โรงเรือนอีแวปอัจฉริยะ
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น พื้นที่ทำการเกษตรที่เคยอุดมสมบูรณ์ต่างประสบปัญหาภัยแล้งจากภาวะฝนทิ้งช่วงยาวนานขึ้น ทำให้พืชขาดน้ำ ชะงักการเติบโต และได้ผลผลิตน้อยลงกว่าเดิม ในสภาวะที่โลกเข้าสู่วิกฤตโลกร้อน “เกษตรทฤษฎีใหม่” ซึ่งเป็นแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการบริหารจัดการที่ดินและน้ำเพื่อการเกษตร นับว่าเป็นแนวทางสำคัญในการแก้ปัญหาน้ำไม่เพียงพอให้แก่เกษตรกร สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร ได้น้อมนำแนวพระราชดำริ “เกษตรทฤษฎีใหม่” มาใช้แก้วิกฤตขาดน้ำทำเกษตร โดยนำหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ ผนวกกับแนวคิด พลังงานทดแทน ระบบเกษตรอัจฉริยะ การให้น้ำตามความต้องการของพืช และคาร์บอนเครดิต จนประสบความสำเร็จในการประยุกต์เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ เข้ามาใช้ในแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ เช่น ระบบให้น้ำทุเรียนพลังงานแสงอาทิตย์ โรงเรือนผักพรางแสงอัตโนมัติพลังงานแสงอาทิตย์ จะช่วยให้ใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพผลผลิต และยังช่วยลดโลกร้อนอีกด้วย เทคโนโลยีการให้น้ำแบบแม่นยำ สำหรับระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ในยุคที่แรงงานในภาคเกษตรลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาคการเกษตรเริ่มมีการปรับตัวทำการเกษตรสมัยใหม่หรือเกษตรอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีหรือหุ่นยนต์ เครื่องจักร ฯลฯ ที่มีความแม่นยำสูงเข้ามาช่วยในการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมากขึ้น สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรระยอง สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 กรมวิชาการเกษตร ได้พัฒนาโรงเรือนอีแวปอัจฉริยะต้นแบบที่โครงการศูนย์บริการการพัฒนาปลวกแดงตามพระราชดำริ จังหวัดระยอง ภายใต้โครงการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ ของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งสอดรับกับนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด้านเกษตร โดยมี นายอัคคพล เสนาณรงค์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม เป็นหัวหน้าโครงการ เทคโนโลยีโรงเรือนอีแวป เป็นโรงเรือนที่สามารถลดความร้อนในโรงเรือน และช่วยป้องกันแมลงขนาดเล็กได้ค่อนข้างดี แต่ยังมีปัญหาจากความชื้นสัมพัทธ์ที่สูง เนื่องจากต้องใช้น้ำระเหยในกระบวนการลดความร้อนในระบบ Evaporative cooling system โรงเรือนอีแวปโดยทั่วไปจะควบคุมการปิดเปิดพัดลมและปั๊มน้ำ โดยเลือกการควบคุมโดยใ
“ประเทศไทย” ได้รับการยอมรับว่า เป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารชั้นนำของโลก แต่เกษตรกรไทยกลับมีหนี้สินจากการทำเกษตรแบบดั้งเดิม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงมุ่งสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยใช้เทคโนโลยีการเกษตรเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนภาคเกษตรของประเทศ โดยเชื่อมโยงเทคโนโลยีจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ เนื่องจาก “ผัก” เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญและเป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่ได้รับความนิยมสูง แต่การผลิตผักให้มีคุณภาพดี ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะผักทุกชนิดอ่อนไหวต่อโรคและแมลง เกษตรกรจึงจำเป็นต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าแมลง สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา รวมไปถึงยาฮอร์โมนเร่งโตหรือปุ๋ยเคมีเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืชผัก ทำให้มีต้นทุนการผลิตที่สูง และหากเกษตรกรบริหารจัดการผลผลิตได้ไม่ดี ผู้บริโภคก็เสี่ยงเจอปัญหาสารเคมีตกค้างในพืชผักที่ซื้อมาทำอาหาร ทั้งมอบหมายให้ 22 หน่วยงาน ในสังกัดทำหน้าที่ดูแลส่งเสริมการพัฒนาเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น การผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย เกษตรชีวภาพ เกษตรแปรรูป เกษตรอัจฉริยะ ตลอดจนส่งเสริมการจัดการระบบนิเวศเกษตร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสำคัญคือ เพิ่มรายได้ ลดต้นทุนการผลิต ไม่ต่ำกว่า 60% ตามยุทธศาสต