โอเมก้า
เคยได้ยินกันไหม? ที่ว่ากินปลาแล้วจะฉลาด มีงานวิจัยจากคณะพยาบาลศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา ตรวจสอบการกินปลาของเด็กวัย 9-11 ปีในประเทศจีนจำนวน 541 คน พบข้อสรุปที่น่าสนใจว่า กรดไขมันโอเมก้า 3 เข้าไปสะสมในสมองช่วยให้เด็กมีสภาพการนอนหลับที่สมบูรณ์ขึ้น ผลที่ตามมาคือพฤติกรรมด้านการเรียนรู้ดีขึ้น ก้าวร้าวน้อยลง ใช้เวลากับการเรียนได้มากขึ้น ความฉลาดจึงเป็นผลพวงที่ตามมาจากสภาพการนอนหลับที่ดีขึ้นนั่นเอง ปลาเป็นแหล่งของโอเมก้า 3 ที่ดีที่สุด และที่สำคัญปลาของไทยเราก็มีโอเมก้า 3 สูง ไม่แพ้ปลาแซลมอน แถมยังมีราคาที่ถูกและหากินได้ง่าย ในโอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันจำเป็นที่ช่วยในเรื่องการทำงานของระบบประสาท ช่วยเพิ่มความจำ ทำให้ฉลาด และไอคิวดี ถ้าอยากได้โอเมก้า 3 ต้องเลือกกินปลาชนิดไหนดี ลองดูปริมาณโอเมก้า 3 ในปลาของไทยแต่ละชนิด มีประโยชน์มากมายขนาดนี้ 🐟ปลาทู ปลาทูมีไขมันทั้งหมด 3.8 กรัม มีโอเมก้า 6 อยู่ที่ 0.06 กรัม มีโอเมก้า 3 อยู่ที่ 0.22 กรัม แต่ถ้าปลาทูนึ่งมีไขมันทั้งหมด 3.0 กรัม มีโอเมก้า 6 อยู่ที่ 0.03 กรัม มีโอเมก้า 3 อยู่ที่ 0.18 กรัม ข้อมูลโภชนาการ ต่อเนื้อปลา 100 ก
หลังจาก “มติชนออนไลน์” ได้นำเสนอข้อมูลจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เกี่ยวกับทางเลือกการรับประทานปลาที่มีโอเมก้า 3 สูง นอกเหนือจาก “ปลาแซลมอน” ที่มีราคาแพง ยังมีปลาน้ำจืดไทย อย่าง “ปลาสวาย” โดยได้มีการเปิดเมนูปลาสวาย และความนิยมเพิ่มขึ้นนั้น ล่าสุดเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พญ.นภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า นอกจากปลาสวาย มีกรดไขมันโอเมก้า 3 ในการบำรุงสมอง บำรุงเส้นประสาทและสายตา ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด และช่วยให้สมองทารกพัฒนาอย่างสมบูรณ์แล้ว ยังพบว่า โอเมก้า 3 ยังพบได้ในปลาน้ำจืดชนิดอื่นๆ ก็มีเช่นกัน อย่าง ปลาดุก ปลาช่อน ปลานิล ปลากราย สิ่งสำคัญ คือ แม้จะพบมาก แต่อย่าลืมว่าปลาเหล่านี้ก็มีไขมันอื่นๆด้วย ดังนั้น หากเรารับประทานมากจนเกินไปก็จะส่งผลต่อปริมาณไขมันอิ่มตัวเข้ามาด้วย ไม่ใช่แค่โอเมก้า 3 เท่านั้น ดังนั้น การรับประทานก็ต้องพอดี และต้องกินอย่างหลากหลาย ด้าน รศ.ครรชิต จุดประสงค์ จากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ทำวิจัยเรื่อง “ปริมาณไขมันทั้งหมด กรดโอเมก้า 6 และกรดโอเมก้า 3 ใน