ไมโครพลาสติก
เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2562 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ WESTPAC ( ION Sub-Commission for the Western Pacific ) หน่วยงานในสังกัดองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO ) ได้ร่วมกันแถลงข่าวความร่วมมือกำหนดแนวทางการเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์ไมโครพลาสติก ณ โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ โฮเต็ล ประตูน้ำ กรุงเทพมหานคร ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เล็งเห็นปัญหาผลกระทบจากขยะพลาสติกที่ตกค้างในสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาขยะในแหล่งน้ำรวมทั้งเศษขยะพลาสติกขนาดใหญ่ตกค้างในร่างกายของสัตว์น้ำ ส่งผลกระทบต่อชีวิตของสัตว์น้ำ เช่น พยูนมาเรียมน้อย วช. มองว่า ปัญหา การแตกตัวของพลาสติก กลายเป็นไมโครพลาสติกตกค้างในสิ่งแวดล้อม ทั้งทางน้ำ ดิน ตะกอนดิน สิ่งมีชีวิตและห่วงโซ่อาหาร กำลังเป็นที่สนใจของนักวิจัยในประเทศ แต่ปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดขนาดของไมโครพลาสติกเพื่อเทียบให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ท
การสูญเสียชีวิตพะยูนมาเรียม จากขยะพลาสติก เป็นเรื่องสะเทือนใจคนไทยจำนวนมาก เพื่อเป็นการสร้างความร่วมมือและตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวในทุกภาคส่วน เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2562 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดการแถลงข่าว เรื่อง “พะยูนมาเรียม”, “ทะเลไทย” ต้อง “ไร้ขยะ” ผู้ร่วมแถลงข่าวในครั้งนี้ ประกอบด้วย ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศาสตราจารย์ ดร.สนิท อักษรแก้ว ประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงาน วช. รองศาสตราจารย์ ดร.สัญญา สิริวิทยาปกรณ์ ผู้บริหารจัดการโครงการวิจัย ทะเลไทยไร้ขยะ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ดร.ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ ผู้อำนวยการยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อม วช. ซึ่งสาระสำคัญของการแถลงข่าวในครัั้งนี้ มุ่งสร้างความร่วมมือในทุกภาคส่วนเพื่อแก้ปัญหาขยะพลาสติกอย่างครบวงจร ทังในเชิงนโยบายและปฏิบัติ บนฐานการวิจัยที่พร้อมใช้งาน และสามารถปรับไปตามสภาพปัญหาและพื้นที่ โดยใช้กลไกการมีส่วนร่วมดำเนินการร่วมกันอย่างต่อเนื่องและจริงใจของทุกภาคส่วน ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนว