับและส่งฟ้องศาลดำเนินคดีอาญา 3 ราย เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09.00 น. นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร พร้อมด้วย นาย สุชาติ สินทรัพย์ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน พร้อมด้วย พ.อ. ชันเดช สุรัสวดี รองผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบจังหวัดพิจิตร นายชาตรี อารีวงศ์ ผู้อำนวยการ สำนักกำกับและตรวจสอบชั่งตวงวัดกรมการค้าภายใน ได้เรียกประชุมหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องประกอบไปด้วย พาณิชย์ จังหวัดกรมการค้าภายใน โรงสี ท่าข้าว ที่โรงแรม พิจิตร พล่าซ่า ในเขตเทศบาลเมืองพิจิตร ในการประชุมครั้งนี้ มีการชี้แจงการ ใช้ชั่งตวงวัด พศ 2542 และประกาศกระทรวงพาณิชย์ พระราชบัญญัติ นอกจากนี้ขอ ให้โรงสี และท่าข้าว มีการติดป้าย ราคาการรับชื้อข้าว ให้กับเกษตรกรชาวนา รับทราบว่า รับซื้อข้าวราคาเท่าไหร่ซึ่งขณะนี้ราคาข้าวพิจิตร มีราคา ที่ สูงขึ้น โดยขณะนี้ อยู่ที่ 7000-8000