ไม้ผลอัตลักษณ์สินค้า GI
“จำปาดะ” ถือเป็นไม้ผลพันธุ์พื้นเมืองทางภาคใต้ของประเทศไทย นิยมนำผลสุกมาประกอบอาหารหวานและแปรรูป พบปลูกมากที่สุดในจังหวัดสตูล พื้นที่ปลูกรวม 1,685 ไร่ เนื้อที่ให้ผล 1,175 ไร่ ซึ่งจำปาดะเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญอีกชนิดหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรชาวจังหวัดสตูล และเป็นสินค้าอัตลักษณ์ประจำถิ่น ประกอบกับเป็นไม้ผลที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นกว่าที่อื่น จึงได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications: GI) เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2562 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 สงขลา (สศท.9) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ได้ติดตามสถานการณ์การผลิตจำปาดะในจังหวัดสตูล พบว่า แหล่งผลผลิตสำคัญอยู่ที่อำเภอควนโดน เกษตรกรในพื้นที่นิยมปลูกจำปาดะพันธุ์ขวัญสตูล เนื่องจากเป็นพันธุ์ทางการค้า ผู้บริโภคนิยม มีลักษณะเด่น คือ เนื้อสีเหลืองออกสีส้ม ยุม (เนื้อผล) ใหญ่ เนื้อหนา ไม่เละ กลิ่นไม่จัด และรสชาติไม่หวานมาก หากปลูกโดยการเพาะเมล็ดจะใช้เวลา 5-6 ปีถึงให้ผลผลิต แต่ถ้าปลูกโดยการเสียบยอด/ติดตา/ทาบกิ่ง จะใช้เวลา 3-4 ปี ถึงให้ผลผลิต เกษตรกรปลูกช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน สภาพอากาศเหมาะสม
นายไพฑูรย์ สีลาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 สงขลา (สศท.9) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า “จำปาดะ” ถือเป็นไม้ผลพันธุ์พื้นเมืองทางภาคใต้ของประเทศไทย นิยมนำผลสุกมาประกอบอาหารหวานและแปรรูป พบปลูกมากที่สุดในจังหวัดสตูล พื้นที่ปลูกรวม 1,685 ไร่ เนื้อที่ให้ผล 1,175 ซึ่งจำปาดะเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญอีกชนิดหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรชาวจังหวัดสตูล และจากการที่เป็นสินค้าอัตลักษณ์ประจำถิ่น ประกอบกับเป็นไม้ผลที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นกว่าที่อื่น จึงได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications: GI) เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2562 สศท.9 ติดตามสถานการณ์การผลิตจำปาดะในจังหวัดสตูล พบว่า แหล่งผลผลิตสำคัญอยู่ที่อำเภอควนโดน เกษตรกรในพื้นที่นิยมปลูกจำปาดะพันธุ์ขวัญสตูล เนื่องจากเป็นพันธุ์ทางการค้า ผู้บริโภคนิยม มีลักษณะเด่น คือ เนื้อสีเหลืองออกสีส้ม ยุม (เนื้อผล) ใหญ่ เนื้อหนา ไม่เละ กลิ่นไม่จัด และรสชาติไม่หวานมาก หากปลูกโดยการเพาะเมล็ดจะใช้เวลา 5-6 ปี ถึงให้ผลผลิต แต่ถ้าปลูกโดยการเสียบยอด/ติดตา/ทาบกิ่ง จะใช้เวลา 3–4 ปี ถึงให้ผลผลิต เกษตรกรปลูกช่วงเดื