ไกลโฟเซต
นายภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ในฐานะโฆษกกรมวิชาการเกษตรและรองผู้บังคับบัญชาหน่วยเฉพาะกิจพญานาคราช เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพในระบบการผลิตสินค้าภาคเกษตร เกษตรกรได้ใช้ปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญจึงได้ประกาศนโยบายทำสงครามกับสินค้าเกษตรเถื่อนเพื่อป้องกันและปราบปรามสินค้าเกษตรและการลักลอบนำเข้า พร้อมสั่งการให้กรมวิชาการเกษตรปฏิบัติงานตามภารกิจดังกล่าวด้วยความเข้มงวด โดยเฉพาะสารไกลโฟเซต ซึ่งเป็นวัตถุอันตรายที่มีมาตรการจำกัดการใช้ และต้องควบคุมการใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ได้ยกระดับมาตรการในการควบคุม ตรวจสอบติดตามวัตถุอันตรายทางการเกษตรอย่างเข้มงวด ตั้งแต่การควบคุมการนำเข้าหน้าด่านตรวจพืช ตรวจสอบการสำแดงข้อมูล การซุกซ่อน รวมถึงการติดตามไปจนถึงสถานที่เก็บ หรือโรงงานผลิต โดย ด่านตรวจพืชลาดกระบัง ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปทุมธานี เข้าตรวจสอบและอายัด วัตถุอันตรายทางการเกษตร ที่สำแดงการนำเข้า เป็นสาร Glufosinate-Ammonium 15% W/V SL จำนวน 2
เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ ผมมีความสงสัย อยากรู้ความหมายของ LD50 นั้นคืออะไร มีนักวิชาการบางท่านเคยพูดถึงอักษรและตัวเลขดังกล่าว เกี่ยวพันกับสารกำจัดศัตรูพืช 3 ชนิด ที่กำลังมีปัญหากันอยู่ในขณะนี้อย่างไร ผมขอคำอธิบายจากคุณหมอเกษตร ข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์กับตัวผมเองและผู้อ่านทางบ้านไปด้วยกัน อีกหนึ่งคำถาม หากมีการแบนสารเคมี 3 ชนิด คือ พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส แล้วจะมีผลกระทบกับการนำเข้าถั่วเหลือง ข้าวสาลี และข้าวโพด จากสหรัฐอเมริกาอย่างไร ผมจะคอยติดตามอ่านในคอลัมน์หมอเกษตรต่อไป ขอขอบคุณมาในโอกาสนี้ครับ ขอแสดงความนับถืออย่างสูง วรชัย พันธุเสมา พระนครศรีอยุธยา ตอบ คุณวรชัย พันธุเสมา ค่า LD50 นิยมใช้กันในทางวิชาการเท่านั้น แต่ในสังคมวงกว้างกล่าวถึงกันน้อยมาก คำถามของคุณวรชัย นับว่าก้าวหน้าและมีประโยชน์กับท่านผู้อ่านอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ดังที่คุณกล่าวมา LD50 ย่อมาจาก Lethal Dose fifty หมายถึงการให้สารพิษกับหนูทดลอง จำนวน 100 ตัว เมื่อหนูกินเข้าไปแล้วตายลง จำนวน 50 ตัว ภายในเวลา 2-4 วัน โดยมีหน่วยวัดเป็นมิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ต่อไปผมขออนุญาตใช้ มล./กก. แทน) หมายเหตุ เนื่องจากขนาด
ด่วน!!กก.วัตถุอันตรายเอกฉันท์ยืดแบน 2 สารไป 6 เดือน ส่วน ‘ไกลโฟเซต’ แค่จำกัดการใช้ รายงานข่าวจากที่ประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย ที่มีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน มีมติได้พิจารณาข้อเสนอของปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้ว จึงมีมติดังนี้ 1. ให้ออกประกาศกำหนดวัตถุอันตราย พาราควอต และคลอร์ไพริฟอสเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 โดยให้กำหนดระยะเวลาใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563 สำหรับวัตถุอันตรายไกลโฟเซตให้ใช้มาตรการจำกัดการใช้ตามมติคณะวัตถุอันตราย เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2561 2. มอบหมายให้กรมวิชาการเกษตรและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการจัดทำมาตรการรองรับในการหาสารทดแทน หรือวิธีการอื่นที่เหมาะสมสำหรับวัตถุอันตรายพาราควอตและคลอร์ไพริฟอส รวมถึงมาตรการในการลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน และให้นำเสนอคณะกรรมการวัตถุอันตรายพิจารณาภายในระยะเวลา 4 เดือน ที่มา : มติชนออนไลน์
ผลไม้จันทบุรีวอดวาย ไร้สารพาราควอต เกษตรกรโอดสังคมตีตราบาป อาชญากรแผ่นดิน ล่าสุด อเมริกายืนยันพาราควอตไม่เกี่ยวกับพาร์กินสัน กลุ่มแปลงใหญ่จันทบุรี และเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติปี พ.ศ. 2561 สถาบันทุเรียนไทย เกษตรกรชาวสวนจันทบุรี สมาคมชาวสวนลำไย กลุ่ม Young Smart Farmer จันทบุรี จัดเสวนา “รวมพลังเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนภาคตะวันออก” พบปัญหาเกษตรกรเดือดร้อนหนัก และเสียใจกับการถูกใส่ร้ายให้เป็น อาชญากรแผ่นดิน เหตุบิดเบือนข้อมูลและข้อเท็จจริงเอื้อประโยชน์กลุ่มทุนใหม่ ล่าสุดเดือนตุลาคมนี้เอง ทางหน่วยงาน US EPA ของอเมริกา ได้ออกมาแจ้งว่า จากการประเมินข้อมูล และหลักฐานต่างๆ ที่มีอยู่ สรุปว่า พาราควอต ไม่ใช่สาเหตุ และไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคพาร์กินสัน นายธีรภัทร อุ่นใจ ประธานกลุ่มแปลงใหญ่จันทบุรี และเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2561 เปิดเผยบทสรุปจากการเสวนาว่า “เกษตรกรเสียใจกับคำกล่าวโทษให้เกษตรเป็นประหนึ่งอาชญากรแผ่นดิน ต้นเหตุแผ่นดินอาบสารพิษ ด้วยการนำเสนอข่าวที่บิดเบือนจากข้อเท็จจริง ไม่ว่าจะเป็นผลวิจัย ผลการตรวจสารตกค้าง ส่งผลให้เกษตรกรเดือดร้อนมากในหลายด้านทั้งในการเพาะปลูก จนถึงการดำเนินชี
ตามกระแสข่าวโลกออนไลน์มีการแชร์ข้อความว่าประเทศไทยจะประกาศห้ามครอบครอง ห้ามจำหน่าย ห้ามนำเข้า ห้ามผลิตการใช้สารเคมีอันตรายในภาคเกษตรกรรม 3 ชนิด คือ พารา ควอต ไกลโฟเซตและคลอร์ไพริฟอส เพราะเป็นสารอันตรายต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม จึงจะให้ยกเลิกการใช้ และจะมีแนวทางการบริหารจัดการอย่างไรสำหรับสารเคมีตัวอื่นที่มีอยู่ในท้องตลาดหลายยี่ห้อ และจะมีแนวทางในการใช้สิ่งใดทดแทนที่มีประสิทธิภาพทั้งเชิงป้องกันกำจัดและสะท้อนต้นทุกการที่ผลิตที่เหมาะสม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยสำนักงานบริการวิชาการ ร่วมกับคณะเกษตร จะจัดเสวนาเรื่อง “ถ้าแบน 3 สาร อะไรจะเกิดขึ้นกับภาคเกษตรกรรมไทย” ในวันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2562 เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมกำพล อดุลวิทย์ ชั้น 2 อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เพื่อเผยแพร่ความรู้ การนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าร่วมเสวนากับวิทยากร เพื่อประมวลจัดทำสรุปประเด็นสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสารเคมีอันตรายในภาคเกษตร 3 ชนิด และสารเคมีที่มีพิษตัวอื่นๆ ด้วย เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และความ
เมื่อวันที่12 มิ.ย. 2562 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดระบบจำกัดการใช้สารเคมี 3 ชนิด รับสมัครเกษตรกรที่ต้องใช้ สารจำกัดวัชพืช ได้แก่ พาราควอต ไกลโฟเซต และสารกำจัดศัตรูพืช คลอร์ไพริฟอส เพียงสมัครด้วยตนเองได้ที่ http:// chem.doae.go.th หรือผ่านแอปพลิเคชัน FARMBOOK ได้ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ ทุกวันตามเวลาราชการ เกษตรกรเลือกวันและวิธีการอบรมได้เองตามความสมัครใจ และเข้าทดสอบตามวันเวลาที่เลือก เกษตรกรที่สอบผ่านจึงจะได้รับสิทธิ์ซื้อสาร นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหรณ์ เปิดเผยว่า หลังจากที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ ออกประกาศเกี่ยวกับการจำกัดการใช้สารเคมีเกษตร พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส จำนวน 5 ฉบับ ลงวันที่ 5เมษายน 2562 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2562 ตามที่คณะกรรมการวัตถุอันตราย เห็นชอบให้ดำเนินการตามมาตรการจำกัดการใช้สารเคมี โดยจะมีผลบังคับใช้หลังจากประกาศ 180 วัน เป็นต้นไป (20 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป) ประกาศฯ ดังกล่าวกำหนดให้เกษตรกรผู้ใช้สาร ผู้รับจ้างพ่น จะต้องผ่านการอบรมเพื่อให้สามารถใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัย
นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีประกาศเกี่ยวกับการจำกัดการใช้สารเคมี 3 ชนิด ได้แก่ พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส จำนวน 5 ฉบับ ซึ่งมีประเด็นสำคัญ 3 ประเด็น คือ 1.การจำกัดการใช้ การกำหนดฉลาก และภาชนะบรรจุ วัตถุอันตรายที่เกี่ยวกับ พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส 2. การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการผลิต การนำเข้า การส่งออก การมีไว้ในครอบครอง และกำหนดให้มีบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบในการควบคุมการขาย ซึ่งวัตถุอันตรายทั้ง 3 ชนิดนี้ และ 3. การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เฉพาะวัตถุอันตรายที่เกี่ยวกับ พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส 3 ชนิดนี้ และจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 20 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป ซึ่งประกาศดังกล่าวกำหนดให้เกษตรกรผู้ต้องการใช้สารเคมีทั้ง 3 ชนิด ต้องผ่านการอบรม และทดสอบความรู้ จึงจะได้รับสิทธิ์ซื้อสารเคมีดังกล่าวโดยมีเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร (ครู ข) กว่า 1,625 คน จาก สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานเกษตรอำเภอ และศูนย์ปฏิบัติการของกรมส่งเสริมการเกษตร 50 ศูนย์ทั่วประเทศได้เข้
รัฐบาลเวียดนามยกเลิกการใช้ไกลโฟเซต หวั่นเกิดมะเร็ง แถมมีการยื่นฟ้องที่สหรัฐกว่า 11,200 คดี ด้าน บ. ไบเออร์ ออกแถลงการณ์ตอบโต้การยกเลิกไกลโฟเซตปราศจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เชื่อซ้ำรอยศรีลังกาที่ต้องหวนกลับมาใช้ใหม่ รัฐบาลเวียดนาม โดย Plant Protection Department ออกแถลงการณ์เรื่อง ยกเลิกการใช้ไกลโฟเซตในประเทศเวียดนาม โดยสาระสำคัญของแถลงการณ์ได้ชี้แจงเหตุผลหลังยกเลิกใช้ โดยอ้างรายงานของ IARC ว่า สารไกลโฟเซตอาจก่อให้เกิดมะเร็ง ประกอบกับมีการยื่นฟ้องเรื่องนี้ที่สหรัฐจำนวนมากกว่า 11,200 คดี โดยผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อบริษัทมอนซานโต้ จำกัด ซึ่งจนถึงขณะนี้คณะลูกขุนได้พิจารณาว่า ไกลโฟเซตก่อให้เกิดมะเร็ง ชนิด Non-Hodgkin Lymphoma ไปแล้ว 2 คดี ด้วยเหตุผลดังกล่าว รัฐบาลเวียดนามจึงเห็นควรให้ยกเลิกการใช้ไกลโฟเซตเพื่อปกป้องสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยยังมีสารกำจัดวัชพืชอีก 54 ชนิด ที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสามารถใช้ทดแทนไกลโฟเซตได้ ทั้งนี้ ภายหลังการออกแถลงการณ์ของรัฐบาลเวียดนาม บริษัท ไบเออร์ จำกัด (ซึ่งเป็นผู้ครอบครองกิจการของ บริษัท มอนซานโต้ จำกัด) ได้ออกแถลงการณ์ต่อการประการศยกเลิก โดย บริษัท ไบเ