ไม่มีตลาดรองรับ
ผู้ส่งออกหวั่นนโยบายข้าวอินทรีย์ 3 ปี 1 ล้านไร่ ดันผลผลิตข้าวอินทรีย์ทะลุ 5 แสนตัน สวนทางตลาดส่งออกที่มีเพียง 20,000 ตัน ซ้ำไม่มีมาตรฐานสากล-ด้านโรงสีเมินร่วมโครงการรับซื้อข้าวอินทรีย์ ติงนโยบายบีบตั้งราคาซื้อนำตลาด แต่ไม่คุมผู้ส่งออกซื้อข้าวสารราคาสูง เป็นเหตุให้ไม่มีตลาดรองรับ เสี่ยงขาดทุน ร.ต.ท.เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า การที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมเกษตรกรปลูกข้าวอินทรีย์ ปีละ 300,000 ไร่ โดยมีเป้าหมายจะเพิ่มพื้นที่ปลูกให้ได้ 1 ล้านไร่ภายใน 3 ปี เท่ากับว่าจะมีปริมาณข้าวอินทรีย์ 500,000 ตันข้าวเปลือก หรือราว 250,000 ตันข้าวสาร แต่ไม่มีแนวทางการสร้างมาตรฐานสากล และแผนการทำตลาดข้าวอินทรีย์ควบคู่ไปด้วย ถือเป็นเรื่องที่น่าห่วง เพราะมีหลายจังหวัดได้เพิ่มพื้นที่ปลูกมากขึ้น ขณะที่ความต้องการข้าวอินทรีย์ในตลาดโลกต่อปีมีเพียง 1,000-10,000 ตันเท่านั้น และไทยส่งออกเพียงปีละ 20,000 ตัน เทียบกับยอดส่งออกข้าวทั้งปี 11 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง 0.1% “อยากให้ระวังผลที่จะตามมาจากการส่งเสริม เพราะตลาดข้าวอินทรีย์ยังมีขนาดเล็กในวงจำกัด อย่าส่งเสริมโดยคิดว่าผู้ส่งออกจะขาย
นายสมจิตร งุ่ยไก่ แกนนำกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด ตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า หลังจากได้รับการสนับสนุนหน่อพันธุ์สับปะรดสายพันธุ์สยามโกลด์ สำหรับรับประทานผลสด จำนวน 2,000 หน่อ เพื่อปลูกทดแทนสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียสำหรับส่งโรงงานแปรรูป ล่าสุดจะสามารถเก็บผลผลิตได้ช่วงกลางเดือนตุลาคมนี้ แต่ประสบปัญหาทางราชการยังไม่มีตลาดรองรับ ขณะที่การจำหน่ายผ่านแผงสับปะรดราคากิโลกรัมละ 5-7 บาท เท่านั้น ซึ่งยอมรับว่าไม่คุ้มกับต้นทุนการผลิตทุกด้าน เนื่องจากทางราชการจัดซื้อหน่อพันธุ์จากเอกชนต้นละ 30 บาท “ขณะที่หน่อสับปะรดปัตตาเวียสายพันธุ์ดั้งเดิม ราคาต้นละ 70-80 สตางค์ แต่กำหนดราคาจำหน่ายให้โรงงานแปรรูปที่ กิโลกรัมละ 4-4.40 บาท ดังนั้นหากผลผลิตสับปะรดพันธุ์สยามโกลด์จำหน่ายไม่ได้ราคา ก็จะนำไปแจกให้ประชาชนกินฟรี ที่ริมถนนเพชรเกษมเส้นทางขึ้นล่อง 14 จังหวัดภาคใต้ เนื่องจากการนำไปแปรรูปเพื่อทำสับปะรดกวนก็ไม่คุ้มกับต้นทุนการผลิตเช่นกัน” นายสมจิตร กล่าว นายมงคล จอมพันธ์ หัวหน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า การปลูกสับปะรดพันธุ์สยามโกลด์จะต้องมีคุณภาพมาตรฐานตรงตามความต้อง