ใบหูเสือ
ภก.อาสาฬา เชาวน์เจริญ เขียนไว้ในคอลัมน์ คนงามเพราะแต่ง วารสารอภัยภูเบศร ปีที่ 16 ฉบับประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2562 เกี่ยวกับ “ใบหูเสือ” ว่าโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ตรงส่วนร้านอาหารในสปามีทำใบหูเสือเป็นอาหาร จำได้ว่าตอนนั้นกินทั้งแบบเมี่ยงเป็นผัก และเป็นเครื่องดื่ม (ปั่นผสมสับปะรด น้ำผึ้งเล็กน้อย ทำให้ดื่มง่ายขึ้น) กินทีไรก็รู้สึกดี คือรู้สึกโล่ง หายใจสะดวก และอาการภูมิแพ้ก็ค่อยๆ ดีขึ้น จนหายปกติ ภายใน 1 สัปดาห์ ที่กินเกือบทุกวัน วันละมื้อเดียว คือมื้อกลางวัน ดิฉันสนใจสมุนไพรต้นนี้ จึงอยากหาข้อมูลเผื่อจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ เพราะต้นหูเสือ ปลูกง่าย หน้าตาน่ารัก ใบมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เป็นกลิ่นน้ำมันหอมระเหย เนื่องจากพืชชนิดนี้อยู่ในวงศ์เดียวกันกับกะเพราและออริกาโน ทางแผนไทยจัดว่า ใบหูเสือมีรสเผ็ดร้อน นิยมใช้ใบเป็นยาบำรุงร่างกาย ช่วยเจริญอาหาร เพิ่มน้ำนม น้ำมันหอมระเหยในใบ หากนำมาขยี้ดมจะช่วยแก้อาการหวัดคัดจมูกได้ หากนำมาทาภายนอกที่ท้องหรือกินจะช่วยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยย่อย ขับลม การเคี้ยวใบช่วยดับกลิ่นปาก ป้องกันฟันผุ ต้มน้ำดื่มแก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ใบหูเสือยังออกฤทธิ์โดดเด่นที่ระบ
ในช่วงเปลี่ยนผ่านฤดูกาลของไทย จากฝนสู่หนาว เข้าสู่ร้อน ช่วงระหว่างเปลี่ยนฤดู เรียกกันว่าช่วง “แล้ง” ที่ผ่านมาภาคใต้ประสบสภาวะน้ำมากเกินความจำเป็น เช่นเดียวกับภาคกลาง ที่ได้รับผลจากน้ำเหนือ ทะเลหนุน เกิดผลกระทบความสูญเสีย ภัยพิบัติจากน้ำท่วม สวนทางกับภาคเหนือ อีสาน ที่กำลังเดินเข้าสู่ความแห้งแล้ง กล่าวคือสถานการณ์ในยามนี้ ประเทศไทยมีครบองค์ประกอบ ทุกบรรยากาศ ชื้นฝน เย็นหนาว ร้าวร้อน และไม่ว่าบรรยากาศช่วงไหนๆ ชาวบ้านมักเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นนั่นเป็นนี่อยู่เสมอ โดยเฉพาะไข้หวัดมักเจอกันอยู่ตลอดมา ร้านขายยาในเมือง ลูกค้าเต็ม ในชนบทห่างไกล ได้พึ่งพาพืชผักสมุนไพรมาใช้รักษาบรรเทา พืชผักหลายอย่างที่ชาวบ้านนำมาใช้ เช่น สะระแหน่ หอมแดง กระเทียม และหูเสือ ที่ใช้แก้ไข้หวัด แก้ไอ ได้ดีมากๆ “หูเสือ” หรือชื่อสามัญ Indian borage หรือ County borage เป็นพืชในวงศ์ LABIATAE หรือ LAMIACEAE วงศ์ตระกูลเดียวกับ สะระแหน่ มิ้นต์ และ ออริกาโน (Oregano) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Plectranthus amboinicus Lour. เป็นพืชล้มลุก ประเภทต้นกึ่งเลื้อย และตั้งพุ่มขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านให้รูปทรงดูดีมีศิลปะ สามารถใช้เป็นไม้จัดสวนหย่อม
ภก.อาสาฬา เชาวน์เจริญ เขียนไว้ในคอลัมน์ คนงามเพราะแต่ง วารสารอภัยภูเบศร ปีที่ 16 ฉบับประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2562 เกี่ยวกับ “ใบหูเสือ” ว่าโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ตรงส่วนร้านอาหารในสปามีทำใบหูเสือเป็นอาหาร จำได้ว่าตอนนั้นกินทั้งแบบเมี่ยงเป็นผัก และเป็นเครื่องดื่ม (ปั่นผสมสับปะรด น้ำผึ้ง เล็กน้อย ทำให้ดื่มง่ายขึ้น) กินทีไรก็รู้สึกดี คือรู้สึกโล่ง หายใจสะดวก และอาการภูมิแพ้ก็ค่อยๆ ดีขึ้น จนหายปกติ ภายใน 1 สัปดาห์ ที่กินเกือบทุกวัน วันละมื้อเดียว คือมื้อกลางวัน ดิฉันสนใจสมุนไพรต้นนี้ จึงอยากหาข้อมูลเผื่อจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ เพราะต้นหูเสือ ปลูกง่าย หน้าตาน่ารัก ใบมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เป็นกลิ่นน้ำมันหอมระเหย เนื่องจากพืชชนิดนี้อยู่ในวงศ์เดียวกันกับกะเพราและออริกาโน ทางแผนไทยจัดว่า ใบหูเสือ มีรสเผ็ดร้อน นิยมใช้ใบเป็นยาบำรุงร่างกาย ช่วยเจริญอาหาร เพิ่มน้ำนม น้ำมันหอมระเหยในใบ หากนำมาขยี้ดมจะช่วยแก้อาการหวัดคัดจมูกได้ หากนำมาทาภายนอกที่ท้องหรือกินจะช่วยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยย่อย ขับลม การเคี้ยวใบช่วยดับกลิ่นปาก ป้องกันฟันผุ ต้มน้ำดื่มแก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ใบหูเสือ ยังออกฤทธิ์โดดเด่นที่