ไม้กวาด
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นับเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกและขายมะพร้าวมากเป็นอันดับต้นของประเทศ แม้จะเป็นรองจังหวัดในภาคใต้ตอนล่างอยู่บ้างก็ตาม แต่ผลิตผลที่ได้จาก “มะพร้าว” ก็มีหลากหลาย และได้รับการยอมรับในคุณภาพไม่น้อย เกือบทุกส่วนของต้นมะพร้าวที่ไม่ได้ขายผลสด จะถูกแปรรูปขาย สร้างรายได้เช่นกัน ทางมะพร้าวแก่ ที่หลุดร่วงจากต้น เกษตรกรส่วนใหญ่นำไปสุมโคนต้นไม้บางชนิด เพื่อประโยชน์ในทางการเกษตร แต่ยังมีส่วนหนึ่งที่ปล่อยทิ้งไว้ หรือกำจัดทิ้ง โดยการเผา สร้างมลภาวะทางอากาศ และทำให้หน้าดินสูญเสียแร่ธาตุ ในบางมุมมองชาวบ้านหรือเกษตรกรอาจไม่ได้มองเช่นนั้น เมื่อเห็นว่าทางมะพร้าวแก่ที่หลุดร่วงจากต้น ไม่มีประโยชน์ หากนำไปกำจัดได้ ก็น่าจะเป็นผลดี แต่สำหรับ คุณฐนโรจน์ ชัยสิริธนานนท์ หรือ คุณนัต หนุ่มวัย 36 ปี กลับไม่ได้คิดเช่นนั้น คุณฐนโรจน์ เดิมที่เป็นชาวนนทบุรี แต่ปักหลักมีครอบครัวอยู่ที่ตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้วยความสนใจในการทำเกษตรกรรม จึงศึกษาและปลูกไม้ผล ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ไว้จำนวนหนึ่ง แม้คุณฐนโรจน์จะไม่ได้ปลูกมะพร้าวเหมือนเช่นเกษตรกรรายอื่นทำ แต่คุณฐนโรจน์ก็เห็นคุณค่าของท
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นับเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกและขายมะพร้าวมากเป็นอันดับต้นของประเทศ แม้จะเป็นรองจังหวัดในภาคใต้ตอนล่างอยู่บ้างก็ตาม แต่ผลิตผลที่ได้จาก “มะพร้าว” ก็มีหลากหลาย และได้รับการยอมรับในคุณภาพไม่น้อย เกือบทุกส่วนของต้นมะพร้าวที่ไม่ได้ขายผลสด จะถูกแปรรูปขาย สร้างรายได้เช่นกัน ทางมะพร้าวแก่ ที่หลุดร่วงจากต้น เกษตรกรส่วนใหญ่นำไปสุมโคนต้นไม้บางชนิด เพื่อประโยชน์ในทางการเกษตร แต่ยังมีส่วนหนึ่งที่ปล่อยทิ้งไว้ หรือ กำจัดทิ้ง โดยการเผา สร้างมลภาวะทางอากาศ และทำให้หน้าดินสูญเสียแร่ธาตุ ในบางมุมมองชาวบ้านหรือเกษตรกร อาจไม่ได้มองเช่นนั้น เมื่อเห็นว่าทางมะพร้าวแก่ที่หลุดร่วงจากต้น ไม่มีประโยชน์ หากนำไปกำจัดได้ ก็น่าจะเป็นผลดี แต่สำหรับคุณฐนโรจน์ ชัยสิริธนานนท์ หรือ คุณนัต กลับไม่ได้คิดเช่นนั้น คุณฐนโรจน์ เดิมที่เป็นชาวนนทบุรี แต่ปักหลักมีครอบครัวอยู่ที่ตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้วยความสนใจในการทำเกษตรกรรม จึงศึกษาและปลูกไม้ผล ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ไว้จำนวนหนึ่ง แม้คุณฐนโรจน์ จะไม่ได้ปลูกมะพร้าวเหมือนเช่นเกษตรกรรายอื่นทำ แต่คุณฐนโรจน์ก็เห็นคุณค่าของทางมะพร้าวแก่ท
ในยุคสมัยของความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยี จึงไม่ค่อยมั่นใจว่าอุปกรณ์ช่วยทำความสะอาดที่คุ้นเคยกันมาตั้งแต่ยุคบรรพบุรุษอย่าง “ไม้กวาด” จะยังคงมีเหลือใช้กันสักกี่ครัวเรือน แต่อย่างไรก็ตาม อาชีพผลิตไม้กวาดก็ยังพบเจอตามท้องถิ่นต่างๆ อยู่ เพียงแต่อาจต้องปรับวิธีและวัสดุให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงไปของยุคสมัย เช่นเดียวกับชาวบ้านที่เขาค้อ อย่าง คุณประมวล อินทร์มูล บ้านเลขที่ 18 หมู่ที่ 2 ตำบลริมสีม่วง อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เปิดร้านขายของชำ และอาหารตามสั่ง พร้อมกับใช้เวลาว่างผลิตไม้กวาดและงานจักสานต่างๆ วางขายหน้าร้าน คุณประมวล บอกว่า ก้านไม้กวาดที่นำมาใช้ผลิตซื้อมาจากชาวบ้านที่ไปบนเขาค้อเก็บมาขาย โดยจะสั่งว่าต้องการขนาดความยาวเท่าไร อย่างเช่น 20-30 ฟุต ซื้อมาราคาฟุตละ 50 บาท ทั้งนี้ เหตุผลที่ขนาดความยาวของก้านไม้กวาดต่างกัน เนื่องจากเวลานำมามัดรวมกันเป็นตัวไม้กวาดแล้วส่วนที่เป็นปลายมีลักษณะโค้งมนจึงไม่ต้องตัดให้เสียเปล่า อีกทั้งเพื่อให้สะดวกต่อการใช้กวาดสิ่งสกปรก แล้วไม้กวาดแต่ละอันใช้จำนวนดอกไม้กวาดที่มัดรวมกัน 6-7 ลูก ต่อมัด ด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปี กับการคลุกคลีในอาชีพนี้
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลางทุ่งนาท้ายหมู่บ้านอังโกน ต.บ้านใหม่ อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา มีกระท่อมหลังเล็กๆ ของชายพิการขาทั้งสองข้างที่ชื่อ นายสันติชัย ศรีกระโทก อายุ 38 ปี อาศัยอยู่เพียงลำพังตัวคนเดียว เลี้ยงเป็ด ไก่ ปลูกผักสวนครัวไว้เก็บกินประทังชีวิต มีอาชีพรับจ้างทั่วไปและทำไม้กวาดทางมะพร้าวเพื่อเลี้ยงชีพ ถึงแม้จะสร้างรายได้ไม่มากนักแต่พอมีรายได้ต่อชีวิตให้ก้าวเดินต่อไป หลังจากต้องต่อสู้กับช่วงเวลาที่เลวร้ายแห่งชีวิตมานานเกือบ 10 ปี จนกลับมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ไม่สวยหรูได้ในวันนี้ นายสันติชัย เล่าว่า “ครอบครัวยากจนข้นแค้นมาตั้งแต่เริ่ม บิดามารดาต้องมาจากไปตั้งแต่สมัยที่ผมเริ่มเป็นวัยรุ่น พี่น้องต่างก็แต่งงานแยกครอบครัวและสู้ชีวิตกันอย่างหนักตามภาระหน้าที่ของแต่ละคน ส่วนผมอยู่ตัวคนเดียวก็ต้องมาประสบอุบัติเหตุรถอีแต๋นบรรทุกไม้คว่ำทับขาทั้งสองข้างจนพิการตั้งแต่อายุเพียง 28 ปี นั่งเศร้ากับชีวิตที่พลิกผันมานานเกือบ 8 ปี ก่อนเริ่มหันกลับมายอมรับในชะตากรรมและเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ยังมีลมหายใจเหลืออยู่” นายสันติชัย กล่าวว่า สิ่งที่ทำให้มีกำลังใจสู้ชีวิตต่อไปได้ก็คือกำลังใจจา
คุณบุญเสริม สุวรรณประภา อยู่บ้านเลขที่ 15 หมู่ที่ 8 ตำบลคุ้งกระถิน อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เล่าให้ฟังว่า เริ่มแรกเดิมทีมีอาชีพขายของทั่วไป โดยช่วงนั้นมองว่าในพื้นที่บริเวณนี้ค่อนข้างมีวัตถุดิบที่เป็นทางมะพร้าว เพราะชาวบ้านในแทบนี้มีการปลูกมะพร้าวกันมาก จึงทำให้ได้มองเห็นโอกาสในการทำธุรกิจเกี่ยวกับไม้กวาด “เรามองว่าถ้าเราจับทำสินค้าชนิดนี้ ไม่น่าที่จะหาวัตถุลำบาก เพราะว่ามีมาก ซึ่งคนที่อื่นยังมาหาซื้อทางมะพร้าวจากที่นี่ และก็ส่งตัวสินค้ามาขายในแถบนี้ เราก็เลยมองว่าโอกาสในเรื่องนี้ไม่น่าจะยากก็เลยตัดสินใจทำเป็นอาชีพเสริมก่อนในช่วงนั้น ต่อมาเมื่อตลาดมีความต้องการมากขึ้นก็ค่อยๆ ขยายธุรกิจออกไป จนเวลานี้เรามีสินค้าทั้งไม้กวาดทางมะพร้าวและไม้กวาดดอกหญ้าด้วย เรียกว่าครบวงจร” คุณบุญเสริม เล่าถึงที่มา เนื่องจากการทำไม้กวาดมีขั้นตอนหลายอย่าง คุณบุญเสริม บอกว่า จะทำการกระจายงานออกไปไม่ได้ทำเพียงแหล่งเดยว โดยจะติดต่อกับกลุ่มแม่บ้านในพื้นที่ต่างๆ ไว้ จากนั้นก็จะนำงานที่มีไปส่งให้กับกลุ่ม จึงเป็นเหมือนการกระจายรายได้ให้กับชุมชนอย่างแท้จริง โดยที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างรายได้ไปด้วยกัน
เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม บ้านนาทุ่งใหญ่ หมู่ 1 ต.นครชุม อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ชาวบ้านมีอาชีพหลักคือทำนา สามารถทำได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องมีการหาอาชีพเสริมให้กับชาวบ้านระหว่างว่างเว้นการทำนาทำไร่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทอผ้าที่มีการสืบทอดต่อๆ กันมาหลายชั่วอายุคน หรืออาชีพอื่นๆ ที่ทางรัฐบาลให้งบสนับสนุนส่งเสริมลงไปในพื้นที่ แต่ก็ไม่จีรังยั่งยืน โดยเฉพาะการทอผ้าลายพื้นถิ่นของคนตำบลนครชุมที่กว่าจะผลิตออกมาได้แต่ละผืน ไม่สามารถจำหน่ายได้เพราะไร้ช่องทางการตลาด บรรดาผู้สูงอายุและวัยกลางคนแทบจะเลิกอาชีพการทอผ้าเพื่อจำหน่ายกันไปแล้ว ที่หลงเหลืออยู่ก็เป็นการทอผ้าเก็บไว้เพื่อนำเสนอให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเที่ยวชมในหมู่บ้านเท่านั้น ปัจจุบันชาวบ้านนาทุ่งใหญ่ต่างเริ่มหันมาทำไม้กวาดดอกหญ้าเพื่อจำหน่ายกันเป็นส่วนใหญ่เพราะมีรายได้ที่สามารถจับต้องได้โดยเฉลี่ยต่อคนได้ไม่ต่ำกว่า 200-300 บาท นายกองสี รัตนโค้น อายุ 67 ปี ประธานกลุ่มไม้กวาดดอกหญ้าบ้านนาทุ่งใหญ่ เปิดเผยว่า ปัจจุบันชาวบ้านนาทุ่งใหญ่หันมาทำไม้กวาดดอกหญ้าเพื่อจำหน่าย โดยขณะนี้มีสมาชิกในหมู่บ้านทั้งหมด 45 คน และหมู่บ้านอื่นๆ ใน ต.น