ใบหม่อน
นายชายศักดิ์ วุฒิศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 12 นครสวรรค์ (สศท.12) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงการติดตามการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนบ้านใหม่หนองแกทัพหลวง ตำบลทัพหลวง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งเป็นต้นแบบของการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยการปลูกใบหม่อนอย่างเป็นระบบ มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากใบหม่อนหลากหลายชนิดเพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้ให้กับชุมชน อาทิ ใบหม่อนสด และใบหม่อนแปรรูป ยกระดับมาตรฐานการผลิตส่งจำหน่ายตลาดต่างประเทศ จากการติดตามของ สศท.12 เพื่อศึกษากระบวนการการผลิตสินค้าใบหม่อนโดยมีการผลิตในรูปแบบอินทรีย์ เพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรในกลุ่ม โดยสัมภาษณ์ นางสาวไข่มุกข์ เลาหะกาญจนศิริ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านใหม่หนองแกทัพหลวง บอกเล่าว่า เดิมนั้นเกษตรกรในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป หลังจากได้รับการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านเกษตรจากหน่วยงานในพื้นที่ ประกอบกับความสนใจหารายได้เพิ่ม เกษตรกรจึงปรับเปลี่ยนมาปลูกใบหม่อนจนกลายเป็นอาชีพหลัก กลุ่มวิสาหกิจฯ เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2566 ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกใบหม่อนรวม 150 ไร่ มีสมาชิกเกษตรกร 14 ราย ปลูกเ
อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัด เกษียณอายุราชการพร้อมภรรยา ปลูกมัลเบอร์รี่ต่างประเทศหลากหลายสายพันธุ์นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลายรูปแบบ ทั้งในเรื่องของอาหาร ขนม รวมทั้งผลิตภัณฑ์เสริมความงาม นอกจากนี้ ยังเปิดเป็นร้านอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของมันเบอร์รี่ทุกเมนู ให้กับนักท่องเที่ยวได้เดินทางแวะรับประทาน ซึ่งถือว่าเป็นร้านอาหารแห่งแรกแห่งเดียวของจังหวัดพะเยา ที่มีเมนูแตกต่างจากร้านอื่นๆ ทั่วไปของจังหวัด ใครอยากรับประทานมัลเบอร์รี่ หรือหม่อน ผลไม้หนึ่งในตระกูลเบอร์รี่ที่มีประโยชน์และวิตามินสูง มัลเบอร์รี่หรือหม่อนปลูกง่ายมาก หากเราปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศร้อน แดดจัด ผลจะดก โตเร็ว ถ้าปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นผลจะออกไม่ดกมาก แต่ผลจะมีความหวานกรอบ เราสามารถปลูกแบบเด็ดลูกหม่อนกินผลสดได้ตลอดทั้งปี ปลอดสารพิษแน่นอน มัลเบอร์รี่เป็นผลไม้ปลูกง่าย โตเร็ว อีกทั้งยังสามารถต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้หลากหลาย ทั้งขายผลสด แปรรูปเป็นน้ำดื่มเพื่อสุขภาพ แยม อบแห้ง กวน มัลเบอร์รี่ปลูกง่าย ไม่ต้องใช้สารเคมีก็โตเร็ว มีการจัดกิ่งให้โน้มเข้าหากันคล้ายอุโมงค์ เพื่อง่ายต่อการดูแลเก็บเกี่ยวผลผลิต สามารถเก็บผ
นายอภัย สุทธิสังข์ อธิบดีกรมหม่อนไหม เผยว่า ใบหม่อนนอกจากจะเป็นอาหารใช้เลี้ยงหนอนไหม แปรรูปทำเป็นชาเพื่อสุขภาพแล้ว วันนี้ใบหม่อนมีแนวโน้มสามารถใช้เป็นอาหารเลี้ยงสุกรได้ โดยกรมหม่อนไหม และกรมปศุสัตว์ได้ร่วมกันศึกษาวิจัย เพื่อเป็นอีกทางเลือกให้เกษตรกรในช่วงฤดูแล้ง เป็นช่องทางสร้างรายได้ให้กลุ่มผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม “ที่ผ่านมากรมปศุสัตว์ มีการนำหญ้าเนเปียร์ผสมกับอาหารข้น แต่การปลูกหญ้าเนเปียร์ ต้องใช้น้ำมาก ซึ่งช่วงหน้าแล้ง 2-3 ปี บ้านเราเจอวิกฤตแล้งขาดแคลนน้ำมาตลอด การทดลองเอาใบหม่อนที่ปลูก มาทดลองใช้เป็นอาหารเลี้ยงหมูจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ จะเป็นอีกช่องทางที่สร้างรายได้ให้เกษตรกรผู้ปลูกหม่อน และลดต้นทุนอาหารสัตว์ในช่วงฤดูแล้ง” ด้าน นายวัชรพงษ์ แก้วหอม ผู้อำนวยการศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สระบุรี เผยถึงวิธีทดสอบ ใช้วิธีแบ่งสุกรขุน 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สุกรคอกที่ 1 ให้อาหารข้นล้วน สุกรคอกที่ 2 ใช้อาหารข้นผสมกับหญ้าเนเปียร์ และสุกรคอกที่ 3 เลี้ยงด้วยอาหารข้น ผสมใบหม่อนสับละเอียด 10 เปอร์เซ็นต์ ทำการเก็บข้อมูลเปรียบเทียบตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึง
ใบหม่อนนอกจากจะเป็นอาหารใช้เลี้ยงหนอนไหม และแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มในลักษณะชาใบหม่อนเพื่อสุขภาพแล้ว ในวันนี้ ใบหม่อน สามารถใช้เป็นอาหารเลี้ยงหมูได้ โดยกรมหม่อนไหม และกรมปศุสัตว์ได้ร่วมกันศึกษาวิจัย เพื่อเป็นอีกทางเลือกให้เกษตรกรในช่วงฤดูแล้ง เป็นช่องทางสร้างรายได้ให้กลุ่มผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ที่ผ่านมากรมปศุสัตว์ ได้นำหญ้าเนเปียร์ผสมกับอาหารข้น แต่การปลูกหญ้าเนเปียร์ ต้องใช้น้ำมาก ซึ่งในช่วงหน้าแล้ง ประเทศไทยมักเจอวิกฤตแล้งขาดแคลนน้ำมาตลอด การทดลองเอาใบหม่อนที่ปลูก มาทดลองใช้เป็นอาหารเลี้ยงหมูจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ จะเป็นอีกช่องทางที่สร้างรายได้ให้เกษตรกรผู้ปลูกหม่อน และลดต้นทุนอาหารสัตว์ในช่วงฤดูแล้ง ก่อนหน้านี้ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ สระบุรี ได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพของใบหม่อนเป็นอาหารหมู โดยแบ่งหมูขุนเป็น 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ หมูคอกที่ 1 ให้อาหารข้นล้วน หมูคอกที่ 2 ใช้อาหารข้นผสมกับหญ้าเนเปียร์ และหมูคอกที่ 3 เลี้ยงด้วยอาหารข้น ผสมใบหม่อนสับละเอียด 10 เปอร์เซ็นต์ ทำการเก็บศึกษาข้อมูลเปรียบเทียบ ในเบื้องต้น พบว่า แม้สภาพอากาศทั่วไปร้อนมาก
หม่อน ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการประกอบอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม นอกจากเกษตรกรจะต้องบริหารจัดการแปลงหม่อนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ใบหม่อนที่มีทั้งปริมาณและคุณภาพเหมาะสมสำหรับการเลี้ยงไหมแล้ว การเลือกใช้พันธุ์หม่อนพันธุ์ดีก็เป็นช่องทางหนึ่งที่สามารถยกระดับประสิทธิภาพการผลิตได้ ปัจจุบันมีพันธุ์หม่อนที่เกษตรกรนิยมปลูกหลายพันธุ์ อาทิ พันธุ์สกลนคร พันธุ์บุรีรัมย์ 60 พันธุ์นครราชสีมา 60 พันธุ์ศรีสะเกษ 33 พันธุ์น้อย และพันธุ์คุณไพ เป็นต้น ล่าสุด ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ศรีสะเกษ กรมหม่อนไหม ได้ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงพันธุ์หม่อนพันธุ์ใหม่เพิ่มอีก 1 พันธุ์ คือ พันธุ์ “ศรีสะเกษ 84” (ศก 84) และประกาศให้เป็นพันธุ์หม่อนแนะนำของกรมหม่อนไหม เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา ในวันที่ 12 สิงหาคม 2559 นี้ คุณอภัย สุทธิสังข์ อธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวว่า ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ศรีสะเกษ ได้ใช้ระยะเวลาในการปรับปรุง พันธุ์หม่อนศรีสะเกษ 84 นานถึง 19 ปี ซึ่งหม่อนพันธุ์ใหม่นี้ เดิมชื่อ พันธุ์ SRCM9105-46 เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่