ไม้สัก
“สัก” เป็นไม้เศรษฐกิจที่มีความสำคัญ นิยมปลูกในรูปแบบสวนป่ามากที่สุดชนิดหนึ่งของประเทศไทย สวนป่าสักแห่งแรกของประเทศไทยมีขึ้นที่จังหวัดแพร่ เริ่มปลูกครั้งแรกในปี พ.ศ. 2449 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองต่อความต้องการใช้ไม้สักในประเทศและส่งออก ปัจจุบันมีการปลูกสักกันอย่างกว้างขวาง ในอดีต ภาครัฐเป็นหน่วยงานหลักที่ปลูกสัก ได้แก่ กรมป่าไม้ และองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ต่อมาได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือประชาชนทั่วไปปลูกสร้างสวนป่าสักกันในหลายจังหวัดทั่วประเทศ ทั้งในรูปแบบ “สวนป่า” การปลูกผสมกับพืชเกษตร การปลูกหัวไร่ปลายนา และปลูกเป็นแนวขอบเขตพื้นที่ “สัก” เป็นต้นไม้ที่มีศักยภาพในการแตกหน่อหลังจากตัด ความสามารถในการแตกหน่อจะดีมากหลังจากการตัดสักออกจากพื้นที่ทั้งหมดหรือการตัดหมด (clear cut) และการเติบโตของหน่อสักจะมีค่าสูงกว่าการแตกหน่อในสวนป่าที่ตัดขยายระยะ (thinning) ด้วยเช่นกัน เนื่องจากอาหารที่สะสมอยู่ในรากเดิม ความสามารถในการแตกหน่อจะแตกต่างกันตามอายุ สภาพแวดล้อม และฤดูกาลในการตัดฟัน การสืบพันธุ์ด้วยการแตกหน่อ นอกจากจะทำให้สักโตเร็วแล้ว ยังลดค่าใช้จ่ายในเรื่อง ค่ากล้าไม้ การเตรียมพื้นที่ ร
ไม้สักทอง เป็นไม้โตเร็วปานกลางและเป็นไม้เนื้อแข็ง ที่มีลักษณะพิเศษกว่าไม้ชนิดอื่น โดยเฉพาะเนื้อไม้ มอด ปลวก และแมลง ไม่ทำอันตราย เนื้อไม้มีสีเหลืองทอง ลวดลายสวยงาม เลื่อยไสกบตบแต่งง่าย จึงนิยมใช้ทำบ้านเรือนที่ต้องการความสวยงาม ในสมัยโบราณไม้สักทองหาง่าย ราคาไม่แพง การสร้างบ้านเรือน ใช้ไม้สักทองทำเสาเรือนด้วย เพราะมีความทนทาน สามารถอยู่ในดินได้เป็นเวลานานๆ ปัจจุบันไม้สักทองหายากและมีราคาแพงมากขึ้น สภาพพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกต้นสัก ต้นสักเจริญเติบโต และให้คุณภาพของเนื้อไม้ดี ต้องการสภาพพื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 200-1,000 เมตร ดินควรเป็นดินร่วนปนทรายที่กำเนิดมาจากหินปูน เนื่องจากมีธาตุแคลเซียมสูงเป็นที่ต้องการของต้นสัก หน้าดินลึกระบายน้ำได้ดี มีฝนเฉลี่ย 1,250-2,500 มิลลิเมตร ต่อปี ต้องการแสงจ้าและอุณหภูมิระหว่าง 13-40 องศาเซลเซียส ต้นสักจะให้ผลดียิ่งขึ้นถ้าปลูกในพื้นที่มีความลาดเอียง 15 เปอร์เซ็นต์ การขยายพันธุ์ และแหล่งจำหน่ายพันธุ์ การขยายพันธุ์ ปัจจุบันนิยมปลูกด้วยเหง้าที่ได้จากการนำเมล็ดสักที่แก่จัด เพาะลงในแปลง ขนาด 1×20 เมตร ยกระดับสูง 20-30 เซนติเมตร ย่อยดินให้ละ
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA กล่าวว่า จากการที่รัฐบาลได้ออกกฎหมายใหม่เกี่ยวกับไม้มีค่าทางเศรษฐกิจซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อ โดยหนึ่งในไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมคือไม้สัก อย่างไรก็ตาม การลงทุนปลูกไม้เศรษฐกิจโดยเฉพาะไม้สักมีข้อคำนึงในการประเมินภาวะตลาด ราคาตลาด และผลตอบแทนที่พึงได้รับให้ชัดเจน เพื่อความมั่นใจในการลงทุน ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ในการประเมินค่าไม้สักตามเอกสารซึ่งเป็นการนำเสนอของสหกรณ์สวนป่าภาคเอกชน จำกัดและวิสาหกิจชุมชนชมรมไม้กฤษณา (ไม้หอม) แห่งประเทศไทย กำหนดไว้เบื้องต้นคือ 1. คำนวณหาปริมาตรไม้ ให้ใช้สูตรหลักของการคำนวณปริมาตรของไม้ยืนต้น คือ สูตรโต x โต x สูง x 7.96 / 1,000,000 โดยได้ปริมาณไม้เป็นลูกบาศก์เมตร 2. วัดระยะจากพื้นดินขึ้นมา 1.3 เมตร แล้ววัดเส้นรอบวงของลำต้น เรียกว่า “ความโต” 3. วัดระยะจากพื้นดินขึ้นมาถึงเรือนยอดของต้นไม้ แล้วลบออก 30% เรียกว่า “ความสูง” สำหรับราคาราคาไม้สักตามอายุที่แตกต่างกันตามการประมาณการของสหกรณ์ฯ เป็นดังนี้: 1.
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ได้มอบหมายจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ดำเนินมาตรการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (2560-2579) อ.อ.ป. จึงจัดกิจกรรม “ส่งเสริมเกษตรกรปลูกบำรุงไม้เศรษฐกิจในที่ดินที่มีสิทธิ์ตามกฎหมาย” ภายใต้โครงการส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน ลดการบุกรุกพื้นที่ของรัฐ ลดการตัดไม้ทำลายป่าธรรมชาติ ช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าเศรษฐกิจให้กับประเทศ และแก้ปัญหาความยากจนของเกษตรกร ตามนโยบายของรัฐบาล อ.อ.ป. ให้ทุนฟรี ปลูกไม้เศรษฐกิจ คุณจอง มงคลสกุลฤทธิ์ ผู้อำนวยการ สำนักองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ภาคกลาง กล่าวว่า อ.อ.ป. มีนโยบายส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจในที่ดินกรรมสิทธิ์ หรือที่ดินที่มีสิทธิการครอบครองในการใช้ประโยชน์ตามกฎหมาย เพื่อสร้างอาชีพทางเลือกให้กับเกษตรกร และสนองนโยบายรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติของรัฐบาล อ.อ.ป. คาดว่า โครงการนี้จะสามารถเพิ่มพื้นที่ป่าเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย เนื้อที่ 500,000 ไร่ ได้ภายในระยะเวลา 20 ปี สำหรับโครงการนี้ อ.อ.ป. ส่งเสริมเกษตรกรปลูกไม้เศรษฐกิจประเภทไม้โตเร
เมื่อวันที่ 30 มกราคม นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ รองประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ตนพร้อมนายขวัญชัย ดวงสถาพร กรรมการปฏิรูปฯ ได้เข้าร่วมสัมมนาโครงการรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 จัดโดยกรมป่าไม้ เพื่อส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจในพื้นที่เอกชนตามร่างแผนปฏิรูปด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องทรัพยากรป่าไม้และสอดคล้องกับนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานต่างเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น โดยประเด็นสำคัญที่มีการปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 คือ จะปรับนิยามคำว่าป่าให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน มีการควบคุมการตัดไม้เฉพาะต้นไม้ที่ขึ้นในป่าธรรมชาติ ถ้าปลูกต้นไม้นอกเขตพื้นที่ป่าถ้าจะตัดให้รับรองตนเองโดยใช้หลักฐานโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองกรรมสิทธิ์ที่ดิน เพื่อส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจในพื้นที่เอกชนในระยะยาว พร้อมทั้งจะมีการควบคุมการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าไม้ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 โดยเข้มงวดมากขึ้นกว่ากฎหมายเดิม นายธีรภัทร กล่าวว่า นอกจากนั้นที่ประชุมเห็นว่าประชาชนสามารถตัดต้นไม้ที่ล้มลงหรืออาจ