ไนโตรเจน
สำนักงานเกษตรอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี ขานรับนโยบายกรมส่งเสริมการเกษตรสนับสนุนการใช้ “แหนแดง” เพื่อลดต้นทุนการผลิตสู่เกษตรกร เผยประโยชน์จากแหนแดงตอบโจทย์ในด้านการเกษตร ประมง และปศุสัตว์ นางสาวอัจฉรา สุขสมบูรณ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทน เกษตรอำเภอหนองแค กล่าวว่า ตามที่กรมส่งเสริมการเกษตรได้เปิดตัวโครงการขยายผลการผลิตและใช้แหนแดงเพื่อลดต้นทุนการผลิตสู่เกษตรกร อันเนื่องมาจากสถานการณ์ปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพงและผันผวน จึงมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ปรับปรุงความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้เหมาะสม ใช้ปุ๋ยแบบผสมผสาน (ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพ) และใช้พืชปุ๋ยสด มีการรณรงค์ให้มีการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง โดยส่งเสริมสนับสนุนให้ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) เป็นต้นแบบและกลไกในการขยายผลการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการจัดการดินและปุ๋ยอย่างเหมาะสมสู่ชุมชน ซึ่งเทคโนโลยีที่เกษตรกรสนใจใช้เพื่อแก้ปัญหาปุ๋ยแพงในขณะนี้คือ การผลิตและใช้แหนแดง สำนักงานเกษตรอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี เห็
6 ปีก่อน ที่บ้านเลขที่ 6 หมู่ที่ 8 ตำบลท่าตาล อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก คุณอภิสิทธิ์ แสวงหา ชาวจังหวัดอุบลราชธานี ย้ายตามภรรยามาอยู่ที่นี่ และเริ่มทำการเกษตร โดยการปรับพื้นที่ของครอบครัวภรรยา ที่ทำสวนดั้งเดิมอยู่แล้ว พื้นที่ 15 ไร่ ให้เป็นสวนผสมผสาน สวนผสมผสาน ประกอบไปด้วย ผลไม้หลายชนิด พืชผักสวนครัว ที่สามารถเก็บขายได้ทุกวัน บ่อน้ำ และที่อยู่อาศัย คุณอภิสิทธิ์ ให้ความสำคัญกับ “ไผ่” ถึงกับมีพื้นที่ปลูกเฉพาะไผ่ 7 ไร่ ไผ่ที่นำมาปลูก เป็น ไผ่กิมซุ่ง “ผมเลือกปลูกไผ่ เพราะเป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้ครบทุกส่วน และไผ่กิมซุ่ง เป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโตรวดเร็ว และให้ผลผลิตดี” การปลูกไผ่ที่ดี ควรไว้ลำเพียง กอละ 3-4 ลำ เท่านั้น แต่สำหรับคุณอภิสิทธิ์ มีเป้าหมายของการปลูกไผ่ โดยจะแปรรูปเพิ่มมูลค่า จึงไว้ลำไผ่มากกว่า เพื่อรอให้ลำไผ่แก่ แล้วนำไปใช้ ซึ่งไม่มีผลอะไรกับผลผลิต ยังคงเก็บหน่อไผ่จำหน่ายได้เหมือนเดิม ตั้งแต่เริ่มลงมือปลูกทุกอย่าง ก็เริ่มงดใช้สารเคมีไปพร้อมๆ กันในพื้นที่ทั้งหมด ผลผลิตที่ได้จากพื้นที่ทั้งหมด จึงเป็นผลิตผลที่ปราศจากสารเคมี เมื่อนำไปจำหน่ายก็ได้ราคาดี มีรายได้ต่อเดือน 20,000-30
ปัจจุบัน พื้นที่ปลูกยางเดิมและดินพื้นที่ปลูกยางใหม่ เป็นดินเสื่อมโทรม มีความสมบูรณ์ต่ำ อันเกิดจากดินขาดอินทรียวัตถุ เกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน การสูญเสียธาตุอาหารพืชโดยติดไปกับผลผลิตสภาพแวดล้อมธรรมชาติเปลี่ยนแปลง สภาวะโลกร้อนทำให้ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต ทำให้ต้นทุนในการผลิตยางพารา ปาล์มน้ำมัน ตลอดจนไม้ผลสูง การปลูกพืชคลุมดินในสวนยาง เป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในสวนยาง ทั้งนี้ เศษซากพืชคลุมดินเมื่อย่อยสลายกลายเป็นอินทรียวัตถุจะช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดิน ช่วยปรับโครงสร้างดินและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ปุ๋ยเคมี ส่งผลให้การเจริญเติบโตดี เปิดกรีดได้เร็วขึ้นและให้ผลผลิตน้ำยางเพิ่มขึ้นด้วย การปลูกพืชคลุมดินไม่เพียงแต่จะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินเท่านั้น แต่ยังช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน รักษาความชื้นในดิน ควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืช ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดวัชพืช ตลอดจนเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในดิน ได้แก่ จุลินทรีย์ เช่น เชื้อรา และแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ และสัตว์ที่อา
“เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม” คำขวัญประจำจังหวัดเลย ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีหลายคนอยากมาเยี่ยมเยือนสัมผัสความหนาวเย็น และธรรมชาติที่สวยงาม ภูกระดึง เมื่อเอ๋ยชื่อต่างรู้จักทั้งชาวไทยและต่างชาติ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของจังหวัดเลย ด้วยความที่จังหวัดเลยยังคงมีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติอยู่ค่อนข้างมาก ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรหลายชนิดได้ผลดี และพร้อมที่จะกลายเป็นของฝากให้กับผู้มาเยือนได้ พืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดเลย ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา มะม่วง ข้าวเปลือกเหนียวนาปี อ้อยโรงงาน มะขามหวาน มันสำปะหลัง ขิง และกล้วยน้ำว้า จึงทำให้ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดเลย เข้ามาพัฒนาพันธุ์พืช ให้มีความแข็งแรง ปราศจากแมลงศัตรูพืช เพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกร ข้าวโพดตักหงาย เป็นข้าวโพดพันธุ์พื้นเมือง เป็นข้าวโพดข้าวเหนียวเมล็ดสีม่วงที่นิยมปลูกกันมากในจังหวัดเลย โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากๆ เช่น อำเภอภูเรือ อำเภอด่านซ้าย และอำเภอนาแห้ว และมีปลูกกันบ้างในอำเภอท่าลี่และอำเภอเมือง ปัจจุบัน มีพื้นที่ปลูกรวมกันมากกว่า 2,000 ไร่ ลักษณะเด่นของข้าวโพดตักหงาย คือจะมีกลิ่