ไผ่เลี้ยง
ไผ่เลี้ยง เชื่อว่าเป็นไม้นำเข้า เนื่องจากไม่พบตามธรรมชาติในป่าลึก ไผ่เลี้ยงมีลักษณะลำต้นตรง เนื้อหนา จึงเหมาะสำหรับใช้ทำบันได โป๊ะ หลักไม้สำหรับเพาะเลี้ยงหอยแมลงภู่ และใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ อีกทั้งหน่ออ่อนก็ใช้บริโภค มีรสชาติดี ไผ่เลี้ยง เป็นไผ่ขนาดกลาง ลำต้นตรง สีเขียวเข้ม ไม่มีหนาม เนื้อลำหนา เส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 3-7 เซนติเมตร สูง 8-12 เมตร หน่อสีเขียวอมเหลือง ไม่มีขนที่กาบใบ ต่างกับไผ่รวกที่มีขนาดใกล้เคียงกัน วิธีขยายพันธุ์ ดีที่สุดคือการแยกเหง้า เริ่มแยกได้เมื่อไผ่มีอายุ 2-3 ปี หากอายุเกิน 3 ปี ต้นที่แยกออกไปจะไม่แข็งแรง คัดเลือกต้นหรือลำที่แข็งแรง ตัดให้สั้นเหลือตอไว้ สูง 50-80 เซนติเมตร บำรุงต่อไปให้ผลิใบ และแตกกิ่งแขนงออกมาใหม่ แล้วใช้เสียมคม และสะอาด ตัดแซะออกชำในถุงเพาะชำ มีแกลบดำ หรือดินขุยไผ่เป็นวัสดุเพาะ ดูแลรักษาให้แข็งแรง เมื่ออายุ 8-12 เดือน นำปลูกลงแปลงได้ แปลงปลูกถ้าเป็นที่นา จำเป็นต้องยกร่องสวน แต่ถ้าหากเป็นที่ดอน ปรับที่แล้วปลูกได้เลย ช่วงปลูกดีที่สุดคือ ต้นฤดูฝน ใช้ระยะปลูก 4×4 เมตร ใน 1 ไร่ ปลูกได้ 100 ต้น หรือ 100 กอ ระยะ 1-2 ปีแรก ที่ว่างระหว่างต้น และระหว่างแถว
ไผ่เลี้ยง เชื่อว่าเป็นไม้นำเข้า เนื่องจากไม่พบตามธรรมชาติในป่าลึก ไผ่เลี้ยงมีลักษณะลำต้นตรง เนื้อหนา จึงเหมาะสำหรับใช้ทำบันได โป๊ะ หลักไม้สำหรับเพาะเลี้ยงหอยแมลงภู่ และใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ อีกทั้งหน่ออ่อนก็ใช้บริโภค มีรสชาติดี ไผ่เลี้ยง เป็นไผ่ขนาดกลาง ลำต้นตรง สีเขียวเข้ม ไม่มีหนาม เนื้อลำหนา เส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 3-7 เซนติเมตร สูง 8-12 เมตร หน่อสีเขียวอมเหลือง ไม่มีขนที่กาบใบ ต่างกับไผ่รวกที่มีขนาดใกล้เคียงกัน วิธีขยายพันธุ์ ดีที่สุดคือการแยกเหง้า เริ่มแยกได้เมื่อไผ่มีอายุ 2-3 ปี หากอายุเกิน 3 ปี ต้นที่แยกออกไปจะไม่แข็งแรง คัดเลือกต้นหรือลำที่แข็งแรง ตัดให้สั้นเหลือตอไว้ สูง 50-80 เซนติเมตร บำรุงต่อไปให้ผลิใบ และแตกกิ่งแขนงออกมาใหม่ แล้วใช้เสียมคม และสะอาด ตัดแซะออกชำในถุงเพาะชำ มีแกลบดำ หรือดินขุยไผ่เป็นวัสดุเพาะ ดูแลรักษาให้แข็งแรง เมื่ออายุ 8-12 เดือน นำปลูกลงแปลงได้ แปลงปลูกถ้าเป็นที่นา จำเป็นต้องยกร่องสวน แต่ถ้าหากเป็นที่ดอน ปรับที่แล้วปลูกได้เลย ช่วงปลูกดีที่สุดคือ ต้นฤดูฝน ใช้ระยะปลูก 4×4 เมตร ใน 1 ไร่ ปลูกได้ 100 ต้น หรือ 100 กอ ระยะ 1-2 ปีแรก ที่ว่างระหว่างต้น และระหว่า
คุณณรงค์ ไทยเจริญ เจ้าของสวนไผ่เนื้อที่ 22 ไร่ ในพื้นที่ตำบลดีลัง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี เขาชื่นชอบต้นไผ่เป็นอย่างมาก ปลูกไผ่จำนวน 3 พันธุ์ คือ ไผ่หม่าจู ไผ่รวก และไผ่เลี้ยง ไผ่หม่าจู คุณณรงค์ชื่นชอบการปลูกไผ่หม่าจูเป็นพิเศษเพราะสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งจากหน่อและลำต้น ลำต้นไผ่หม่าจูสามารถทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ เตียง ส่วนหน่อไม้พันธุ์หม่าจู มีรสชาติหวานกรอบอร่อย ไม่มีขม ไผ่หม่าจูจัดอยู่ในตระกูลไผ่หวาน มีสีเนื้อที่ขาวปราศจากสารฟอกสี นำไปรับประทานได้โดยที่ไม่ต้องต้มน้ำเพื่อลวกหน่อไม้ นำมาปรุงอาหารได้เลย ไผ่พันธุ์หม่าจู ขยายพันธุ์ได้ 2 วิธี คือ 1. การตอนกิ่งแขนง ไม่สามารถนำกิ่งที่มีความอ่อนมาใช้ได้ กิ่งที่นำมาใช้จะต้องอยู่ในช่วงกลางๆ ไปจนถึงระดับที่เรียกว่าแก่เลยทีเดียว 2. การเพาะชำเหง้า หากช่วงนั้นพื้นดินมีความชื้นสูงๆ ก็สามารถนำลำต้นปักลงหลุมได้ทันที ไผ่รวก ไม้อเนกประสงค์ ส่วนไผ่รวก คุณณรงค์ปลูกเป็นแถวเพื่อใช้เป็นแนวบังลม เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้มีลมค่อนข้างแรงในบางฤดู ไผ่รวกเป็นไผ่ที่ปลูกได้ง่าย แต่ใช้เวลาปลูกดูแลนานถึง 4 ปีเลยทีเดียว กว่าที่ไผ่รวกจะเติบโตโดยสมบูรณ์แบบ ส่วนหน่อไผ่
เทคโนโลยีและความก้าวหน้าทางวิทยาการมีส่วนสำคัญในการพัฒนาไผ่ให้มีมากกว่าการนำหน่อมา บริโภคหรือใช้ลำในด้านการก่อสร้างเท่านั้น การสัมมนาไผ่ที่จัดขึ้นโดยกองบรรณาธิการเทคโนโลยีชาวบ้านเมื่อหลายปีก่อน ตอบคำถามได้มากมายว่าคุณประโยชน์จากไผ่มีศักยภาพสูงพอที่จะนำมาแปรรูปเป็นเครื่องดื่ม ใช้ผลิตเป็นเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม หรือใช้เทคโนโลยีชั้นสูงผลิตเป็นอุปกรณ์วางของในรถ หรือยังมีอีกมากมายที่กำลังอยู่ระหว่างงานวิจัย ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงคุณสมบัติของต้นไผ่ที่ช่วยดูดซับของเสียแล้วปรับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติให้สมบูรณ์หากปลูกกันมากๆ สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าไผ่มีคุณค่าในตัวเองสูงมาก ฉะนั้น จึงมีการปลูกไผ่เพิ่มขึ้นในหลายระดับ ทั้งชาวบ้านครัวเรือน กลุ่มชุมชน หรือระดับธุรกิจใหญ่ ตลาดสินค้าเกษตรก้าวหน้าเล่มนี้จะพาไปพบกับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มหนึ่งที่จังหวัดสกลนคร ชาวบ้านมีการรวมพลังกันเพาะ-เลี้ยงต้นไผ่เป็นอาชีพ มีการแบ่งหน้าที่ชัดเจน ตั้งแต่การผลิต การดูแล รวมถึงการตลาด พัฒนาคุณภาพต้นพันธุ์ไผ่ให้มีความสมบูรณ์เป็นที่เชื่อถือของลูกค้า จนทำให้มีรายได้ดีขนาดออกรถปิกอัพป้ายแดงกันเลย คุณองอาจ ประจันทะศรี อยู่บ้านเลขท
ไผ่ เป็นพืชที่มนุษย์ในส่วนต่างๆ ของโลก นำมาใช้ประโยชน์อย่างมากมายในหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่สมัยโบราณ ต่อเนื่องมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน มนุษย์มีการนำไผ่มาใช้ประโยชน์ทั้งในด้านการใช้บริโภค และอุปโภคแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งพันปี ซึ่งในการนำไผ่มาใช้ประโยชน์เพื่อการบริโภคนั้น พบว่ามนุษย์ได้มีการนำหน่อมาแปรรูปเป็นอาหารบริโภคในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ พบว่า มนุษย์นำเอาส่วนต่างๆ ของไผ่ เช่นเหง้า แขนง และใบ มาใช้บริโภคในรูปแบบของสมุนไพรเพื่อรักษาไข้หวัด โรคหืด และโรคไต เป็นต้น ส่วนในการนำไผ่มาใช้เพื่อการอุปโภคนั้น พบว่า ได้มีการนำใบไผ่มาใช้ห่ออาหารและนำลำไผ่มาใช้ในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย อุปกรณ์ในการประกอบอาชีพล่าสัตว์ อาวุธเพื่อการต่อสู้และเครื่องดนตรี ส่วนการใช้ประโยชน์จากไผ่ของคนไทย ซึ่งนับได้ว่า เป็นอีกชนชาติหนึ่งที่มีความผูกพันใกล้ชิดกับไผ่ มีการนำไผ่มาใช้ประโยชน์ในหลากหลายรูปแบบเป็นเวลาต่อเนื่องยาวนานไม่แพ้ชนชาติอื่น โดยระยะแรกจะเป็นการนำไผ่จากป่ามาใช้เป็นหลัก ต่อมาจนกระทั่งเมื่อพื้นที่ป่าไม้ได้ถูกทำลายให้ลดปริมาณลง ความจำเป็นที่จะต้องปลูกไผ่เพื่อใช้ประโยชน์ จึงได้เริ่มมีความสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับ
ไผ่ เป็นพืชที่มนุษย์ในส่วนต่างๆ ของโลก นำมาใช้ประโยชน์อย่างมากมายในหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่สมัยโบราณ ต่อเนื่องมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน มนุษย์มีการนำไผ่มาใช้ประโยชน์ทั้งในด้านการใช้บริโภค และอุปโภคแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งพันปี ซึ่งในการนำไผ่มาใช้ประโยชน์เพื่อการบริโภคนั้น พบว่ามนุษย์ได้มีการนำหน่อมาแปรรูปเป็นอาหารบริโภคในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ พบว่ามนุษย์นำเอาส่วนต่างๆ ของไผ่ เช่น เหง้า แขนง และใบ มาใช้บริโภคในรูปแบบของสมุนไพรเพื่อรักษาไข้หวัด โรคหืด และโรคไต เป็นต้น ส่วนในการนำไผ่มาใช้เพื่อการอุปโภคนั้น พบว่า ได้มีการนำใบไผ่มาใช้ห่ออาหารและนำลำไผ่มาใช้ในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย อุปกรณ์ในการประกอบอาชีพล่าสัตว์ อาวุธเพื่อการต่อสู้และเครื่องดนตรี ส่วนการใช้ประโยชน์จากไผ่ของคนไทย ซึ่งนับได้ว่า เป็นอีกชนชาติหนึ่งที่มีความผูกพันใกล้ชิดกับไผ่ มีการนำไผ่มาใช้ประโยชน์ในหลากหลายรูปแบบเป็นเวลาต่อเนื่องยาวนานไม่แพ้ชาชาติอื่น โดยระยะแรกจะเป็นการนำไผ่จากป่ามาใช้เป็นหลัก ต่อมาจนกระทั่งเมื่อพื้นที่ป่าไม้ได้ถูกทำลายให้ลดปริมาณลง ความจำเป็นที่จะต้องปลูกไผ่เพื่อใช้ประโยชน์ จึงได้เริ่มมีความสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับ
ฝนตกไผ่เลี้ยงเริ่มแทงหน่อ ส่งขายลูกค้าไทย-ลาว กิโลกรัมละ 40 – 50 บาท สร้างรายได้ให้เกษตรกรอย่างเป็นกอบเป็นกำ นอกจากขายหน่อแล้วยังขายต้นพันธุ์ เพาะชำไม่ทันกับความต้องการของลูกค้าทั้งไทยและลาว หากต้องการจำนวนมากต้องสั่งจองไว้ล่วงหน้าเป็นปี ราคาพุ่ง 3 ต้น/200 บาท จากการที่มีฝนตกต่อเนื่องในจังหวัดหนองคายหลายวัน ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่มีความชุ่มชื้น ส่งผลดีกับพืชผลการเกษตร ที่เกษตรกรเพาะปลูก ไผ่เลี้ยงก็เป็นพืชผลการเกษตรอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับผลดีที่จากฝนที่ตกลงมาในช่วงนี้ โดยเฉพาะเกษตรกรที่ปลูกไผ่เลี้ยง บ้านนาพิพาน ตำบลปะโค อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ที่ขณะนี้ไผ่เลี้ยงที่ปลูกไว้ ได้เริ่มแตกหน่อออกมาจากพื้นดินเป็นจำนวนมาก เกษตรกรที่ปลูกนำไปขายทั้งที่เป็นหน่อสด และมีการแปรรูปพร้อมนำไปปรุงเป็นอาหาร ที่ตลาดสดแจ้งสว่าง ต.หนองกอมเกาะ อ.เมือง จ.หนองคาย ที่อยู่ริมถนนบายพาสไปด่านพรมแดนหนองคาย มีลูกค้าทั้งไทยและลาวเข้าไปจับจ่ายซื้ออาหารสดที่ตลาดแห่งนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งหน่อไม้เป็นที่นิยมของลูกค้าทั้งไทยและ สปป.ลาว ขณะนี้ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่ปลูกไผ่เลี้ยงได้เป็นอย่างด
การบรรยายสัมมนาไผ่ในครั้งที่ผ่านมา ทางกองบรรณาธิการเทคโนโลยีชาวบ้านหวังว่าท่านผู้อ่านได้รับสาระความรู้จากวิทยากรผู้ที่มีประสบการณ์โดยตรงกับไผ่ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสายพันธุ์ต่างๆ ที่บางท่านยังไม่เคยรู้จักมาก่อน รวมถึงการนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของเครื่องใช้ ไปจนถึงอาหารและยา เรียกได้ว่าคุณประโยชน์จากไผ่มีครบทั้ง 4 ปัจจัย สำหรับเนื้อหาการบรรยายในตอนนี้เป็นตอนจบ แล้วยังคงอัดแน่นด้วยเนื้อหาสาระเช่นเดิม และเป็นประสบการณ์จริงจากผู้ประกอบธุรกิจเฟอร์นิเจอร์จากไผ่เพราะมีความหลงใหลในความสวยงามและเสน่ห์จากไผ่ ท่านคือ คุณพิสิษฐ์ อมรกิจเจริญ เจ้าของกิจการผลิต-จำหน่ายเฟอร์นิเจอร์มานานหลายสิบปี ความจริงในอดีตเจ้าของธุรกิจรายนี้ผลิตและขายเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากเหล็กแล้วส่งขายทั่วประเทศ กระทั่งเมื่อมาจับกลุ่มอยู่ในแวดวงไผ่จึงทำให้เกิดความสนใจ แล้วจากนั้นได้ศึกษาหาความรู้ทุกเรื่อง แล้วทดลองปลูกจนประสบความสำเร็จ ในที่สุดตัดสินใจปรับธุรกิจตัวเองมาผลิตเฟอร์นิเจอร์จากไผ่เลี้ยงหวานแล้วได้รับความนิยมจนถึงในปัจจุบัน คุณพิสิษฐ์ กล่าวว่า ธุรกิจที่ประกอบเป็นอาชีพอยู่ขณะนี้คือการผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่