ไทยแลนด์ 4.0
“ประเทศไทย” ได้รับการยอมรับว่า เป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารชั้นนำของโลก แต่เกษตรกรไทยกลับมีหนี้สินจากการทำเกษตรแบบดั้งเดิม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงมุ่งสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยใช้เทคโนโลยีการเกษตรเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนภาคเกษตรของประเทศ โดยเชื่อมโยงเทคโนโลยีจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ เนื่องจาก “ผัก” เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญและเป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่ได้รับความนิยมสูง แต่การผลิตผักให้มีคุณภาพดี ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะผักทุกชนิดอ่อนไหวต่อโรคและแมลง เกษตรกรจึงจำเป็นต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าแมลง สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา รวมไปถึงยาฮอร์โมนเร่งโตหรือปุ๋ยเคมีเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืชผัก ทำให้มีต้นทุนการผลิตที่สูง และหากเกษตรกรบริหารจัดการผลผลิตได้ไม่ดี ผู้บริโภคก็เสี่ยงเจอปัญหาสารเคมีตกค้างในพืชผักที่ซื้อมาทำอาหาร ทั้งมอบหมายให้ 22 หน่วยงาน ในสังกัดทำหน้าที่ดูแลส่งเสริมการพัฒนาเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น การผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย เกษตรชีวภาพ เกษตรแปรรูป เกษตรอัจฉริยะ ตลอดจนส่งเสริมการจัดการระบบนิเวศเกษตร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสำคัญคือ เพิ่มรายได้ ลดต้นทุนการผลิต ไม่ต่ำกว่า 60% ตามยุทธศาสต
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีปิดโครงการและมอบประกาศนียบัตรให้กับผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร การพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีการเกษตรรุ่นเยาว์และการผลิตบัณฑิตเกษตรพันธุ์ใหม่รุ่นที่ 3 จำนวนเกือบ 300 คน พร้อมทั้งแสดงความยินดีแก่ผู้ผ่านการอบรมในครั้งนี้ ณ ห้องประชุม 101 ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมนานาชาติมหาวิทยาลัยแม่โจ้ การจัดฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีการเกษตรรุ่นเยาว์ (Junior AgTech Entrepreneurship Boot Camp) และการผลิตบัณฑิตเกษตรพันธุ์ใหม่รุ่นที่ 3 อยู่ภายใต้โครงการพัฒนาและผลิตกำลังคนของประเทศเพื่อรองรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 โดยเน้นการบูรณาการร่วมเนื้อหาแบบโมดูลกับการเรียนรู้แบบเน้น Project base เพื่อสร้างและพัฒนาบุคลากรด้านการเกษตรสมัยใหม่ในยุคไทยแลนด์ 4.0 สร้างและพัฒนาเกษตรกรก้าวหน้ารุ่นใหม่ (Young Smart Farmer)ให้มีภาวะผู้นำและมีทักษะปฏิบัติได้จริงอย่างมืออาชีพ มีทักษะด้านการบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) และมีจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญเ
กรมส่งเสริมการเกษตร ลงนามบันทึกความเข้าใจเรื่องการพัฒนาวิชาการด้านการวิจัยและการส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ร่วมวางแผนพัฒนา 5 ด้านสำคัญ การพัฒนาเยาวชนเกษตร การพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม การวิจัยและการผลิตพืช การจัดการโรคและแมลงศัตรูพืช การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ และการพัฒนาบุคลากร นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวหลังจากการลงนามบันทึกความเข้าใจเรื่องการพัฒนาวิชาการด้านการวิจัยและการส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ณ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จ.นราธิวาส ว่า กรมส่งเสริมการเกษตร ให้ความสำคัญในการนำงานวิจัยไปปฏิบัติมาโดยตลอด จำเป็นต้องมีหน่วยงานสนับสนุนและเกื้อกูลกัน ทั้งนี้กรมฯ วางระบบงานส่งเสริมการเกษตร T & V system (Training and visit System) เป็นระบบฝึกอบรมและเยี่ยมเยียน ที่ได้มีการนำมาปรับปรุงมุ่งให้เกิดการขับเคลื่อนการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ทุกระดับทั่วประเทศ ซึ่งการนำงานวิจัยมาช่วย จะทำให้สามารถปรับปรุงและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรให้เกิดประสิทธิภาพในด้านต่างๆ อย่างครอบคลุม ทั้งการแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรได้อย่
ประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพ RoboCup Asia-Pacific 2017 เวทีการแข่งขันวิชาการหุ่นยนต์ระดับนานาชาติ ครั้งแรกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค พร้อมจัด Thailand Robotics Week 2017 รับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เปิดเวทีปั้นสตาร์ทอัพไทยสายหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเข้าพิชชิ่งกับเหล่านักลงทุนและธุรกิจร่วมลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ และเข้าฟังสัมมนาจากผู้เชี่ยวชาญชื่อดัง ระหว่าง 14 – 17 ธันวาคมนี้ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค และ 18 ธันวาคมนี้ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ ประธานจัดงาน เปิดเผยว่า ประเทศไทยได้รับความเชื่อมั่นจาก International RoboCup Federation ให้เป็นเจ้าภาพจัด RoboCup Asia-Pacific 2017 หรือ RCAP 2017 การแข่งขันวิชาการหุ่นยนต์นานาชาติครั้งแรกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค เพื่อกระตุ้นการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ รวมถึงสร้างบุคลากรและเครือข่ายนักประดิษฐ์หุ่นยนต์ พร้อมยกระดับมาตรฐานวงการหุ่นยนต์ในกลุ่มประเทศสมาชิกในเอเชียแปซิฟิค ซึ่งจะจัดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของ Thailand Robotics Week 2017 ระหว่าง 14 – 17 ธันวาคมนี้ ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค” และ 18 ธันวาคม ที่
เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน นายธีรยุทธ บุญมี อาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้ประสานเครือข่ายวัฒนธรรมข้าวใหม่ กล่าวในงานเสวนา “มองการณ์ไกลประเทศไทย ทิศทางเกษตรยั่งยืน” ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ว่าภาคการเกษตรของไทยถือว่ามีพัฒนาการมาโดยตลอด หากแบ่งเป็นช่วงตามนโยบายของไทยแลนด์ 4.0 ภาคเกษตรของไทยในยุค 1.0 เริ่มต้นในยุครัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 จากการผลิตสินค้าข้วา จนเกือบอีก 100 ปีต่อมา ประมาณปี 2500 ยุคของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ภาคเกษตรถึงขยับเป็นยุค 2.0 เริ่มมีการปลูกพืชเพื่ออุตสาหกรรม อาทิ ข้าวโพด มันสำปะหลัง ปอ และยางพารา รวมทั้งภาคอุตสาหกรรม เริ่มต้นจากผลิตสิ่งทอและสินค้าทดแทนนำเข้า จนถึงปัจจุบันพบว่า ภาคเกษตรไทยยังไม่สามารถก้าวพ้นจากยุค 2.0 ไปสู่ยุค 3.0 ได้ อาจเป็นบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากเกษตรกรไทยติดปัญหาหลายเรื่อง โดยเฉพาะการเข้าถึงเทคโนโลยีจากแรงงานวัยหนุ่มสาวลดลง เหลือแต่แรงงานสูงวัย ไม่ชำนาญการใช้เทคโนโลยี ภาคสหกรณ์ไม่มีความเข้มแข็งเพียงพอ เหมือนประเทศในยุโรป นายธีรยุทธ กล่าวว่า ยุคหลังปี 2540 ภาคเกษตรของไทยจึงมีนโยบายแยก 2 ทาง คือ 1. นโย
การสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ นับเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ต้องการวางรากฐานและแนวทาง ผลิตเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เรียนรู้ เรื่องเทคโนโลยี การใช้เครื่องมือ การบริหารจัดการและขับเคลื่อนชุมชน โดยมุ่งหวังให้คนรุ่นใหม่ มีความรู้ความสามารถด้านวิชาการเกษตรทั้งระบบเพื่อความยั่งยืนในการประกอบอาชีพการเกษตร การพึ่งพาตนเอง และการแข่งขันในอนาคต นอกจากนี้ ความสามารถของกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่หันมาทำเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนจาก “ทำมากได้น้อย” เป็น “ทำน้อยได้มาก” สอดคล้องกับโมเดล “Thailand 4.0” ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากเกษตรแม่นยำสูง ( Precision Farming) มีการใช้วิทยากร ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาตร์ เทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนา แล้วต่อยอดเป็นกลุ่มเกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ (Food, Agriculture & Bio-Tech) ซึ่งเป็น platform ในการสร้าง New Startups ด้านเทคโนโลยีการเกษตร การเปลี่ยนแปลงสินค้าเกษตรให้เป็นอาหารสุขภาพหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีมูลค่าสูง พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กรมส่งเสริมการเ