ไม้ประดับใบ
โกสนจัดเป็นไม้มงคล ที่คนไทยรู้จักและคุ้นเคยกันดี เนื่องจากชื่อ “ โกสน” เป็นคำพ้องเสียงกับคำว่า “กุศล” หมายถึง การสร้างบุญงาม ความดี จึงนิยมปลูกโกสนไว้หน้าบ้าน ในทางทิศตะวันออกของบ้าน มาตั้งแต่สมัยโบราณ เพื่อเป็นไม้เสริมสิริมงคล ให้ทุกคนในครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข ความมีเสน่ห์ของโกสนอยู่ที่ลวดลายใบที่สวยงามสลับเฉดสีต่างๆ เช่น เฉดสีชมพูก็จะมีสีเขียวเข้มมีชมพูเข้ม เส้น ลายใบชัดเจน เฉดสีเหลืองก็จะออกสีไล่เลี่ยกันในโทนเหลือง เป็นต้น โกสน มีชื่อภาษาอังกฤษว่า โคร-ออน (Croton) เป็นไม้ประดับประเภทไม้พุ่ม ที่มีใบเป็นจุดเด่น โดยใบมีรูปทรงและสีที่สวยงามแตกต่างไปกับพรรณไม้อื่นๆ นิยมเป็นไม้กระถาง ให้มีลักษณะทรงพุ่มเล็กๆ หากต้องการให้มีทรงพุ่มใหญ่ จะใช้วิธีปลูกลงดิน โกสนมีทั้งใบเล็ก-ใบใหญ่ ต้นโกสนเป็นไม้พุ่มที่มีขนาดตั้งแต่ พุ่มเล็ก จนถึงพุ่มใหญ่ ลักษณะเด่นของพันธุ์ไม้นี้คือ ทรงของใบมีหลายลักษณะผันแปรตามธรรมชาติ และมีเด่นที่ใบมีหลายสี เช่น เหลือง ส้ม ม่วง ขาว ชมพู ดำ และยังมีลักษณะใบลูกผสม ที่มีการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ๆ ขึ้นมา โกสนที่ใช้เป็นไม้ประดับงดงามนั้นมีชนิด (species) เดียวคือ โคเดียมหรือโคดิเอี้ยม
ไม้แปลกไม้หายากเป็นอีกหนึ่งตลาดที่สำคัญอยู่ในบ้านเราขนาดนี้ ถึงแม้ยอดการซื้อขายหรือความนิยมจะลดลงไปบ้างเมื่อเทียบกับช่วงสถานการณ์โควิด-19 เข้ามาระบาดในประเทศไทยครั้งแรก ในช่วงนั้นทำให้คนไทยได้รู้จักไม้แปลกไม้หายากมากขึ้น เรียกได้ว่าช่วงนั้นไม้เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมากทีเดียว เพราะเหตุจากที่ทุกคนต้องอยู่บ้านมากขึ้นจึงทำให้ได้มีเวลาศึกษาและอยากได้ไม้ประดับเหล่านี้มาปลูกอย่างจริงจัง ถึงขนาดที่เรียกได้ว่าเป็นยุคของการสร้างรายได้ของผู้เล่นหน้าใหม่ หรือทำให้มีสวนใหม่ๆ เกิดขึ้น เพื่อผลิตเป็นสินค้าที่ส่งออกไปยังต่างประเทศอีกด้วย คุณพรรษกานต์ ลครรำ หรือ คุณนุก เจ้าของสวนสวยเพียงฟ้า เป็นอีกหนึ่งท่านที่ได้จับตลาดของการปลูกไม้แปลกไม้หายากในช่วงที่โควิด-19 เข้ามาระบาด โดยเธอได้สนใจการปลูกต้นเสน่ห์จันทร์บุษราคัม ซึ่งถือเป็นไม้ที่มีทรงต้นที่สวย และที่โดดเด่นไปกว่านั้นคือ ไม้ประดับอย่างเสน่ห์จันทร์บุษราคัมที่มีภายในสวน เป็นไม้ค่อนข้างที่จะมีลักษณะออกด่างและสีสันสวยงาม จึงถือว่าเป็นไม้แปลกไม้หายากที่ไม่เพียงแต่ลูกค้าในประเทศไทยซื้อขายเท่านั้น ยังมีลูกค้าจากต่างประเทศเข้ามาติดต่อซื้ออยู่เป็นประจำ จ
บอนสี เป็นอีกหนึ่งไม้ประดับใบที่ผ่านยุคผ่านสมัย ในวงการไม้ดอกไม้ประดับในบ้านเรามาหลายทศวรรษทีเดียว จะเห็นได้จากในช่วงไม่กี่ปีมานี้มีเกษตรกรหน้าใหม่เกิดขึ้นอยู่เสมอ ยิ่งช่วงสถานการณ์โควิด-19 ระบาดในระยะแรกนั้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นให้กระแสของบอนสีเป็นที่รู้จักของมือสมัครเล่นด้วยเช่นกัน สาเหตุที่บอนสียังเป็นที่นิยมและไม่ตกกระแสและยืนหยัดมาได้จนถึงทุกวันนี้นั้น เกิดจากเกษตรกรมีการพัฒนาสายพันธุ์อยู่เสมอ จึงทำให้ในวงการมีลูกไม้ใหม่ให้ลูกค้าได้เลือกซื้อตลอดเวลา คุณประเสริฐ เข้มแข็ง เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่ได้เข้ามาในวงการบอนสี โดยช่วงที่นำไม้เข้ามาปลูกนั้นเพียงเพราะความชื่นชอบเท่านั้น จากนั้นเรียนรู้การพัฒนาสายพันธุ์จนเกิดความชำนาญ จึงทำให้ภายในสวนมีลูกไม้ใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ชนิดที่ว่ามีผู้สนใจและอยากจะได้ไม้จากภายในสวนของเขา จนไม่คาดคิดว่าสิ่งที่ทำด้วยความชอบจะสามารถเป็นงานที่สร้างรายได้ และสวนของเขาเป็นที่รู้จักของลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ จุดเริ่มต้นปลูกบอนสี เพราะความชื่นชอบ คุณประเสริฐ เล่าให้ฟังว่า เดิมทีมีอาชีพค้าขายเปิดร้านก๋วยเตี๋ยวสร้างรายได้หลัก ซึ่งในระหว่างนี้ก็จะปลูกบอนสีไปด้
อโกลนีมา (Aglaonema ) สกุลของพืชไม้ประดับที่มีความสวยงามที่ใบ ได้ชื่อว่าเป็น “ราชาแห่งไม้ประดับ” เป็นลำดับพืชที่มีมากกว่า 100 ชนิด ปัจจุบันมีการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้สีสันสวยงาม นิยมเพาะเลี้ยงเพื่อความสวยงาม และจัดเป็นไม้มงคล มีการตั้งชื่อสายพันธุ์ภาษาไทยที่สื่อความหมายทางโชคลาภ เช่น กวักมหามงคล บัลลังก์ทับทิม บัลลังก์ทอง เพชรน้ำหนึ่ง ฯลฯ นอกจากความสวยงามแล้ว ยังเป็นไม้ฟอกอากาศได้ดี สามารถดูดซับก๊าซฟอร์มาลดีไฮด์ ลดมลพิษภายในอาคาร นับเป็นไม้ประดับใบที่มีอนาคตไกล เพราะเป็นที่ต้องการของตลาดในประเทศและส่งออกอย่างต่อเนื่อง การขยายพันธุ์อโกลนีมา สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เช่น การตอน การแยกหน่อ การชำ และ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ส่วนการขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ คือใช้เมล็ด ปกติเมล็ดของต้น อโกลนีมาที่ได้จากการผสมตัวเองจะมีลักษณะเหมือนต้นแม่ แต่ถ้ามีการผสมข้ามระหว่างสกุลสามารถสร้างลูกผสมใหม่ๆ เกิดขึ้น ปัจจุบันกลุ่มผู้ผลิตอโกลนีมานิยมขยายพันธุ์ด้วยการปักชำเป็นส่วนใหญ่ บางกรณีมีการขยายพันธุ์ด้วยการซื้อต้นกล้าขนาดเล็กที่เพิ่มจำนวนด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อให้ได้ต้นไ
โชคเก้าชั้น เป็นไม้ประดับใบที่กำลงได้รับความนิยม การปลูกใช้เวลาหลายปีจนกว่าจะเติบโตเป็นทรงพุ่มซึ่งถ้าเป็นสายพันธุ์เดิมๆ ใบจะมีเพียงสีเขียว สีขาว สีด่างขาว เวลาต่อมาได้มีการพัฒนาพันธุ์ให้มีความหลากหลายมากขึ้น หรือที่เรียกว่าสร้างให้เป็นสายพันธุ์ด่าง เพราะความต้องการของตลาดมีความหลากหลาย ส่งผลให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้โชคเก้าชั้นเป็นไม้ที่มีความด่างที่สวยงาม และเกิดลูกไม้ใหม่ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง โดยเสน่ห์ของโชคเก้าชั้นจะเป็นในเรื่องของใบ ไม้มีใบทั้งใบเดี่ยว ใบเรียงสลับ ลักษณะใบมีทรงยาว กลม วงรี ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อกันอีกว่า ไม้อย่างโชคเก้าชั้นเป็นไม้ที่เด่นในเรื่องของความเป็นมงคล ทำให้ผู้ปลูกโชคดีทำมาค้าขึ้นและร่ำรวย รวมไปถึง คุณภาวัช เพ็ญรัตติญา หรือ คุณบอน ได้หลงใหลและหันมาปลูกโชคเก้าชั้นด้วยเช่นกัน โดยที่สวนของเขาอาจเรียกได้ว่าเป็นนักพัฒนารุ่นใหม่เลยก็ว่าได้ จากปลูกเล่นๆ เสริมรายได้ไม่ธรรมดา คุณบอน เล่าให้ฟังว่า ในช่วงที่ทำงานประจำอยู่นั้นเป็นคนที่ชื่นชอบการปลูกต้นไม้อยู่แล้ว จึงทำให้มีโอกาสได้ไปเดินชมตลาดต้นไม้อยู่เสมอ และทำให้ได้มารู้จักกับต้นโชคเก้าชั้น ถือเป็นไม้ท
ช่วงนี้ถ้าพูดถึงในวงการไม้ประดับใบที่มีงานประกวดและการซื้อขายในโลกออนไลน์อย่างต่อเนื่อง คงจะหนีไม่พ้นโชคเก้าชั้นที่กำลังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง เพราะด้วยการพัฒนาสายพันธุ์ที่มีอยู่เสมอ ทำให้โชคเก้าชั้นเป็นอีกหนึ่งไม้ประดับที่น่าจับตา ซึ่งลูกไม้ใหม่ที่ได้จะไม่เหมือนต้นแม่เสียทีเดียว แต่มีการปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แบบไม่รู้จบ ตั้งแต่ใบสีเขียว สีขาว สีด่างขาว และด่างชนิดที่เรียกว่าสีสดออกไปทางแดงอย่างเด่นชัด เมื่อมีการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอแล้ว จึงทำให้ลูกไม้ใหม่เป็นที่ชื่นชอบของผู้เล่นทั้งรายใหม่และรายเก่า คุณภาสกร ตินะโส หรือ คุณหนุ่ม เจ้าของสวนไชยกาญจน์ เป็นอีกหนึ่งท่านที่สนใจในเรื่องของการปลูกโชคเก้าชั้นเป็นอย่างมาก ในช่วงแรกมองว่าเป็นเพียงไม้ประดับใบใช้เพื่อตกแต่งบ้านเท่านั้น แต่เมื่อได้เรียนรู้และทำความรู้จักมากขึ้น คุณหนุ่มจึงเกิดแรงบันดาลใจและได้ทำการพัฒนาพันธุ์ให้เกิดลูกไม้ใหม่อย่างต่อเนื่อง จนสามารถส่งไม้เข้าประกวดและสร้างรายได้มาจนถึงปัจจุบัน โชคเก้าชั้น ไม้ประดับทรงคุณค่า คุณหนุ่ม เล่าว่า อาชีพหลักที่ทำอยู่คือเปิดร้านตัดผม แต่ด้วยความที่เป็นคนชื่นชอบการปลูกไม้ประดับ จึงได้หาซื้อ
คุณธเนศ กรอบทอง เกษตรกรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีใจรักในการปลูกอะโกลนีมาทำให้พัฒนาสวนและปลูกมาเรื่อยๆ พร้อมกับทำงานอื่นเสริมไปด้วย เมื่อความนิยมและราคาไม้กลับมาอยู่ตัวมีการซื้อขายดีขึ้น ทำให้การตลาดค่อยๆ ไปได้ดี ส่งผลให้อะโกลนีมากลายเป็นไม้ประดับที่สร้างรายได้ให้กับเขามาจนถึงวันนี้ ลักษณะอะโกลนีมาที่ลูกค้าชื่นชอบมีสีใบที่แดง ลักษณะใบสั้น กลม ซึ่งแต่ละช่วงความชอบของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงไปทุกปี การผลิตไม้บางช่วงจะขึ้นอยู่กับจังหวะที่เหมาะสมด้วยว่าจะได้รับความนิยมตามที่ลูกค้าชื่นชอบมากน้อยเพียงใด
ประโยคที่ว่า “เอาความชอบมาทำเป็นอาชีพ” เป็นอีกหนึ่งการสร้างกำลังใจที่ดีให้กับตัวเองไม่น้อย เพราะอย่างน้อยงานประจำที่ทำอยู่แม้ไม่ใช่สิ่งที่ชอบ แต่อาชีพเสริมที่เกิดจากความชอบ ทำให้มีความสุขในการดำเนินชีวิตในแนวทางที่คาดหวังได้ ยิ่งเป็นอาชีพทางการเกษตรด้วยแล้ว คำว่าได้มาง่ายๆ ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน เพราะต้องมีการบ่มเพาะในสิ่งที่ทำจนเกิดประสบการณ์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ ไปอย่างสมบูรณ์แบบ มีรายได้ที่อยู่กับสิ่งเหล่านั้นได้อย่างยั่งยืน คุณธัญพร ทินกลิ่น หรือที่หลายๆ คนเรียกเธอว่า น้องอุ้ย เจ้าของสวนชวนชมโชค 9 ชั้นน้องอุ้ย ตั้งอยู่เลขที่ 74/1 หมู่ที่ 4 ตำบลบางงาม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ได้นำความชอบมาทำเป็นอาชีพคือ ปลูกไม้ประดับใบอย่างโชคเก้าชั้น พร้อมทั้งมีการพัฒนาการปลูกอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ไม้มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด จนไปถึงขั้นส่งไม้เข้าประกวดจนรับรางวัลมาการันตี โชคเก้าชั้น จัดเป็นไม้ที่มีอายุหลายปี เติบโตเป็นไม้ทรงพุ่ม ซึ่งถ้าเป็นสายพันธุ์เดิมๆ ใบจะมีเพียงสีเขียว สีขาว สีด่างขาว ต่อมาได้มีการพัฒนาพันธุ์ให้มีความหลากหลายมากขึ้น หรือที่เรียกว่า การพัฒนาให้เป็นสาย
จากการที่ได้สัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกเลี้ยงไม้ประดับใบ ไม่ว่าจะเป็นไม้ใบด่างหรือไม้ประดับใบปกติ เกษตรกรหลายท่านต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าทุกวันนี้วงการไม้ประดับใบ ราคาของไม้ค่อนข้างขยับขึ้นลงชนิดที่ว่าต้องหมั่นคอยเช็กราคาอัพเดทไม่ต่างกับการเล่นหุ้นกันเลยทีเดียว เพราะแต่ละวันราคาค่อนข้างมีการขึ้นลงชนิดที่ว่าเกษตรกรต้องเช็กกันเป็นรายวัน จะพลาดข่าวสารเสียมิได้ หากมีการคำนวณที่พลาดหรือคลาดเคลื่อนอาจทำให้ราคาที่จำหน่ายอาจได้น้อยลงหรือไม่ถูกต้องตามกลไกตลาด จึงทำให้ในช่วงนี้สถานการณ์โควิด-19 ไม้ใบเป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาที่หลายๆ ท่านให้ความสนใจและจับเป็นอาชีพเสริมและหลักในการปลูกเพื่อสร้างรายได้ คุณปาลจิรา บุญใจใหญ่ อยู่บ้านเลขที่ 102/5 หมู่ที่ 7 ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีความสนใจที่มาเข้าสู่วงการไม้ประดับใบด้วยเช่นกัน โดยครอบครัวของเธอได้ทำสวนไม้ประดับใบอยู่แล้ว แต่ในช่วงนั้นเธอยังไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องของการปลูกไม้ประดับใบมากนัก เพราะมีความฝันและอยากจะลงมือทำงานทางด้านอื่นๆ ก่อน แต่เมื่อวันเวลาเหมาะสมและคิดว่าการทำไม้ประดับใบสามารถสร้างเป็นอาชีพที่เลี้ย