ไผ่ซางหม่น
“ประดับ ปิ่นนาค” เปลี่ยนจากทำไร่อ้อยมาเป็นสวนไผ่ควบคู่ไม้ผล ขับเคลื่อนผ่านโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ สร้างอาชีพให้กับครัวเรือนและคนในชุมชนตลอดทั้งปี กรมส่งเสริมการเกษตร ขอแสดงความยินดีกับเกษตรกรทุกท่าน ที่ได้รับรางวัลจากการประกวดผลงานเกษตรกร สถาบันเกษตรกร สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ และปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี 2567 ทุกท่าน ซึ่งได้เข้ารับพระราชทานโล่รางวัลในงานพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เมื่อวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม 2567 นางพรทิพย์ ศรีสมโภชน์ เกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีนโยบายให้ส่วนราชการในสังกัดดำเนินการคัดเลือกเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และสหกรณ์ที่มีผลงานดีเด่นสาขาอาชีพ/ประเภทที่กำหนดเพื่อเป็นเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ เพื่อยกย่องประกาศเกียรติคุณ และเผยแพร่ผลงานดีเด่นให้สาธารณชนทั่วไปได้รู้จัก ยึดถือเป็นแบบอย่างในแนวทางการปฏิบัติงานด้านการเกษตร โดยในปี 2567 นี้ กรมส่งเสริมการเกษตร โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้เล็งเห็นถึงความสามารถของ นายประดับ ปิ่นนาค ที่มีความเชี่ยวชาญในอาชีพเกษตร สามารถถ่ายทอดความร
จากที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มุ่งเน้นนโยบายการขับเคลื่อนการพัฒนาภาคเกษตรของไทย โดยส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับศักยภาพและความเหมาะสมของพื้นที่ รวมทั้งแนวโน้ม ความต้องการของตลาด สำหรับพื้นที่ภาคเหนือ พบว่า “ไผ่ซางหม่น” นับเป็นหนึ่งในพืชทางเลือกที่มีโอกาสทางการตลาด และมีศักยภาพการผลิตในพื้นที่ ปี 2564 มีเกษตรกรผู้ปลูกรวม 544 ราย เนื้อที่ปลูกครอบคลุมทั้ง 16 จังหวัดภาคเหนือ รวมทั้งสิ้น 2,680 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 70 ของเนื้อที่ปลูกรวมทั้งประเทศ แหล่งผลิตสำคัญ 3 อันดับแรก ได้แก่ อุตรดิตถ์ แพร่ และน่าน มีเนื้อที่ปลูกรวม 1,641 ไร่ หรือร้อยละ 59 ของเนื้อที่ปลูกรวมของภาคเหนือ และคิดเป็นร้อยละ 47 ของเนื้อที่ปลูกรวมทั้งประเทศ โดยมีเกษตรกรผู้ปลูกทั้ง 3 จังหวัด รวม 363 ราย ไผ่ซางหม่น เป็นพันธุ์ไผ่ที่มีลักษณะโดดเด่นคือ เจริญเติบโตเร็ว มีลำต้นตรงโดยธรรมชาติ และมีขนาดสม่ำเสมอ สามารถใช้ประโยชน์ตลอดทั้งลำในการแปรรูป จึงทำให้เกษตรกรนิยมปลูกและตัดลำเพื่อจำหน่ายให้แก่โรงงานแปรรูป รวมถึงลักษณะลำไผ่มีเนื้อหนาเหมาะสมต่อการนำไปผลิตเป็นชีวมวล เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 พิษณุ
คุณสิทธิชัย บังเมฆ แห่งน่านหนานราชฟาร์ม ศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่จังหวัดน่าน ตั้งอยู่ที่ 26 หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านพี้ อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน ประธานเกษตรกรรุ่นใหม่จังหวัดน่าน มีความคิดว่าเนื่องจากพื้นที่จังหวัดน่านมีไผ่ซางหม่นและไผ่ป่าเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งต้นทุนที่มีในพื้นที่ เขาจึงคิดที่จะเพิ่มมูลค่าของไผ่ในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การขยายพันธุ์ไผ่ การทำเฟอร์นิเจอร์ การทำชาจากใบไผ่ การทำถ่านไบโอชาร์ เป็นต้น และยังเพิ่มพื้นที่ป่าในพื้นที่แทนการปลูกข้าวโพด ซึ่งเป็นปัญหาหลักในพื้นที่จังหวัดน่าน ปัญหาหมอกควัน PM 2.5 ปัญหาไฟป่า จึงรวมกลุ่มในอำเภอบ้านหลวงในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไผ่ขึ้นมา ไผ่ซางหม่น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dendrocalamus sericeus ลักษณะทั่วไป ไผ่ซางหม่นจัดเป็นไผ่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เส้นรอบวงประมาณ 30-50 เซนติเมตร สีของลำสีเขียว ไม่มีหนามและไม่ค่อยมีแขนง มีคราบของแป้งสีขาวหรือวงขาวต่างๆ หรือสีขาวหม่น ชาวบ้านจึงเรียกว่า “ไผ่ซางหม่น” ตามลักษณะที่เกิดขึ้น ลำใหญ่ตรงสูงประมาณ 15-20 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำ เฉลี่ย 6-10 เซนติเมตร ปล้องยาว 30-40 เซนติเมตร เนื้อหนา ใบคล้าย
คุณประเสริฐศักดิ์ แสงสัทธา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 พิษณุโลก (สศท.2) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า จากที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มุ่งเน้นนโยบายการขับเคลื่อนการพัฒนาภาคเกษตรของไทย โดยส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับศักยภาพและความเหมาะสมของพื้นที่ รวมทั้งแนวโน้ม ความต้องการของตลาด สำหรับพื้นที่ภาคเหนือ พบว่า “ไผ่ซางหม่น” นับเป็นหนึ่งในพืชทางเลือกที่มีโอกาสทางการตลาด และมีศักยภาพการผลิตในพื้นที่ (ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2564) ปัจจุบันมีเกษตรกรผู้ปลูกรวม 544 ราย เนื้อที่ปลูกครอบคลุมทั้ง 16 จังหวัดภาคเหนือ รวมทั้งสิ้น 2,680 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 70 ของเนื้อที่ปลูกรวมทั้งประเทศ แหล่งผลิตสำคัญ 3 อันดับแรก ได้แก่ อุตรดิตถ์ แพร่ และน่าน มีเนื้อที่ปลูกรวม 1,641 ไร่ หรือร้อยละ 59 ของเนื้อที่ปลูกรวมของภาคเหนือ และคิดเป็นร้อยละ 47 ของเนื้อที่ปลูกรวมทั้งประเทศ โดยมีเกษตรกรผู้ปลูกทั้ง 3 จังหวัด รวม 363 ราย สำหรับไผ่ซางหม่น นับว่าเป็นพันธุ์ที่มีลักษณะโดดเด่นคือ เจริญเติบโตเร็ว มีลำต้นตรงโดยธรรมชาติและมีขนาดสม่ำเสมอ สามารถใช้ประโยชน์ตลอดทั้งลำในการแปรรูป จึงทำใ
แถบตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี มีงานเกษตรหลากหลาย ตั้งแต่พืชไร่ พืชสวน รวมถึงปศุสัตว์ การผลิตทำคล้ายๆ กัน แต่มีกิจกรรมของเกษตรกรรายหนึ่ง ที่ดูแตกต่างจากคนอื่น คือ แปลงปลูกไผ่ซางหม่น ของ คุณอุดร สังข์วรรณะ อยู่บ้านเลขที่ 96 หมู่ที่ 1 ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี 72180 เขาไม่ได้ปลูกไร่สองไร่ แต่ปลูกมากถึง 100 ไร่ จำนวน 1 หมื่นกอ ซางหม่น ดีอย่างไร คุณอุดร สังข์วรรณะ เรียนจบมาทางสายเกษตร คือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชลบุรี ปริญญาตรี มทร. ตะวันออก วิทยาเขตบางพระ เขามีประสบการณ์มากมายจากภาคตะวันออก สามารถเลือกทำกิจกรรมการเกษตรได้หลายอย่าง แต่มีอยู่ช่วงหนึ่ง เขากลับมาบ้านที่สุพรรณบุรี แล้วพบว่า ญาติพี่น้องได้ปลูกไผ่ซางหม่น ในแง่การผลิต ทำได้ดีมาก การตลาดก็ยังเปิดกว้าง จริงๆ แล้ว ตอนเรียนเขามีความชำนาญเรื่องเห็ด เขาคิดว่า หากมีการประยุกต์ผสมผสาน นำเห็ดเพาะในแปลงไผ่ น่าจะทำได้ดี คุณอุดร ปลูกไผ่จริงจัง 4 ปี มาแล้ว โดยทยอยปลูกจึงมีหลายรุ่น “ไผ่ซางหม่น ลำตรง ไม่ค่อยมีแขนง แปรรูปได้หลายอย่าง เข้าเครื่องจักรได้หมด หน่อไผ่ก็รสชาติด